เข้าช่วง ฤดูฝน โรคที่ ต้องระวัง ดูแลป้องกัน คือ โรค ไข้เลือดออกระบาด ซึ่งเป็นโรค ที่ระบาด มาต่อเนื่อง ถึง 50 ปีแล้วแต่ ยิ่งนาน ก็ ยิ่งทวีความรุนแรงของโรคขึ้นเรื่อยๆ บ่อยครั้งที่เราได้ยินข่าว มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้
ส่วนสถานการณ์ในปีนี้ กรมควบคุมโรค ได้ทำการพยากรณ์ โรค ไข้เลือดออกระบาด ของปี 2563 ไว้ ดังนี้ จะมีผู้ป่วย ด้วยโรคไข้เลือดออกประมาณ 140,000 ราย และ
คาดว่าจะมีจำนวนพื้นที่เสี่ยงสูงต่อการระบาด ของโรคไข้เลือดออก จำนวน 224 อำเภอ ซึ่งอยู่ใน 60 จังหวัด กระจายทั่วทุกภาคของประเทศ
เป็น สถานการณ์ที่ น่ากังวลใจ โดยเฉพาะกับ ชุมชนที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง มีแหล่งน้ำ ท่วมขัน มีเด็กเล็ก หรือ ผู้สูงอายุ ซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเพราะมีภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้เกิดการติดเชื้อ
ไข้เลือดออกได้ง่าย แถมยัง ฟื้นตัวได้ยาก และ มีโรคแทรกซ้อน ได้ง่ายอีกด้วย วันนี้ เว็บไซต์ สุขภาพดีดี จะมาเจาะลึก ทำให้ทุกท่านได้รู้จัก เข้าใจ เพื่อป้องกัน เตรียมตัว ตั้งการ์ด รับกับ โรคไข้เลือดออกได้ เพราะความปลอดภัยของทุกๆ คน
ไข้เลือดออกระบาด ในแต่ละช่วง มีการติดต่อได้อย่างไร
ไข้เลือดออก เป็นโรคที่มียุงลายบ้าน (AedesaegyptiXเป็นพาหะ นำโรค วงจรการแพร่กระจายโรคคือ ยุงลายตัวเมียทำการดูดเลือดของผู้ป่วยระยะที่มีไข้ เข้าไปไว้ที่กระเพาะจากนั้น
เชื้อไวรัสที่ชื่อว่า “เชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ” ก็จะทำการเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว เมื่อเจ้ายุงลายตัวเดิมตัวนี้ ไปกัดคนต่อไป
ในขณะที่ปากมันกัดเพื่อดูดเลือด ก็จะทำการแพร่เชื้อเดงกี เข้าไปในร่างกาย ทำให้คนที่ถูกกัด ติดเชื้อ และ เข้าสู่ช่วงการฟักตัวของไข้เลือดออกกลายเป็น โรคไข้เลือดออกในเวลาต่อมา
ไข้เลือดออกมีระยะการฟักตัว กี่วัน และ อาการในช่วงที่ฟักตัวเป็นอย่างไร
ระยะการฟักตัว ของเชื้อที่อยู่ใน “ตัวยุง” ประมาณ 8-10 วัน (ยุงตัวเมียอายุตัวเต็มวัยพร้อมแพร่เชื้อ 30-45วัน นั้นแสดงว่า ยุงลายตัวเมีย 1 ตัวสามารถเพราะเชื้อได้ 5-6 รอบต่อ 1รอบชีวิตของมัน)
ระยะการฟักตัว ของเชื้อที่อยู่ใน “ตัวคน” ประมาณ 5-8 วัน ซึ่งใน 2-4 วันแรก ก็สามารถ แพร่เชื้อ สู่ยุงได้แล้ว
อาการของไข้เลือดออก แบบได้เป็น 3 ระยะ
1.ระยะไข้ มีไข้สูง 38.5 ขึ้นไป โดยที่ใช่ยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลง ติดต่อกัน 2-7 วัน ในระหว่างนี้จะมี ผื่นแดงขึ้น มีอาการ คลื่นไส้ ซึม เบื่ออาหาร ปวดบิดในท้อง อุจจาระเป็นสีดำ ร่วมด้วย
2.ระยะช็อก หรือ ระยะที่อาการรุนแรง ซึ่งผู้ป่วย 1ใน 3 จะมีอาการรุนแรง เข้าสู่ภาวะนี้ได้ คือ ภาวะที่การไหลเวียนเลือดล้มเหลว ทำให้เกิดการช็อก ให้ระมัดระวัง ในช่วงวันที่ 2-3 ของการมีไข้สูง
อาการนี้จะเกิดขึ้นรวดเร็วมาก และ หลังจาก เข้าสู่ภาวะนี้ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 12-24 ชม
3.ระยะฟื้นตัว หรือผ่านช่วย ที่2 หรือ ผู้ป่วย ที่ไม่เข้าสู่ ระยะช็อก จะเข้าสู่ระยะ ฟื้นตัว ผู้ป่วยจะรู้สึกดีขึ้น สดชื่นขึ้น การฟื้นตัว จะมีระยะ 2-3 จากนั้น ก็จะ หายเป็นปกติ
ดังนั้น ช่วงระยะที่ 1 เป็นช่วงที่สำคัญที่สุด หากพบ กว่ามีไข้สูง เช็ดตัวแล้วไม่ลง เลย มีการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีผื่นตามร่างกาย ควรพบแพทย์โดยด่วนที่สุด จะทำให้ ผู้ป่วยไม่เข้าสู่ระยะช็อก และ เข้าสู่ระยะฟื้นตัว ได้เร็วขึ้น
อ่านบทความฉบับเต็ม https://www.สุขภาพดีดี.com/dengue-fever/

ชมสินค้า https://www.maxxlifethailand.com/product/21060/maxxlife-gd1