ไส้เลื่อนในผู้หญิง? รู้หรือไม่ ผู้หญิงอย่างเรา ๆ ก็เป็นไส้เลื่อนได้เหมือนกันนะ?

รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วผู้หญิงก็เป็นไส้เลื่อนได้เหมือนกันนะ แต่ผู้หญิงเป็นไส้เลื่อนได้อย่างไร แล้ว ไส้เลื่อนในผู้หญิง แตกต่างจากไส้เลื่อนในผู้ชายหรือเปล่ามาดูคำตอบกันเลย

ไส้เลื่อนคืออะไร

ไส้เลื่อน คือ อาการที่ลำไส้เคลื่อนตัวออกจากจุดเดิมมายังผนังช่องท้อง จนมองเห็นเป็นลักษณะก้อนกลม บวม สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายจุด เช่น หน้าท้อง สะดือ สะโพก ขาหนีบ โดยทั่วไปแล้วไส้เลื่อนไม่ถือว่าเป็นอันตรายที่รุนแรง แต่ถึงอย่างนั้นไส้เลื่อนก็ไม่สามารถหายเองได้ และจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะก่อให้เกิดอันตราย

ไส้เลื่อนในผู้หญิง เป็นอย่างไร

ปกติแล้วเวลาพูดถึง ไส้เลื่อน เรามักจะมีภาพจำในหัวว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่เป็นกันเฉพาะผู้ชาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะผู้หญิงหรือผู้ชายก็สามารถเป็นไส้เลื่อนได้เหมือนกัน แต่อาจจะพบในผู้หญิงได้น้อยกว่าในผู้ชาย และเนื่องจากไส้เลื่อนมักจะเป็นในผู้ชายมากกว่า จึงทำให้เกิดการส่งต่อความเชื่อผิด ๆ ว่า ถ้าไม่ใส่กางเกงในจะทำให้เป็นไส้เลื่อน ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะไม่ว่าจะไส้เลื่อนในผู้หญิงหรือไส้เลื่อนในผู้ชาย ก็เกิดจากสาเหตุคล้ายกันทั้งนั้น

ไส้เลื่อนในผู้หญิง แตกต่างจากไส้เลื่อนในผู้ชายอย่างไร

โดยทั่วไปแล้ว อาการของ ไส้เลื่อน ในผู้หญิงและไส้เลื่อนในผู้ชายจะไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นัก จะต่างกันอยู่บ้างก็ตรงที่ ไส้เลื่อนในผู้หญิงนั้นจะเกิดในบริเวณที่มีความลึกลงไปในร่างกาย ทำให้ยากต่อการสังเกต ขณะที่ไส้เลื่อนในผู้ชายจะสามารถมองเห็นเป็นก้อนเนื้อนูน ๆ ได้ชัดเจนกว่า หรือเป็นก้อนนูนที่ใหญ่กว่าไส้เลื่อนในผู้หญิง

ผู้หญิงจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นไส้เลื่อน

วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าเป็นไส้เลื่อนหรือไม่ คือการสังเกตดูว่ามีก้อนนูน ๆ ขึ้นที่บริเวณหน้าท้อง หน้าขา หรือขาหนีบหรือไม่ หรือหากรู้สึกว่ามีอาการปวดเชิงกรานแบบเรื้อรัง ปวดขึ้นมาแบบเฉียบพลันและใช้เวลานานมากแต่ละครั้งกว่าอาการปวดจะหายไป หากมีลักษณะอาการดังกล่าว คุณควรหาโอกาสไปพบกับคุณหมอเพื่อเข้ารับการวินิจฉัย ซึ่งคุณหมออาจใช้วิธีดังต่อไปนี้เพื่อทำการวินิจฉัย ไส้เลื่อน

  • แพทย์จะสอบถามทั่วไป เช่น สังเกตเห็นรอยนูนเมื่อไหร่ ขณะที่มีรอยนูน มีอาการข้างเคียงอื่น ๆ หรือไม่ มีอุบัติเหตุอื่นหรือกิจกรรมใดที่ทำให้เกิดรอยนูนหรือไม่ หรือได้ทำกิจกรรมใดที่ต้องออกแรงอย่างหนักหรือไม่
  • จากนั้นแพทย์อาจทำการอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจดูภายในช่องท้องหรือบริเวณหน้าขา
  • แพทย์อาจใช้วิธีซีทีสแกน (CT scan) เพื่อตรวจดูว่าเป็นไส้เลื่อนหรือไม่
  • แพทย์อาจใช้วิธีเอ็มอาร์ไอสแกน (MRI scan) เพื่อตรวจดูว่าเป็น ไส้เลื่อน หรือไม่

วิธีรักษาไส้เลื่อน

หากก้อนเนื้อนูน ๆ ขยายใหญ่ขึ้น และมีอาการปวดที่รุนแรงจนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อรักษา ไส้เลื่อน โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมไส้เลื่อน และเย็บรูผนังหน้าท้องด้วยตาข่ายเล็ก ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ลำไส้เคลื่อนตัวออกมา หรืออาจทำการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง การผ่าตัดวิธีนี้จะไม่ก่อให้เกิดแผลขนาดใหญ่ และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อโดยรอบด้วย อย่างไรก็ตาม หากมีอาการไส้เลื่อนควรปรึกษากับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

ที่มา : hellokhunmor

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า