นอนเต็มอิ่ม แต่ตื่นมาแล้วรู้สึกง่วง อ่อนเพลีย ไม่สดใส คุณอาจกำลังเป็น ไฮโปไกลซีเมีย หรือ โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
เมื่อคืนนอนเต็มอิ่ม นอนหลับสนิทดี แต่ตื่นมาแล้วรู้สึกง่วง อ่อนเพลีย ไม่สดใส อยากนอนตลอดเวลา หนุ่มสาววัยทำงานหลาย ๆ คนอาจจะเคยเป็น และนั้นอาจเป็นสัญญาณของ “โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง” หรือ “ไฮโปไกลซีเมีย” ก็เป็นได้
โรคไฮโปไกลซีเมีย (HYPOGLYCEMIA) หรือ โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นโรคที่พบมากของในคนที่อยู่ในสังคมเมือง บางครั้งอาจเรียกว่า โรคภาวะน้ำตาลกลูโคส (Glucose) ในเลือดต่ำ ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกไร้เรี่ยวแรง และอ่อนเพลียตลอดทั้งวัน
โรคนี้เกิดจากพฤติกรรมผิดๆ ที่เราปฎิบัติเป็นประจำในชีวิตประจำวัน เช่น การบริโภคอาหารจำพวกแป้งขัดขาว และน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารฟาสต์ฟู้ด น้ำอัดลม ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยสารพิษและควันพิษจากรถต่างๆ บนท้องถนน
นอกจากนี้การใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องเร่งรีบ ความเครียดจากการทำงาน ปัญหาชีวิตที่รุมเร้า การนอนดึก นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็ล้วนเป็นสาเหตุของโรคเช่นกัน

สำหรับอาการของ โรคไฮโปไกลซีเมีย (HYPOGLYCEMIA) ทางแพทย์ได้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
- กลุ่มความผิดปกติทางร่างกาย
- จะมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดหัว-เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ เหงื่อแตกบ่อยๆ มือสั่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง เป็นตะคริวบ่อย เกิดการชักกระตุก คันตามผิวหนัง หน้าร้อนผ่าวบ่อยๆ มีอาการภูมิแพ้ มือเท้าเย็น เนื้อตัวชาบางครั้ง และการทรงตัวไม่ดี
- กลุ่มความผิดปกติของระบบต่างๆ
- จะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปากแห้งคอแห้ง เบื่ออาหาร อยากกินของหวานๆ หิวอย่างรุนแรงก่อนถึงเวลากินอาหาร ถ่ายอุจจาระผิดปกติ ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ หายใจไม่ค่อยออก ปากและลมหายใจมีกลิ่นแปลกๆ หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นลมบ่อยๆ 2อ้วน-น้ำหนักเกิน และกามตายด้าน
- กลุ่มความผิดปกติทางจิตใจ/ระบบประสาท
- จะรู้สึกเบื่อหน่าย ฟุ้งซ่านขาดสมาธิ วิตกกังวลโดยง่าย ลังเลตัดสินใจไม่ได้ .รู้สึกสับสนปั่นป่วน ทนเสียงอึกทึก และแสงจ้าๆไม่ได้ เบื่อการพบปะเพื่อนฝูง ไม่ชอบเข้าสังคม การประสานงานส่วนต่างๆของร่างกายเลวลง โมโหง่าย ฝันร้ายบ่อย ความจำเสื่อม มีอาการทางประสาท และอยากฆ่าตัวตาย
การป้องกันและแก้ไขอาการของโรคไฮโปไกลซีเมีย(HYPOGLYCEMIA) ที่สำคัญ คือ ต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเสียใหม่ ได้แก่
- หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เครียด และซึมเศร้า หยุดดื่มเหล้า เลิกสูบบุหรี่ เลิกยาคลายเครียด ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ และควบคุมอารมณ์ไม่ให้เครียด
- ปรับพฤติกรรมการกิน โดยการงดเติมน้ำตาลในอาหาร หรือเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลมาก
- ก่อนนอนไม่ควรทานอาหารหนักๆหรือเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนก่อนนอน เพราะจะทำให้หลับยาก
- หมั่นฝึกสมาธิ เพื่อควบคุมจิตใจให้สงบ และผ่อนคลายความเครียด
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เจะทำให้หลับง่ายและสบายยิ่งขึ้น
- เข้านอนแต่หัวค่ำ
- สำหรับในบางรายที่เป็นมาก อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ และรับประทานวิตามินบีเสริมเพื่อช่วยลดความเหนื่อยล้า