รู้หรือไม่? เครื่องสำอาง อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คุณเป็น ผื่นแพ้สัมผัส

ผื่นแพ้สัมผัสเกิดจากอะไร?

ผิวหนังของคนเรานั้นมีความบอบบาง โรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการแพ้สาร หรือวัตถุบางอย่างที่มาสัมผัสผิวหนังที่พบได้บ่อย เช่น กรด ด่าง สบู่ ผงซักฟอก โลหะ (เช่น นิกเกิล ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่แพ้เครื่องประดับ) ยาง ลาเท๊กซ์ เครื่องสำอางค์ น้ำยาระงับเหงื่อหรือกลิ่นกาย พืชบางชนิด(เช่น Poison Ivy) หรือยาบางประเภท

ลักษณะทั่วไป

ผื่นแพ้จากการสัมผัส หมายถึง อาการผื่นคันที่เกิดจากการสัมผัสถูกสิ่งกระตุ้นจากภายนอกร่างกายซึ่งเป็นสารระคายเคือง หรือสารที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีความผิดปกติทางพันธุกรรมเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ การเกิดผื่นอาจเป็นผลมาจากข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

1.การระคายเคืองต่อผิวหนัง เนื่องจากการถูกสารระคายเคือง ทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ เช่น กรด ด่าง สบู่ ผงซักฟอก ยางไม้(ยางมะม่วง ต้นรัก) เป็นต้น

2.การแพ้ โดยที่ผู้ป่วยจะต้องเคยสัมผัสถูกสารแพ้มาอย่างน้อยครั้งนึงก่อน แล้วร่างกายถูกกระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา เมื่อสัมผัสซ้ำอีกครั้งก็ทำให้เกิดอาการแพ้ การสัมผัสครั้งแรกกับครั้งหลัง อาจห่างกันเป็นวันๆ เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ สารที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย เช่น โลหะ (นิกเกิล โครเมียม โคบอลด์ เงิน ปรอท) ยาทาเฉพาะที่ (เช่น เพนิซิลลิน ซัลฟา นีโอไมซิน แอนติฮิสตามีน ยาชา) พลาสเตอร์, เครื่องสำอางค์ (เช่น ยาย้อมผม น้ำหอม ยาทาเล็บ ลิปสติก), เครื่องแต่งกาย (รองเท้า ถุงมือ เสื้อผ้า), ปูนซีเมนต์,สี,สารเคมีต่างๆ เป็นต้น

โรคนี้จึงพบบ่อยในคนที่ทำงานบ้าน โรงงานอุตสาหกรรม หรือมีอาชีพที่ต้องสัมผัสถูกสารดังกล่าวเป็นประจำ

อาการ

เมื่อสัมผัสสารที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง จะเกิดอาการบวม แดง ตุ่มพุพอง อาจมีอาการคันเฉพาะบริเวณที่สัมผัสถูกสิ่งที่แพ้ อาจทำให้เป็นรอยของสิ่งที่แพ้ เช่น รอยสายนาฬิกา สร้อยคอ ขอบกางเกง สายรองเท้าเป็นต้น

บางคนอาจเป็นตุ่มน้ำใสๆ อาจติดต่อกันจนเป็นตุ่มพองใหญ่ เมื่อแตกออก จะมีน้ำเหลืองไหลและมีสะเก็ดเกรอะกรัง เมื่ออาการทุเลา ผิวหนังอาจแห้งเป็นขุย หรือหนาตัวขึ้นชั่วคราว บางคนผิวหนังอาจคล้ำลง หรือเป็นรอยด่างขาวชั่วคราว

ดูแล ป้องกัน รักษา

เราต้องรู้ว่าสารที่ก่อให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสนั้นคืออะไร เกิดอาการอย่างไร พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนสารนั้นอีก เพราะถ้าไม่สัมผัสสารนั้น ก็จะไม่มีผื่นขึ้นใหม่

ดูแลผิวบริเวณที่เป็นผื่นแพ้ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน หรือใช้แค่น้ำเปล่าซับให้แห้ง ทาครีมหรือโลชั่นที่เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่ายให้ผิวชุ่มชื่น ไม่แห้งคัน

การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ อาจอยู่ในรูปของครีมเหลว น้ำใส หรือขี้ผึ้ง ขึ้นอยู่กับผื่นว่าเป็นแบบใด และขึ้นบริเวณส่วนใดของร่างกาย หากเกิดเป็นแผล ควรล้างและดูแลแผลให้ดี หากมีอาการคันร่วม สามารถรับประทานยาแก้แพ้ร่วมได้

1.ควรหาสาเหตุที่แพ้แล้วหลีกเลี่ยงโดยสังเกตจาก

1.1 ตำแหน่งที่เป็น เช่น ที่ศีรษะอาจแพ้ยาย้อมผม แชมพูสระผม น้ำมันใส่ผม ส่วนที่ใบหูอาจแพ้ตุ้มหู ที่ใบหน้าอาจแพ้เครื่องสำอางค์ ที่คออาจแพ้น้ำหอม สร้อยคอ ที่ลำตัวอาจแพ้เสื้อผ้า สบู่ ที่ขอและเท้าอาจแพ้ถุงเท้า รองเท้า (หรือหนังยาง) ที่มือและเท้าอาจแพ้ผงซักฟอก ปูนซีเมนต์ ที่แขนหรือขา อาจแพ้ยุงแมลง เป็นต้น

1.2 อาชีพ และงานอดิเรก เช่น คนขับรถอาจแพ้เบนซิน น้ำมันเครื่อง แม่บ้านหรือคนซักผ้าอาจแพ้ผงซักฟอก ช่างปูนอาจแพ้ปุนซีเมนต์ เป็นต้น

2.รักษาผื่นแพ้โดย

2.1 ชะแผลด้วยน้ำเกลือแล้วเช็ดให้แห้ง

2.2 ทาด้วยครีมสเตอรอยด์ เช่น ครีมเพร็ดนิโซโลน หรือครีมบีตาเมทาโซน ถ้าเป็นบริเวณกว้างควรให้กินยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน ไดเฟนไฮดรามีน หรือไฮดร๊อกไซซีน ครั้งละ 1/2-1 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง

2.3 ถ้ามีหนองหรือน้ำเหลืองไหล ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี คล๊อกซาซิลลิน หรือ อีริโทรไมซิน

3.ในรายที่เป็นรุนแรง ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องให้เพร็ดนิโซโลน กินนาน 10 วัน

4.ในรายที่เป็นรุนแรง ควรแนะนำไปโรงพยาบาลเพื่อทำการทดสอบทางผิวหนัง โดยวิธี Patch test (ใช้น้ำยาที่มีสารต่างๆ ปิดที่หลัง แล้วดูปฏิกิริยา) เพื่อหาสาเหตุ ซึ่งจะได้หาทางหลีกเลี่ยง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า