คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์ เผย การดูแลจิตใจเบื้องต้น และ แนวทางการเยียวยาจิตใจ สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบเหตุการณ์ความรุนแรง กราดยิง
จากเหตุ กราดยิง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ห้างสรรพสินค้า สยามพารากอน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีผู้คนมากมายกำลังเดินเล่น พักผ่อนหย่อนใจ กลับมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น มีผู้ชายก่อเหตุกราดยิง ประชาชนแตกตื่น พากันวิ่งหนีออกจากห้าง หรือหาพื้นที่หลบภัย ไม่เพียงแต่ประชาชนชาวไทย แต่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงเด็กเล็กที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์นี้ ซึ่งจากการรายงานผล มีทั้งผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ โดยผู้ก่อเหตุได้ถูกจับกุมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เพจ Psychology CU หรือ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ให้ความรู้ถึง การดูแลจิตใจเบื้องต้น หลังเผชิญหน้ากับเหตุการกราดยิง และ แนวทางการเยียวยาจิตใจ หลังจบเหตุการณ์แล้ว เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นรู้สึกว่าตนเองได้ปลอดภัยแล้ว ลดความกังวลความหวาดกลัว และภาพจำ รวมถึงผู้ที่สูญเสียคนรอบข้าง จากเหตุการณ์ กราดยิง ครั้งนี้ด้วย
การดูแลจิตใจเบื้องต้น
สำหรับทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากการรับรู้ข่าวสารเหตุการณ์ความรุนแรง
- ไม่ควรหมกมุ่นกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะการแสวงหาข่าว แสวงหาข้อมูลมากขึ้น จะยิ่งทำให้เราจมดิ่งกับอารมณ์ลงไปในเรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการจัดกรปัญหาที่ไม่ถูกต้อง ควรที่จะสื่อสารอารมณ์ทางลบของเราออกมากับคนที่เราไว้วางใจไม่เก็บเอาไว้กับตัวตนเองคนเดียว
- สิ่งที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย เกิดความหวั่นไหวที่จะเสียของรัก แต่ขอให้เรามองในสิ่งที่เรามี หันกลับไปโฟกัสที่ปัจจุบัน คนที่เราดูล โอบกอดคนที่เรารักเอาไว้
- ดูแลกายและใจของตนเองให้ดีที่สุด แม้ว่าเราจะไม่ได้ประสบเหตุโดยตรง แต่เรื่อราวก็สามารถกระตุ้นให้เรากลับไปหวนนึกถึงบาดแผลที่เราเคยมีได้ เพราะเราแต่ละคนก็มีจุดเปราะบางของจิตใจที่แตกต่างกัน
- หากท่านเป็นผู้ที่มีโอกาสพบเจอผู้สูญเสียในเหตุการณ์ ท่านสามารถช่วยเหลือเขาเหล่านั้นได้ด้วยการให้พื้นที่ปลอดภัยที่เขาจะได้ดูแลตนเอง ไม่ควรถามซ้ำๆถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น สื่อสารกับเขาด้วยประโยคว่าเราอยู่ข้างๆถ้าต้องการอะไรบอกได้เสมอ ให้เขารู้ว่าเขามีที่ปลอดภัยให้เขาพึ่งพิงได้

แนวทางการเยียวยาจิตใจ
การเยียวยาจิตใจผู้ที่ประสบเหตุหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทำได้อย่างไร
- การให้ข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้วเราจะมีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร เช่น ความกลัว ความรู้สึกผิด เพื่อที่เราจะตอบสนองต่อกันได้อย่างเหมาะสม เช่น ไม่ซ้ำเติมผู้ประสบเหตุด้วยการถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในเวลาที่เขาไม่พร้อม
แนวทางการเยียวยาจิตใจตัวเอง ต้องเริ่มจากการตระหนักและยอมรับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นให้ได้ หาให้ได้ว่า ตอนที่เกิดเหตุแล้วเราไม่หลับไม่นอนหาข่าว ตามดูข่าวในทีวี ในออนไลน์ นั่นเป็นเพราะเรามีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร เรากลัว เราตระหนกใช่ไหม เราต้องตระหนักอย่าปล่อยให้มันฟุ้ง - ขั้นต่อมาคือสื่อสาร ระบายออกมา เพื่อบรรเทาความรู้สึกให้จางลง เมื่อพร้อม กับคนที่เราไว้วางใจ มันจะช่วยให้เราตระหนักและเข้าใจตัวเองได้ดีขึ้นจากการพูดคุยกับคนอื่น
- จากนั้นเปลี่ยนการมองว่าโลกนี้น่ากลัว สถานการณ์น่ากลัว ก็เปลี่ยนเป็นพลังในการออกมาทำอะไรที่ดี ๆ ที่เกิดประโยชน์ ให้เราเกิดความรู้สึกว่าเราสามารถทำอะไรได้ บริหารจัดการชีวิต ควบคุมสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
การช่วยดูแลผู้ที่ยังรู้สึกแย่อยู่ ยังไม่สามารถดึงอารมณ์ตัวเองกลับมาได้ ทำได้อย่างไร
- การดูแลคนใกล้ชิดสามารถทำได้ด้วยการแสดงความเข้าใจ เพื่อสื่อว่ายังอยู่ข้าง ๆ และพร้อมที่จะรับฟัง เมื่อเขาพร้อมที่จะสื่อสาร
- ถอยความอยากรู้ของเรา และมองเขาอย่างที่เขากำลังรู้สึกและมองโลก
ผลกระทบทางจิตใจต่อเหตุการณ์ร้าย ๆ สามารถติดอยู่ในใจเราได้ยาวนาน 3-6 เดือน ถ้าใครผ่าน 6 เดือนไปแล้ว ยังคงรู้สึกกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ยังกลัวว่าจะมีใครมาทำร้าย ก็อาจจะต้องรับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับเด็กที่ยังสื่อสารไม่ได้ดีนัก พ่อแม่ต้องคอยสังเกตว่าเขามีพฤติกรรมถดถอยหรือไม่ เช่น จากที่ไม่ฉี่รดที่นอนแล้ว กลับมาฉี่รดที่นอน ที่เคยรักดูแลน้องกลับมาแกล้งน้องกัดน้อง ถ้าพบว่ามีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ควรพาไปพบจิตแพทย์เด็กหรือนักจิตวิทยาเด็ก
ที่มา : คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY