อันตรายใกล้ตัว! อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แค่ แพ้ยา ก็ตายได้ ไม่ว่าเป็น ยากิน ยาฉีด ยาทา แล้วอาการแพ้เป็นอย่างไรบ้าง
อาการแพ้ยา ถึงว่าเป็นอาการที่เฉียบพลันและอันตรายมาก ซึ่งการแพ้ยาคือการใช้ยาที่เกิดจากปฏิกิริยาการต่อต้านของร่างกาย สามารถเกิดขึ้นได้กับยาทุกชนิด ทั้งยากิน ยาฉีด ยาทา หรือยาดมสลบ อาการแพ้ยาขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน ความรุนแรงมากที่สุดคือสามารถทำให้ เสียชีวิตได้

แพ้ยา เกิดจากอะไร?
อาการแพ้ยา เกิดจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไวเกินไปต่อตัวยาชนิดนั้น ๆ จึงแสดงอาการแพ้ออกมา โดยอาการแพ้ยามีหลายอย่าง เช่น เกิดผื่นขึ้นตามผิวหนัง ตับอักเสบ และอาการอื่น ๆ ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกระบบในร่างกาย อาการแสดงและความรุนแรงของการแพ้ยาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยอาจเป็นที่ตัวคนไข้เองหรือขึ้นอยู่กับชนิดของยา
อาการแพ้ยา สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน โดยใช้ระยะเวลาการเกิดปฏิกิริยาเป็นเกณฑ์
- แบบฉับพลัน คือแสดงอาการแพ้ยาหลังได้รับยาภายใน 1 ชั่วโมง
- แบบไม่ฉันพลับ คือแสดงอาการแพ้ยาหลังได้รับยาเกิน 1 ชั่วโมง
อาการของการแพ้ยา
- ผื่นขึ้น
- ลมพิษ
- แน่นหน้าอก
- หลอดลมตีบ
- ความดันตก
- ปากบวม
- หน้าบวม
- ลิ้นบวม เป็นต้น
แต่คนส่วนใหญ่มักสังเกตเห็นอาการแสดงที่ผิวหนังได้ก่อนระบบอื่น เพราะสามารถสังเกตได้ง่าย ส่วนอาการแพ้ยาที่รุนแรงนั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียวรวมทั้งมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น อาการทางผิวหนังที่มีการหลุดลอก ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง เป็นต้น
รู้ได้อย่างไรว่าแพ้
ข้อควรระวังต่ออาการแพ้ยา คือสังเกตอาการหลังได้รับยาภายใน 1 ชั่วโมง (ระวังอาการแพ้ยาแบบฉับพลัน) และภายใน 2-3 วันหลังรับยา (ระวังอาการแพ้ยาแบบไม่ฉับพลัน) หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีผื่นขึ้น เกิดลมพิษ และอื่น ๆ ควรหยุดยาและรีบพบแพทย์ทันที ทั้งนี้อาการแพ้ยาส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โดยไม่จำเป็นว่าพ่อแม่มีอาการแพ้ยาแล้วลูกจะต้องแพ้ยาชนิดเดียวกัน
ควรทำอย่างไร?
- หยุดยาและรีบพบแพทย์ หากพบว่ามีอาการผิดปกติหลังได้รับยาภายใน 1 ชั่วโมงหรือภายใน 2-3 วัน
- ควรนำยาที่ตนเองได้รับติดตัวไปด้วย เพื่อให้แพทย์พิจารณา
- ควรถ่ายภาพความผิดปกติของตนเองที่เกิดขึ้นเก็บไว้ เพื่อให้แพทย์พิจารณาประกอบ เช่น ภาพผื่น เพราะผื่นบางชนิดเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะแล้วหายไป
- หลีกเลี่ยงการทำให้อาเจียน และการซื้อยาแก้แพ้กินเอง
- หากมีประวัติแพ้ยาควรจดจำชื่อยาที่ตนเองแพ้ และแจ้งแพทย์ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา
แหล่งที่มา rama.mahidol
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY