30 มีนาคม วันไบโพลาร์โลก – ทำความรู้จัก และรับมือกับ “ไบโพล่าร์” หรือ “โรคอารมณ์สองขั้ว” ไม่ใช่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวสนุกเดี๋ยวซึม
เชื่อว่า โรคไบโพล่าร์ จะชื่อโรคที่หลายคนนั้นเคบได้ยิน และเข้าใจในแบบง่ายๆคือ คนที่มีสองคนอารมณ์ที่ต่างกันอย่างสุดโต่ง หรือ “โรคอารมณ์สองขั้ว” แต่อาจจะยังไม่เข้าใจกับโรคนี้มากเท่าที่ควร หรือวิธีรับมือกับโรคนี้มากพอ หากพูดให้เข้าใจง่ายๆแล้วนั้นโรคความผิดปกติทางอารมณ์แบบหนึ่งที่เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้ผู้ป่วยเกิดการแสดงออกของอารมณ์ที่ผิดปกติเป็นสองขั้วคือซึมเศร้ามาก และคึกคักพุ่งพล่านมาก จึงเรียกโรคโบโพล่าร์ว่า “โรคอารมณ์สองขั้ว”

ทำความรู้จัก “ไบโพล่าร์”
โรคไบโพลาร์ หรือ Bipolar Disorder เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติของอารมณ์เด่นชัด โดยมีอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ ร้องไห้ อ่อนเพลีย อยากตาย หรืออาจมีอารมณ์ดีมากผิดปกติ ครึกครื้น พูดมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงด้านเดียว กรณีอารมณ์ครื้นเครง หรือมีอาการสองด้านก็ได้
โรคอารมณ์สองขั้ว
1. อารมณ์คลุ้มคลั่ง (Manic Episode)
- รู้สึกคุณค่าตัวเองสูงเกินจริง บางครั้งคิดว่าตนเองเป็นใหญ่
- ไม่หลับไม่นอน กระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข
- พูดมาก พูดไม่หยุด
- คิดฟุ้งซ่าน จะทำโน่นทำนี่ คิดทำการใหญ่โต
- วุ่นวาย กิจกรรมมาก อาจใช้จ่ายผิดปกติมาก
- สัมพันธภาพกับผู้อื่นเสีย
2. อารมณ์เศร้า (Depressive Episode)
- ซึมเศร้า
- หมดความสนใจและความเพลิดเพลินลงมาก
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ใน 1 เดือน
- ไม่หลับหรือหลับมากไป
- อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
- รู้สึกผิดหรือไร้ค่า ร้องไห้ง่าย
- สมาธิลดลง ลังเลใจ ตัดสินใจอะไรไม่ได้
- คิดอยากตาย หรือการฆ่าตัวตาย

สิ่งที่คนใกล้ชิดต้องเข้าใจและทำให้ได้
ญาติมีบทบาทสำคัญในการดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาและปฏิบัติตามแผนการรักษาเพราะผู้ป่วยทางจิตมักไม่รู้ตัวเอง ดังนั้นสิ่งสำคัญคือคนรอบข้างที่รู้และเข้าใจ มีวิธีรับมือที่ช่วยบรรเทาอาการและผลร้ายที่เกิดขึ้น สิ่งที่คนใกล้ชิดผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ต้องทำก็คือ
- คอยดูแลให้ผู้ป่วยทานยาตามที่แพทย์สั่ง และห้ามหยุดยาเอง
- เข้าใจในพฤติกรรมที่เกิดขึ้นทั้งในช่วงมาเนียและซึมเศร้าว่านี่คือการเจ็บป่วย ไม่ใช่นิสัยที่ไม่ดี
- คอยควบคุมกิจกรรมที่ผู้ป่วยทำในช่วงมาเนีย ควบคุมการใช้จ่ายเงิน หรือลุกมาทำกิจกรรมอะไรที่เสี่ยงอันตราย และคอยดูแลจิตใจผู้ป่วยในช่วงซึมเศร้า ให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจ ไม่ท้อแท้สิ้นหวัง
ขอบคุณข้อมูล – paolohospital / bangkokhospital