รู้หรือไม่? บริจาคเลือด ก็มีข้อเสียที่คุณยังไม่รู้เหมือนกันนะ

หลาย ๆ คนคงรู้ว่าการ บริจาคเลือด ถือเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ต่อชีวิตให้ใครหลาย ๆ คน รวมถึงโรงพยาบาล ให้มีเลือดเอาไว้ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการใช้เลือด ดังนั้น การบริจาคเลือด จึงถือว่าเป็นการช่วยเหลือโรงพยาบาลที่อาจจะขาดแคลนเลือด รวมทั้งยังเป็นการช่วยชีวิตผู้อื่นอีกด้วย แม้การบริจาคเลือดจะมีข้อดี แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน แล้วข้อเสียของการบริจาคเลือด จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ข้อเสียของการบริจาคเลือด คืออะไร?

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การ บริจาคเลือด สามารถทำประโยชน์ได้อย่างมากมาย การบริจาคเลือดประมาณ 470 ซีซี สามารถช่วยชีวิตคนได้มากกว่า 1 คน จากข้อมูลของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เผยว่า ในปี 2561 สามารถจัดหาโลหิตได้รวมทั้งประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,649,216 ยูนิต

และถึงแม้การบริจาคเลือดเป็นกระบวนการที่ปลอดภัย และมีข้อดี เช่น ผู้บริจาคแต่ละรายจะได้รับการตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น วัดความดันโลหิต แต่ก็ยังมี ข้อเสียของการบริจาคเลือด บางประการที่คุณควรรู้ก่อนตัดสินใจบริจาคเลือด โดยผลข้างเคียงจากการบริจาคเลือดที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ช้ำ (Bruising)
  • เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
  • เวียนศีรษะ มึนงง และคลื่นไส้
  • ความเจ็บปวด
  • ความอ่อนแอทางกายภาพ

ช้ำ (Bruising)

เมื่อคุณ บริจาคเลือด คุณต้องนั่งหรือนอนบนเก้าอี้เอน และวางแขนข้างหนึ่งบนที่พักแขน จากนั้นเจ้าหน้าที่รัดสายวัดความดันโลหิต (Blood Pressure Cuff) และสายรัดห้ามเลือด (Tourniquets) ไว้ที่ต้นแขน เพื่อเติมเลือดให้หลอดเลือดดำมากขึ้น ก่อนจะทำความสะอาดผิวหนังข้อพับแขนข้างใดข้างหนึ่ง แล้วสอดเข็มที่ปราศจากเชื้อซึ่งติดกับหลอดพลาสติกบางๆ และถุงเลือดเข้าไปในเส้นเลือดของคุณ เข็มจะถูกสอดไว้ในแขนของคุณประมาณ 10 นาที หรือตลอดระยะเวลาที่คุณบริจาคเลือด

เมื่อเข็มสอดเข้าไปในเส้นเลือด ก็มีโอกาสที่จะเกิดรอยฟกช้ำบริเวณที่สอดเข็มเข้าไปได้เสมอ ด้วยเหตุนี้ การฟกช้ำจึงเป็นเรื่องปกติในหมู่ผู้บริจาคเลือด รอยฟกช้ำมีสีตั้งแต่สีเหลือง สีน้ำเงิน จนถึงสีม่วง อาการฟกช้ำเล็กน้อยถึงปานกลาง ซึ่งมักไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวล หากคุณมีอาการฟกช้ำเกิดขึ้น ให้ประคบเย็นบริเวณที่มีรอยฟกช้ำทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เป็นเวลาหลายนาทีในช่วง 24 ชั่วโมงแรก หลักจากที่คุณ บริจาคเลือด

เลือดออกต่อเนื่อง

เมื่อการ บริจาคเลือด เสร็จสมบูรณ์ ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพจะถอดเข็มออกจากหลอดเลือดดำของคุณ และใช้ผ้าพันแผลกดบริเวณรอยเข็มเอาไว้ ก่อนจะใช้เทปปิดแผลปิดทับผ้าพันแผลไว้ให้แน่น ๆ เพื่อเป็นการห้ามเลือดไม่ให้ไหลออกมาจากหลอดเลือดดำของคุณ พยาบาลของคุณจะสั่งให้คุณแต่งตัวให้เข้าที่และปิดผ้าพันแผลเอาไว้อย่างน้อย 4-5 ชั่วโมง เพื่อให้เลือดหยุดไหล

โดยปกติแล้ว เลือดจะหยุดไหลหลังจากผ่านไปไม่นาน แต่บางคนก็อาจมีเลือดไหลออกมาจากรอยเข็มไม่หยุด สิ่งสำคัญคือ คุณต้องออกแรงกดที่บริเวณที่ถูกเข็มสอดเข้าไป และยกแขนขึ้นเหนือหัวใจเป็นเวลา 3-4 นาที หากเลือดยังไม่หยุดไหล คุณควรติดต่อคุณหมอโดยทันที

เวียนศีรษะ มึนงง และคลื่นไส้

หลังจาก บริจาคเลือด เสร็จแล้ว คุณจะได้รับคำสั่งให้นั่งในห้องสังเกตการณ์ (Observation Area) เป็นเวลา 15 นาที คุณจะได้มีโอกาสพักผ่อน ดื่มน้ำ โดยปกติจะเป็นน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้ กินของว่างเบา ๆ

เป็นที่ทราบกันดีว่า การกินอาหาร การดื่มเครื่องดื่ม และการเป็นพักผ่อนหลังบริจาคเลือดสามารถบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะและคลื่นไส้ที่เกิดจากการบริจาคเลือดได้ คนส่วนใหญ่พบผลข้างเคียงเหล่านี้น้อยที่สุด หากคุณรู้สึกวิงเวียน หน้ามืด หรือคลื่นไส้ หลังจากช่วงเวลาที่เหลือของการ บริจาคเลือด ให้นอนราบจนกว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้น แต่หากผ่านไปแล้วหลายชั่วโมงหลัง บริจาคเลือด แต่อากาารเหล่านี้ยังไม่หายไป ให้โทรหาศูนย์บริจาคเลือดของคุณทันที

ความเจ็บปวด

การ บริจาคเลือด อาจสร้างอาการเจ็บปวดให้กับผู้บริจาคเลือดได้ โดยเฉพาะในช่วงที่เจ้าหน้าที่แทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดของคุณ และคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวในบริเวณที่เข็มสอดเข้าไปในแขน แต่ไม่ควรรู้สึกเจ็บปวดขณะที่เลือดกำลังไหลออกจากร่างกาย นอกจากนี้ คุณอาจรู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่สอดเข็มหลังจากการบริจาคเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าแขนของคุณฟกช้ำ หากคุณมีอาการปวดหลังจาก บริจาคเลือด คุณอาจต้องกินยาแก้ปวดที่มีอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen)

ความอ่อนแอทางกายภาพ

หลังจาก บริจาคเลือด หากคุณมีแนวโน้มว่าจะมีอาการอ่อนแรงทางร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณแขนที่ถูกเข็มสอดเข้าไป เจ้าหน้าที่จะแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่รุนแรง หรือการยกของหนักเป็นเวลา 5 ชั่วโมง หลังที่จากที่คุณ บริจาคเลือด

ใช้เวลานาน

การ บริจาคเลือด อาจเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที ตั้งแต่เวลาที่คุณมาถึงที่บริจาคเลือดจนถึงเวลาที่คุณกลับออกไป เวลาทั้งหมดนี้รวมถึงขั้นตอนการทดสอบและการกรอกเอกสารล่วงหน้า ซึ่งคุณจะได้รับการตรวจร่างกาย และการตรวจเลือดด้วยนิ้วเบื้องต้น หลังจากนั้นคุณจะต้องนั่งพักเป็นเวลา 15 นาที อย่างไรก็ตาม กระบวนการเจาะเลือดเพื่อตรวจ (Blood Drawing) ใช้เวลาประมาณ 10 นาทีเท่านั้น

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า