ล้างมือไม่สะอาดต้องระวัง! พยาธิไส้เดือน (Ascariasis) อันตรายที่มองไม่เห็น
หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้ว่า โรคพยาธิไส้เดือน สามารถพบได้ทุกแห่งในโลก พบได้บ่อยในประเทศเขตร้อน อย่างประเทศไทย ที่มีอากาศและพื้นดินชุ่มขึ้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพยาธิชนิดนี้ เป็นกันมากในหมู่ประชาชนที่ยากจนและขาดความรู้ในด้านสุขวิทยาส่วนบุคคลอยู่ในแหล่งที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี เช่น ไม่มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ขอบถ่ายอุจจาระลงบนพื้นดินในบริเวณใกล้เคียงบ้านเรือน เมื่อเด็กเล่นบนพื้นดิน จึงมีโอกาสที่จะได้รับไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกายซึ่งมักเป็นมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กวัยเรียนและ วัยก่อนเรียน
- ข้าวแทบพุ่ง! ศัลยแพทย์ คีบ พยาธิไส้เดือน อัดแน่นเต็มลำไส้เด็ก6ขวบ
- แฉวีรกรรมบ้าคลั่ง ไอ้ต้อยฆ่าเด็ก 3 ศพ – หนุ่ม กรรชัย ลั่นโทษประหารมันเหมือนผี
- เปิดคลิประทึก รถตู้รับส่งนักเรียนพลัดจมน้ำ หลังเกิดพายุฝนซัดระยองอ่วม
พยาธิไส้เดือนเป็นอย่างไร ?
พยาธิไส้เดือน มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Ascaris lumbricoides มีลักษณะเป็นพยาธิตัวกลม ขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายไส้เดือนดิน ตัวผู้โตเต็มวัยจะมีขนาดยาวประมาณ 15-30 ซม.(เซนติ เมตร) ตัวเมียโตเต็มวัยจะมีขนาดยาวประมาณ 25-35 ซม. ตัวแก่จะมีอายุประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี
พยาธิไส้เดือน เป็นปรสิต อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของคน โดยคนเป็นตัวให้อาศัย หรือ โฮสต์ (Host) ซึ่งตัวและไข่ของมันจะปะปนออกมากับอุจจาระ และเมื่อคนรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนไข่ของมัน ก็จะเกิดการติดเชื้อพยาธินี้ วนเวียนเป็นวงจรต่อเนื่องต่อไป

คนติดเชื้อพยาธิไส้เดือนได้อย่างไร?
คนติดพยาธิไส้เดือนได้ โดยการรับประทานอาหาร หรือ ดื่มน้ำที่มีไข่พยาธิปะปนอยู่ โดยเฉพาะน้ำที่ไม่ได้ต้มสุก หรือ อาหารที่ไม่สะอาด ไข่ที่ไม่ถูกผสมจะไม่ติดต่อเพราะไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวได้ จะติดต่อเฉพาะไข่ที่ถูกผสมแล้วเท่านั้น
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของโรคพยาธิไส้เดือนจะอยู่ในประเทศเขตร้อน พบได้ทุกเพศและทุกวัย แต่มักพบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน เพราะเป็นวัยชอบเล่นสิ่งสกปรก ในประเทศไทยจะพบผู้ป่วยทางภาคใต้มากกว่าภาคอื่น เพราะมีอากาศร้อนชื้นมากกว่าภาคอื่นๆ
อาการของโรคพยาธิไส้เดือนเป็นอย่างไร?
อาการของโรคพยาธิไส้เดือนสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1.อาการที่เกิดจากพยาธิตัวอ่อนเดินทางผ่านปอดได้แก่ ไอ แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย มีไข้คล้ายปอดอักเสบ ตรวจเสมหะอาจพบตัวอ่อนปนออกมาได้ (มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์) บางครั้งอาจมีอาการลมพิษเกิดด้วย อาการดังกล่าว จะเกิดหลังได้รับไข่ประมาณ 4-16 วัน บางคนอาจนานถึง 3 สัปดาห์
2.อาการที่เกิดจากพยาธิตัวแก่ในลำไส้เล็กได้แก่ อาการขาดอาหารโดยเฉพาะในเด็ก ผอมผิดปกติ ท้องใหญ่ ปวดท้องบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน ถ้ามีพยาธิจำนวนมาก อาจจะพันกันเป็นก้อนจนเกิดลำไส้อุดตันได้ (ปวดท้องมาก และไม่ผายลม จนเป็นสาเหตุต้องไปโรงพยา บาล) บางครั้งพยาธิจะไชไปอุดท่อน้ำดี เกิดอาการตัวเหลืองตาเหลืองหรือดีซ่านได้ บางครั้งพยาธิจะย้อนกลับมาที่หลอดอาหารและเข้าไปในหลอดลม เกิดหลอดลมอุดตันเฉียบพลันได้ และที่พบได้บ้างไม่บ่อยนัก คือ พยาธิไชทะลุผนังลำไส้ ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกในลำไส้ และ/หรือ ลำไส้ทะลุได้ (ผู้ป่วยมีอาการซีด ปวดท้องมาก และอาจมีไข้สูงจากเยื่อบุช่องท้องอักเสบ)
แพทย์วินิจฉัยโรคพยาธิไส้เดือนได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคพยาธิไส้เดือนได้จาก
- ตรวจอุจจาระพบไข่พยาธิ
- พบตัวแก่ขนาดโตเต็มที่หลุดออกมากับอุจจาระ หรือ ปนออกมากับอาเจียน
- บางครั้งพบภาพตัวพยาธิจากการเอกซเรย์ช่องท้อง

รักษาโรคพยาธิไส้เดือนอย่างไร?
แพทย์รักษาโรคพยาธิไส้เดือน โดยการให้ยาถ่ายพยาธิ ซึ่งปริมาณยาและจำนวนวันที่รับ ประทานยาขึ้นกับชนิดของยา เช่น ยาบางชนิดรับประทานครั้งเดียว บางชนิดรับประทาน 3 วัน
ตัวอย่างยาถ่ายพยาธิไส้เดือน เช่น
- ยา Mebendazole
- ยา Albendazole
- ยา Piperazine citrate
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
ทุกเพศ ทุกวัย ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล เมื่อ
- มีอาการปวดท้องบ่อยผิดปกติ โดยเฉพาะในเด็ก
- พบพยาธิตัวแก่หลุดออกมาปนกับอุจจาระ หรือ กับอาเจียน
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY