ใครเป็นบ้าง! ปวดส้นเท้าเข้าค่อนมาด้านใน เท้าแบน ยิ่งลงน้ำหนักยิ่งปวด ใส่รองเท้าแบน อาจเป็นสัญญาณของ “โรครองช้ำ” ต้องแก้ยังไงบ้าง
โรคเท้าแบน ภาวะผิดปกติที่บริเวณอุ้งเท้าบริเวณกลางเท้าสูญเสียความสูงไปหรือแบนติดพื้น ซึ่งจะเห็นชัดเมื่อมีการลงน้ำหนัก ภาวะดังกล่าวทำให้กลไกการทำงานของเท้าและข้อเท้าสูญเสียไป ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดและอาจนำไปสู่ความผิดรูปของข้อเท้า นิ้วเท้า และอาจลามขึ้นไปจนถึงข้อเข่าได้เลย ดังนั้นถ้าหากเป็นไม่ควรละเลย ควรปรับพฤติกรรมและได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด

ชนิดของเท้าแบน
1) ภาวะเท้าแบนแต่กำเนิด
ภาวะเท้าแบนแต่กำเนิด แบ่งย่อยเป็นอีก 2 ประเภท ได้แก่
- ภาวะเท้าแบนแบบยืดหยุ่น เป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็ก ซึ่งอาจเกิดจากลักษณะที่อุ้งเท้าเด็กมีเนื้อเยื่ออ่อนหรือไขมันสะสมมาก โดยลักษณะทางกระดูกและข้อภายในเท้าปกติ หรืออาจเกิดจากความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นที่มากเกินไปในเด็กที่มีกายวิภาคเสี่ยงต่อการเกิดเท้าแบน ซึ่งเมื่ออายุมากขึ้นสามารถหายได้เองในบางราย
- ภาวะเท้าแบนแบบติดแข็ง มักมีความผิดปกติของกระดูกและข้อภายในเท้าแต่กำเนิด ทำให้เท้ามีภาวะผิดรูป เท้ามีความพิสัยการขยับที่น้อยกว่าปกติ มีลักษณะการลงน้ำหนักเท้าที่ผิดปกติ และมักมีความเจ็บปวดตามจุดต่าง ๆ ของเท้าตามมา
2) ภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นภายหลัง
พบในผู้ใหญ่ที่ค่อย ๆ สูญเสียความสูงของอุ้งเท้าเมื่อโรคมีความรุนแรงมากขึ้น การเกิดเท้าแบนที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การมีเส้นเอ็นพยุงอุ้งเท้าเสื่อม ภาวะข้อเสื่อม เส้นเอ็นเสื่อมที่เกิดจากภาวะโรคอักเสบข้อเรื้อรัง เช่น โรคทางรูมาติสซั่ม ข้ออุ้งเท้าเสื่อม รวมไปถึงความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อในเท้าและข้อเท้าที่เกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจากเส้นประสาทกดทับจากหมอนรองกระดูก หรือจากภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากสาเหตุอื่น ๆ
สาเหตุของโรคเท้าแบน
- การยืนเป็นเวลานานๆ
- การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม
- น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น
- ลักษณะการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม อาทิเช่น เพิ่มระยะทางการวิ่งออกกำลังกายการเดิน หรือวิ่งบนพื้นผิวที่ต่างไปจากเดิม นอกจากนี้สาเหตุอื่นที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรครองช้ำ ได้แก่ ผู้ที่มีลักษณะของเท้าแบน, เท่าโก่ง และเส้นเอ็นร้อยหวายตึง ทำให้การเคลื่อนไหวรับน้ำหนักของเท้าผิดปกติไป
อาการภาวะเท้าแบน
ในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการหรือมีอาการเฉพาะหลังเดินหรือยืนเป็นเวลานาน แต่เมื่อโรคมีความรุนแรงมากขึ้น อาการเจ็บมักเป็นมากขึ้นรอบ ๆ ข้อเท้าและอุ้งเท้า หรือมีภาวะเท้าแบนที่เห็นชัดมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ที่เกิดภาวะเท้าแบนควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาเพิ่มเติม หากมีอาการต่อไปนี้
- เจ็บอุ้งเท้าและส้นเท้า แม้สวมใส่รองเท้าที่รองรับเท้าได้ดีและนุ่มสบายแล้ว
- ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น มีการอักเสบบวมแดงตามเส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อเท้า
- ทรงตัวลำบาก ยืนเขย่งขาไม่ได้ หรือเดินขึ้นลงบันไดลำบาก
- ไม่สามารถสวมใส่รองเท้าที่เคยใส่ได้ หรือรู้สึกอุ้งเท้าแบนมากยิ่งขึ้น
- รู้สึกชาฝ่าเท้า หรือเส้นเอ็นนิ้วเท้าอ่อนแรงหรือผิดรูปมากขึ้น
วิธีการรักษา
- การทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง เช่น การนวดฝาเท้า, การแช่น้ำอุ่นและการยืดเส้นเอ็นร้อยหวาย
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ปรับรองเท้า, ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และการลดน้ำหนักตัว
- การรับประทานยาบรรเทาอาการปวด แนะนำให้ทานยาแก้ปวดเท่าทีจำเป็น หรือตามคำแนะนำของแพทย์
- การรักษาโดยการฉีดยา เช่น การฉีด steroid หรือการฉีดเกร็ดเลือด
แหล่งที่มา princsuvarnabhumi และ bangkokinternationalhospital
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY