เคล็บไม่ลับ! คุณแม่ลูกอ่อน ให้ ลูกกินนมแม่ อย่างเดียว เหมือนวัคซีนป้องกันโรค ลดการเกิดภาวะทุพโภชนาการของเด็ก
นมแม่สำคัญมาก เป็นอาหารที่ดี นมแม่หยดแรกเปรียบเสมือนวัคซีนในการป้องกันโรค เพราะมีภูมิคุ้มกันโรคที่ไม่สามารถหาได้จากอาหารอื่น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังเป็นกระบวนการสร้างความรัก ความผูกพันจากแม่ไปสู่ลูกลดโอกาสเกิดภาวะทุพโภชนาการของเด็ก รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวอีกด้วย

อัตราการเกิดของเด็กไทยที่ลดลงอย่างมากกรมอนามัยจึงจำเป็นต้องดูแลและให้ความสำคัญด้านคุณภาพชีวิตให้มากขึ้น โดยเริ่มให้เด็กแรกเกิดควรได้กินนมแม่อย่างเดียว เป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งข้อมูลในประเทศไทยพบว่ายังต่ำมากเพียงร้อยละ 14 ที่เด็กได้กินนมแม่อย่างเดียว กระทรวงสาธารณสุขจึงตั้งเป้าหมายในปี พ.ศ.2568 ให้เด็กแรกเกิดจนถึง 6 เดือน ร้อยละ 50 ได้กินนมแม่อย่างเดียว โดยไม่เสริมน้ำหรืออาหารอื่นและให้นมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้น และขับเคลื่อน พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560 เพื่อปกป้องสิทธิและสุขภาพของเด็กทุกคนไม่ให้เสียโอกาสในการกินนมแม่ผ่านการควบคุมวิธีการโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดให้เหมาะสม ขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูก (BFHI) พัฒนาศักยภาพพยาบาลเฉพาะทาง ส่งเสริมนโยบายการลาคลอดของพ่อและแม่ การสนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อช่วยลดภาระครอบครัว การจัดตั้งมุมนมแม่ในสถานประกอบกิจการสำหรับแม่ทำงานรวมถึงการจัดบริการขนส่งนมแม่โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระดับพื้นที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในพื้นที่ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน
เคล็ดลับการให้นมลูก
- ดูดเร็วที่สุด ยิ่งลูกดูดเร็วเท่าไร ตั้งแต่ใน 30-40 นาทีแรก หลังคลอดจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายเร่งผลิตน้ำนมออกมามากเท่านั้น แม่ควรรีบให้ลูกดูดนมทันทีทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีน้ำนม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สร้างน้ำนม นอกจากนั้นในช่วง 2-3 วันแรก จะมี “หัวน้ำนม” สีเหลืองซึ่งมีสารอาหารโปรตีน และสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันอย่างเข้มข้น ลูกจึงควรได้ดูดนมเหลืองนี้ – ดูดบ่อย เมื่ออยู่ที่โรงพยาบาล แม่ควรจะขอลูกมานอนข้างเตียงแม่ตลอดเวลา เพื่อให้ลูกได้มีโอกาสดูดนมแม่เสมอตามความต้องการของลูก การดูดบ่อยจะเป็นการกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมมากขึ้น และจะช่วยลดอาการนมคัดในกรณีที่มีน้ำนมมาก
- ดูดให้ถูกท่า การดูดที่ถูกท่า ทำให้ลูกดูดได้อย่างสบายเต็มที่ และกระตุ้นให้หลั่งน้ำนมได้เป็นอย่างดี โดยแม่อุ้มลูกกระชับอก ใช้มือประคองเต้านม พยายามสอบหัวนมให้เข้าปากลูกให้ลึกพอจนถึงลานหัวนม ถ้าลูกอมเฉพาะหัวนมจะทำให้แม่เจ็บ และหัวนมแตก
- ดูดให้หมดเต้า ควรให้ทารกทานนมทั้งสองเต้า เพราะจะเป็นการกระตุ้นแต่ละข้างให้ผลิตน้ำนม และป้องกันมิให้นมคัด เมื่อลูกอิ่ม หรือต้องการหยุดดูดให้กดเต้านมออกจากมุมปาก อย่าดึงเต้านมออกตรง ๆ จะทำให้หัวนมเป็นแผล และเป็นอันตรายต่อเหงือกของลูก เมื่อจะให้นมมื้อถัดไปควรให้เด็กเริ่มดุดจากข้างที่ให้ดูดทีหลังก่อน เพราะน้ำนมที่ค้างจะมีประโยชน์มาก
- ไม่จำเป็นต้องให้เด็กดูดน้ำ เพราะน้ำนมมีน้ำเพียงพอเหมาะสมแล้ว การให้เด็กกินน้ำจะเป็นผลเสีย เพราะทำให้เด็กกินนมแม่ได้น้อยลง นมแม่ช่วยให้ลิ้นเด็กไม่เป็นฝ้า
แหล่งที่มา สสส bangkokpattayahospital
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY