โรคฉี่หนู เมื่อวันที่25 ส.ค. ที่ผ่านมานายแพทย์สุวรรณชัยวัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า“ขณะนี้ในหลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมประชาขนต้องทำความสะอาดบ้านเรือนหรือต้องแช่น้ำหรือลุยน้ำเป็นเวลานานสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือโรคเลปโตสไปโรสีสหรือ“โรคฉี่หนู”เพราะเชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าทางบาดแผลรอบถลอกรวมถึงผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน
โดยสถานการณ์ของโรคนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 – 15 ส.ค. 63 พบผู้ป่วย805 ราย เสียชีวิตแล้ว12 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร
ไอ้อ่านข่าวนี้แล้วก็เป็นห่วงพี่ๆน้องๆที่อยู่ในพื้นที่ที่กำลังเจอปัญหาฝนตกน้ำท่วม ซึ่งเจ้าโรคชื่อคุ้นเคยนี้เป็นโรคที่หลายๆคนมองข้ามไม่ระมัดระวังตัวในขณะที่เกิดน้ำท่วมยิ่งเป็นเหตุน้ำท่วมแบบฉุกเฉิน ซึ่งน้ำจะไหลบ่ามาอย่างรวดเร็วในเวลานั้นเชื่อได้ว่าคงไม่ใครห่วงเรื่องการติดเชื้อหรือการป้องกันระวังโรคฉี่หนูมากกว่าห่วงความปลอดภัยของคนในครอบครัวและทรัพย์สินพีชสวนแน่นอนและอีกประเด็นคือในพื้นที่ๆมีน้ำท่วมเป็นเวลานานจนเกิดความเคยชินกับน้ำที่ท่วมขัน การที่เราต้องใช่ชีวิตกับน้ำท่วมขังเป็นเวลานานๆทำให้ความระมัดระวังตัวในการป้องกันการสัมผัสน้ำลดน้อยลงจนทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายๆและเชื้อนี้เป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีความอึดอดทน สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานานนับเดือน และเข้าสู่ร่ายกายได้ทางผิวหนังผ่านบาดแผลรอยข่วนหรือแค่ผิวที่เปือยจากการแช่น้ำเป็นเวลานานหรือแม้นจะเป็นแผลเพียงเล็กน้อยเชื้อนี้ก็แทรงตัวเข้ามาจู่โจมเราได้หลังจากรับเชื้อแล้วโรคนี้จะมีระยะฟักตัวได้นาน1-2 สัปดาห์ ด้วยการฟักตัวที่ยาวนานทำให้ผู้ป่วยเกิดความชะล่าใจไม่ไปพบแพทย์เพราะคิดว่าไม่ใช่โรคฉี่หนู กว่าจะไปพบแพทย์ก็อาจจะมีอาการรุนแรงหรือบางรายก็ถึงขั้นเสียชีวิตได้
ถึงเจ้าเชื้อจากฉี่หนูนี้จะน่ากลัวอย่างไร ทีมงานสุขภาพดีดีก๊มีวิธีรับมือมาฝากเพื่อความปลอดภัยของทุกคน
เช็คอาการของโรคฉี่หนู หากเราต้องไปสัมผัสกับน้ำภายใน1-2 สัปดาห์ ให้สังเกตว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่
- มีไข้นสูงอย่างอย่างเฉียบพลัน (อุณหภูมิเกินกว่า37.5 ขึ้นไป)
- ปวดหัวรุนแรง
- ปวดเมื่อยตามตัวโดยเฉพาะที่น่องโคนขาจะมีการปวดมากแบบทรมานสุดๆ
- คลื่นไส้อาเจียน
- ท้องเสีย
- ตาแดง
หากมีอาการโรคฉี่หนูควรไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุด
การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำจากแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคฉี่หนู
- รักษาผิวหนังร่างกายไม่ให้เกิดแผลหรือเพียงแค่รอยถลอก
- หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรใส่รองเท้าบูทเพื่อป้องกันการสัมผัสกับน้ำ
- กำจัดหนูตามแหล่งที่อยู่อาศัย
มาจึงตรงนี้ผู้เขียนเองก็ยังคิดย้อนแย้งแบบเขียนเองก็เถียงกับตัวเองในรื่องของการป้องกันการติดเชื้อซึ่งในชีวิตประจำวันหากบ้านเราตกอยู่ในสถานการณ์น้ำท่วมถึงจะรู้ถึงความน่ากลัวของโรคและรู้ว่าต้องป้องกันแต่เราก็คงไม่สามารถป้องกันตัวเองได้100% ในทุกๆวัน ดังนั้นหากเราไม่สามารถป้องกันจากภายนอกได้100% เราก็ควรจะเตรียมเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันตัวเองจากภายในซึ่งไม่เพียงจะป้องกันตัวจาเชื้อโรคฉี่หนูได้เท่านั้นแต่หากเรามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงไม่ว่าเราจะเจอกับการแพร่เชื้อของโรคใดจะเป็นโรคเก่าที่ระบาดใหม่ หรือโรคใหม่ที่พึงเกิดขึ้นในอนาคตเราก็พร้อมจะสู้กับทุกๆโรคได้แน่นอน
หลัก 6 ประการสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ6-8 ชั่วโมง
- ลดละความเครียด
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ทำลายภูมิกันเช่นการดื่มเครื่อดื่มแอลกอฮอล์การสูบบุหรี่
- หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อรู้ก่อนรักษาได้ทัน
- การทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เช่นวิตามินซีหรือพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านที่ผ่านการวิจัยยืนยันรับรองผลเกี่ยวกับสร้างภุมิคุ้มกันป้องกันโรคได้เช่นสมุนไพรพลูคาว
อ่านบทความฉบับเต็ม https://www.xn--22c0ba2bj2d0c0abw.com/%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%89%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b9/
