เหนื่อยมาทั้งวัน แต่พอตกดึกไม่หลับไม่นอน พฤติกรรมนี้เรียกว่า “การนอนดึกเพื่อล้างแค้น”

เหนื่อยมาทั้งวัน แต่พอตกดึกไม่หลับไม่นอน พฤติกรรมนี้เรียกว่า “การนอนดึกเพื่อล้างแค้น” หรือเรียกสั้นๆ ว่า Bedtime Procrastination

หลาย ๆ คนอาจจะทั้งงานหนักตั้งแต่เช้า ไม่ได้พัก แต่พอตกดึก เราก็กลับไม่หลับไม่นอน แม้จะไม่มีใครมาบังคับให้เรานอนดึก แต่เราก็ทำ เพราะเราอาจจะได้ทำอะไรที่ชอบที่ตอนกลางวันไม่ได้ทำ พฤติกรรมแบบนี้ นักจิตวิทยาเรียกมันว่า Revenge Bedtime Procrastination หรือ ‘การนอนดึกเพื่อล้างแค้น’ หรือเรียกสั้นๆ ว่า Bedtime Procrastination ก็ได้

การผัดเวลานอน จริงๆ ไม่ใช่การนอนไม่หลับ แต่เป็นการที่เรา ‘เลือกที่จะไม่นอน’ เองแต่แรก เพราะอยากทำหลายสิ่งหลายอย่างเต็มไปหมด โดยปรากฏการณ์นี้มักจะเกิดขึ้นกับคนที่ไม่สามารถควบคุมเวลาในช่วงกลางวันได้ พวกเขาต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่คาดเดายาก เช่น จู่ๆ ก็มีงานงอก ทำให้เลิกงานไม่ตรงเวลา หรือรถติดหลายชั่วโมง ทำให้กลับบ้านดึก จึงเป็นอีกเหตุผลที่หลายคนใช้เวลาช่วงกลางคืนกันอย่างบ้าคลั่ง เพราะพวกเขาต้องการทวงเวลาที่เสียไปคืนมานั่นเอง

นักจิตวิทยาได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การผัดเวลานอนคือการชดเชยประเภทหนึ่ง เป็นกลยุทธ์จากจิตวิทยาที่ช่วยให้ผู้คนเปลี่ยนทิศทางความผิดหวัง และความไม่มั่นคงในชีวิตของตัวเองได้

ผลเสียของการผลัดเวลานอนไปเรื่อย ๆ

แม้ว่าการอดหลับอดนอนจะทำให้เรามีเวลาเหลือเฟือที่จะดูซีรีส์จนสะใจ หรือได้อ่านหนังสือที่ดองไว้จนครบทุกเล่มก็จริง แต่อย่าลืมว่าเวลาส่วนที่เราหยิบยืมมานั้น มันคือเวลาพักผ่อนที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับ เพื่อที่จะปรับร่างกายและจิตใจให้มีความสมดุลอยู่ตลอดเวลา

แต่เมื่อจำนวนชั่วโมงในการพักผ่อนหายไป ร่ายกายและจิตใจไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่ จึงส่งผลให้เกิดโรคทางสุขภาพตามมา และส่งผลกระทบเชิงลบต่อการรับรู้ ความคิด ความทรงจำ และการตัดสินใจในชีวิตประจำวันด้วย เช่น ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง รู้สึกเหนื่อยล้าระหว่างวัน หรืออารมณ์แปรปรวน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอดนอนเพื่อจ้องมือถือ จ้องคอมพิวเตอร์ หรือเล่นโซเชียลมีเดีย เพราะอย่างที่รู้กันว่าแสงสีฟ้า จากหน้าจอ มีส่วนในการยับยั้งการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่ควบคุมการหลับและการตื่นของเรา และเมื่อฮอร์โมนนี้ลดลง จะทำให้เราเกิดเป็นวงจรการนอนไม่หลับไปเรื่อยๆ จนยากจะแก้ไข

และถ้าใครคิดว่าตัวเองกำลังเผชิญหน้ากับการผัดเวลานอนอยู่ เว็บไซต์ Sleep Foundation แนะนำว่า ให้รักษาเวลาเข้านอนและเวลาตื่นให้สม่ำเสมอ (แม้จะเป็นวันที่ไม่ต้องออกไปทำงาน) หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนในช่วงบ่ายหรือเย็น หยุดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอนอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงหรือนานกว่านั้น และพยายามควบคุมกิจวัตรประจำวันให้มั่นคงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

หรือถ้าอยากทำกิจกรรมอะไรสักอย่าง ลองเลือกกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ หรือยืดกล้ามเนื้อเบาๆ จะทำให้นอนหลับง่ายขึ้น เป็นกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย และสภาพแวดล้อมในห้องนอนก็มีส่วนสำคัญ พยายามให้ห้องมืดและเงียบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมถึงใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ไม่อึดอัด ก็จะช่วยให้นอนหลับง่ายยิ่งขึ้น

แต่ถ้าใครรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะกลับมานอนตามเวลาปกติ ลองปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูก็ไม่เสียหาย เพราะสุดท้ายแล้วการนอนหลับอย่างเพียงพอ อย่างไรก็ดีต่อสุขภาพใจและสุขภาพกายมากกว่าอยู่แล้ว

ที่มา : THE STANDARD

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า