ทำความรู้จัก “ภาวะอะเฟเซีย” (Aphasia) บกพร่องทางการสื่อสาร ทั้งการพูด, เขียน และทำความเข้าใจในภาษาต่าง ๆ สาเหตุทีทำให้ บรูซ วิลลิส ยุติอาชีพนักแสดง
อีกเรื่องที่ถือว่าเป็นเรื่องที่ช็อกวงการบันเทิงฝั่งอินเตอร์ เนื่องจากนักแสดงชื่อดังที่ฝากผลงานคุณมากมากมายไว้ อาธิเช่น G.I. Joe: Retaliation ในปีค.ศ. 2013 หรือหนังบู้ สุดระห่ําอย่าง A Good Day to Die Hard ในปีค.ศ. 2013 นั้นก็คือ วอลเตอร์ บรูซ วิลลิส Walter Bruce Willis นักแสดงอเมริกัน ชีวิตรักของเขาได้แต่งวานกันนางแบบคนสวย เอมมา เฮมิง และมีบุตรสาวด้วยกัน 2 คน


โดยล่าสุดเป็นเรื่องที่น่าเศร้า เมื่อมีการประกาศยุติบทบาทในวงการ เนื่องจากบรูซ วิลลิสต้องเผชิญกับ “ภาวะอะเฟเซีย” (Aphasia) หรือภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นผลกระทบต่อการทำงานในวงการแสดงของเขา
วันนี้ BRIGHT TODAY พาทุกคนทำความรู้จักกับ ภาวะอะเฟเซีย” (Aphasia) หรือบกพร่องทางการสื่อสาร ไม่สามารถโต้ตอบหรือทำความเข้าใจได้ และอาจมีปัญหาทางด้านการอ่านและการเขียนร่วมด้วย ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขขั้นได้ หลังเส้นเลือกในสมองแตก

“ภาวะอะเฟเซีย” (Aphasia) สามาถรแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ
- แบบบกพร่องด้านความเข้าใจ
- แบบบกพร่องด้านการพูด
- แบบบกพร่องในการพูดทวนซ้ำ
- แบบบกพร่องทั้งด้านการพูดและการทำความเข้าใจ
ซึ่งอาการและสาเหตุที่ทำให้เกิดนั้นแตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยจะได้รับการแก้ไขภาวะนี้ด้วยการบำบัดฟื้นฟู การใช้ภาษาและการสื่อสารร่วมด้วย
สาเหตุของภาวะอะเฟเซีย
- สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ภาษาได้รับความเสียหาย
- อาจเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหันหลังเกิด ภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือด การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะหรือการเข้ารับการผ่าตัดสมอง
- มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดในสมองแตกมากที่สุด
- อาจจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ โดยสาเหตุอาจมาจากเนื้องอก การติดเชื้อในสมอง โรคทางระบบประสาท หรือภาวะเสื่อมถอยของสมองอย่างโรคสมองเสื่อม
” สำหรับภาวะ Aphasia แบบชั่วคราวมักมีสาเหตุมาจากอาการไมเกรน อาการชัก หรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการเส้นเลือดในสมองแตกหรือโรคหลอดเลือดสมองได้ในอนาคต “
การรักษาภาวะ Aphasia
- บำบัดทางการพูดและภาษาเป็นหลัก เพื่อฟื้นฟูความสามารถด้านการใช้ภาษาและเสริมทักษะการสื่อสาร
- แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะฝึกหรือทบทวนการใช้คำ ใช้ประโยคที่ถูกต้อง การพูดทวน
- รวมทั้งมีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้คำศัพท์และเสียงของคำต่าง ๆอาการของผู้ป่วยจะค่อย ๆ ได้ผลดีขึ้นหลังทำการบำบัดติดต่อกัน แต่บางรายอาจใช้เวลานานกว่าปกติในการบำบัด
- อาการของผู้ป่วยจะค่อย ๆ ได้ผลดีขึ้นหลังทำการบำบัดติดต่อกัน แต่บางรายอาจใช้เวลานานกว่าปกติในการบำบัด
- นอกจากนี้ยังรักษาด้วยการใช้ยาเข้าช่วย วเป็นยาที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดภายในสมอง ช่วยในการฟื้นฟูการทำงานของสมอง
ภาวะแทรกซ้อนของ Aphasia
ภาวะ Aphasia เป็นภาวะที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการสื่อสาร จึงอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ การทำงาน หรือการทำกิจกรรมในแต่ละวัน อีกทั้งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอาย หดหู่ เนื่องจากไม่สามารถสื่อสารได้ตามปกติ
การป้องกัน Aphasia
การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Aphasia สามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่สร้างความเสียหายต่อสมองและดูแลสุขภาพของสมองด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีโซเดียมและไขมันต่ำ
- งดการสูบบุหรี่
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสมและเท่าที่จำเป็น
- ควบคุมระดับความดันโลหิตและไขมันในเลือด
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการไหลเวียนโลหิต ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
- หากสงสัยว่ามีอาการของภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด รวมถึงหากมีภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาอาการเช่นกัน
ขอบคุณข้อมูล – www.pobpad.com