สายดื่ม สายปาร์ตี้ เช็กอาการ! โรคร้ายแรง ไขมันพอกตับ นำไปสู่ภาวะตับแข็ง มะเร็งตับได้ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ

โรคที่หลายๆ คนคงเคยได้ยินชื่อมาแล้ว โรคไขมันพอกตับ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่สามารถนำไปสู่ภาวะตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้  มักตรวจพบจากค่าการทำงานของตับ หรือระดับเอนไซม์ตับที่สูงขึ้นจากการตรวจสุขภาพ หรือจากการตรวจเลือดเพื่อหาภาวะอื่นๆ แล้วนอกจากนี้จะมีอาการอะไรบ้างมาดูเลย

ไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ คือภาวะการสะสมไขมันในตับที่มากเกินไป คือ มากกว่า 5% ของน้ำหนักตับ จะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งนำไปสู่การเกิดตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ในที่สุด 

ปกติร่างกายใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งมาจาก 2 แหล่งใหญ่ๆ คือหน้าท้องและตับ ไขมันที่ตับนับเป็นแหล่งพลังงานใหญ่ที่สุด หากเกิดการสะสมของไขมันที่ตับมากๆ จะส่งผลให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ  ได้ในที่สุด 

diagram-showing-stages-liver-dam

ไขมันพอกตับ แบ่งได้เป็น 4 ระยะ

  • ระยะที่ 1 เป็นระยะการสะสมไขมันในตับ ยังไม่มีอาการหรือการอักเสบเกิดขึ้นในตับ มักตรวจพบโดยบังเอิญ หรือจากการตรวจสุขภาพ
  • ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ เซลล์ตับได้รับความเสียหาย ค่าการทำงานของตับจากผลเลือดผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรังและมีพังผืดเกิดขึ้นได้
  • ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มีพังผืดภายในเนื้อตับและเส้นเลือดในตับ ในระยะนี้ตับยังสามารถทำงานได้ปกติ หากได้รับการรักษาที่สาเหตุ ก็จะสามารถหยุดการดำเนินโรคต่อไปได้
  • ระยะที่ 4 เป็นระยะตับแข็ง เนื่องจากตับได้รับความเสียหายถาวร เกิดเป็นพังผืดทั่วทั้งตับและกลายเป็นตับแข็ง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะตับวายและมะเร็งตับได้

อาการของโรคไขมันพอกตับ

ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับมักไม่มีอาการทางร่างกาย หรือหากมีอาการก็อาจเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น 

  • อ่อนเพลีย 
  • คลื่นไส้เล็กน้อย 
  • รู้สึกปวดใต้ชายโครงขวา 

ดังนั้นการตรวจพบโรคไขมันพอกตับส่วนใหญ่จึงมักพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือ พบค่าการทำงานของตับผิดปกติ หรือ ตรวจพบจากการตรวจทางการแพทย์ด้วยสาเหตุอื่น ผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับมักไม่มีอาการจนกว่าโรคจะลุกลามเป็นตับแข็งหรือมีอาการ ดังนี้  

  • ปวดท้องหรือรู้สึกอิ่มที่ด้านขวาบนของช่องท้อง
  • คลื่นไส้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด
  • ผิวเหลืองและตาขาว (ดีซ่าน)
  • ท้องและขาบวม (บวมน้ำ)
  • รู้สึกเหนื่อยล้าหรือสับสน

สาเหตุของโรคไขมันพอกตับ

  1. ไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol  fatty liver disease) เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก (การดื่มในระดับมาตรฐานหมายถึงการดื่มไวน์วันละ 1 แก้ว สำหรับผู้หญิงและไม่เกิน 2 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย) ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยไขมันพอกตับจากการดื่มประมาณ 5%
  2. ไขมันพอกตับที่ไม่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ Non-alcohol related fatty liver disease (NAFLD) (Non-alcoholic fatty liver disease; NAFLD) เกิดขึ้นในผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะนี้ส่งผลต่อผู้ใหญ่ 1 ใน 3 คนและเด็ก 1 ใน 10 คนในสหรัฐอเมริกาพบอุบัติการณ์ในผู้ใหญ่ประมาณ 25-30% ของประชากรผู้ใหญ่ทั้งหมด และในเด็กประมาณ 10%  
    • กลุ่มอาการอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) ซึ่งประกอบไปด้วยรอบเอวที่เกิน 90 ซม. ในผู้หญิง และ 100 ซม. ในผู้ชาย ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงมากกว่าหรือเท่ากับ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ระดับไขมันดี แอชดีแอลน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศชาย และน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศหญิง และน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
    • โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคไขมันสูง
    • การรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงเป็นประจำ เช่น ไขมัน น้ำตาล แป้ง
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 
    • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาต้านไวรัสบางชนิด

การรักษาโรคไขมันพอกตับ

  1. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  2. ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักลง 7-10% โดยให้ค่อยๆ
  3. ลดน้ำหนักลง เนื่องจากการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วอาจทำให้โรคไขมันพอกตับแย่ลงได้
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150-200 นาทีต่อสัปดาห์ทั้งแบบแอโรบิค และแบบมีแรงต้าน
  5. ควบคุมอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีพลังงานสูงหรือน้ำตาลสูง เช่น อาหารประเภททอด เนื้อติดมัน ผลไม้ที่มีรสหวานและน้ำผลไม้ต่างๆ ขนมต่างๆ ให้รับประมาณที่มีกากใยสูง และพลังงานต่ำ เช่น ผักต่างๆ
  6. หากเป็นเบาหวาน หรือ ไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดี ด้วยการรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง
  7. หลีกเลี่ยงการรับประทานยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ สมุนไพรที่นอกเหนือจากแพทย์สั่ง
  8. ในรายที่มีค่าการทำงานของตับผิดปกติ แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยาเพื่อทำให้ผลเลือดกลับมาปกติได้ อย่างไรก็ตามยาเหล่านี้ยังไม่มีข้อมูลที่สามารถลดไขมันพอกตับได้ดี

การตรวจพบโรคไขมันพอกตับจึงมักพบเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจทางการแพทย์ด้วยเหตุผลอื่นๆ ซึ่งในบางรายอาจมีภาวะไขมันพอกตับมานานแล้วก็อาจตรวจพบในระยะตับแข็งไปแล้ว ดังนั้นหากพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ควรตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำและใส่ใจสุขภาพมากขึ้นเพื่อลดโอกาสการเป็นไขมันพอกตับ

แหล่งที่มา samitivejhospitals

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

“บิ๊กโจ๊ก” ยันปลดป้ายชื่อไม่ใช่ฝีมือลูกน้อง ลั่นใครทำก็รับกรรมไป!?

“บิ๊กโจ๊ก” ยันลูกน้องไม่ได้ปลดป้ายชื่อหน้าห้องทำงาน ยอมรับคิดเรื่องสมัคร สว.เพราะจะได้ทำงานเพื่อประชาชนระหว่างถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน

อ.น้องไนซ์มาแล้ว! เตรียมยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อนายกรัฐมนตรี ​29 เม.ย.​นี้

เอาจริง! อ.น้องไนซ์ เตรียมยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อนายกรัฐมนตรี เอาผิดสื่อมวลชล นำเสนอข่าวเท็จ เป็นการทำให้สังคมแตกแยก 29 เมษายนนี้?

ระทึก! รถทัวร์ 2 ชั้นนำเที่ยว เสียหลักพลิกคว่ำ ทำผู้โดยสารดับ 1 เจ็บ 28 ราย

รถทัวร์ 2 ชั้นนำเที่ยว คณะหนุ่มสาวโรงงานจากอยุธยา เกิดอุบัติเหตุ เสียหลักพุ่งข้ามแบริเออร์พลิกคว่ำทางลงเขา ทำผู้โดยสารดับ 1 เจ็บ 28 ราย

สลด! แท็กซี่เมาขับรถพุ่งชน รตต.รอง สว.จร.บางเขน เสียชีวิต ขณะปฎิบัติหน้าที่

รวบตัวคนแท็กซี่เมาแล้วขับ ชน รตต.รอง สว.จร.บางเขน เสียชีวิต ขณะปฎิบัติหน้าที่ บมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 287 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

อินฟลูฯ ดัง ฟาดช็อตเด็ด นุ่งบิกินีลายเสือ แซ่บซี๊ดปาก ถูกใจแฟนคลับ

อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง ไม่ทิ้งลายความแซ่บ ออกมาฟาดช็อตเด็ดปาเซตบิกินีลายเสือ ความเผ็ดคูณร้อย เซ็กซี่ถูกใจแฟนคลับ

หนูรัตน์ เอาจริง! เข้าฟิตเนส ปั้นหุ่นแซ่บเซี๊ยะ ตั้งเป้าลดเอวเหลือ 20 นิ้ว

ชาวเน็ตแซว หนูรัตน์ เข้าฟิตเนสออกกำลังกาย ปั้นหุ่นสวยแซ่บเชี๊ยะ พร้อมตั้งเป้าหมายอยากกลับไปมีเอว 19-20 นิ้ว แฟนๆ ให้เชียร์เต็มที่
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า