หน้ามืด เวียนหัวบ่อย อาจเพราะ ความดันต่ำ ภัยเงียบที่อันตราย หากไม่ระวังตัว

หน้ามืด เวียนหัวบ่อย เป็นเพราะพักผ่อนน้อยหรือว่าเพราะ ความดันต่ำ ภัยเงียบที่อันตราย หากไม่ระวังตัว ภาวะความดันต่ำ

ภาวะความดันต่ำ คือภาวะค่าความดันภายในเลือดที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของค่าความดันภายในเลือดปกติ ภาวะความดันต่ำจึงเป็นอีกหนึ่งอาการเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ขึ้นอยู่กับความอ่อนไหวของร่างกายในขณะนั้น

ซึ่งโดยทั่วไปผู้คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า เนื่องจากคิดว่าอันตรายกว่า แต่รู้หรือไม่ว่าความดันต่ำเป็นภัยเงียบที่ร้ายแรงและอันตรายไม่แพ้ความดันโลหิตสูงเลยทีเดียว 

ทั้งนี้ความดันต่ำคือภาวะ ไม่ใช่โรค ด้วยเพราะลักษณะอาการที่ไม่ได้พัฒนาไปสู่โรคเรื้อรังอื่น ๆ แต่มักแสดงอาการออกมาอย่างเฉียบพลัน เช่น หน้ามืด เวียนหัว อ่อนเพลีย รวมถึงอาการใจสั่นร่วมด้วยได้ ซึ่งนอกจากอาการแสดงที่กล่าวมาแล้วนั้น เราสามารถเช็กได้ว่าตนเองมีภาวะความดันต่ำหรือไม่ ได้จากการตรวจวัดความดันโลหิต

ผ่านค่าตัวเลขความดันโลหิตตัวบน หรือแรงดันขณะหัวใจกำลังบีบตัว และความดันโลหิตตัวล่าง หรือแรงดันขณะหัวใจกำลังคลายตัว ซึ่งหากมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท จะเท่ากับภาวะความดันต่ำนั่นเอง ส่วนสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ภาวะความดันต่ำได้นั้น ได้แก่

  • ภาวะความดันต่ำ ที่เกิดจากอิริยาบถของร่างกาย หลายครั้งที่การลุก นั่ง แบบกะทันหัน หรือการก้ม-เงยศีรษะอย่างรวดเร็วจะทำให้เรารู้สึกเวียนหัวขึ้นมาได้ นั่นเพราะความดันเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างรวดเร็ว จากความเร็วของอิริยาบถของร่างกาย บวกกับจังหวะการหายใจและสภาพร่างกายในขณะนั้นร่วมด้วย
  • ภาวะความดันต่ำ ที่เกิดจากเลือดในสมองไม่พอ อีกหนึ่งเหตุผลที่มีความเครียดเป็นเหตุ เพราะระดับความเครียดมีผลโดยตรงต่อระดับความดันในร่างกาย รวมถึงการขาดสารอาหารประเภทโปรตีน วิตามินซี และวิตามินบี ที่ช่วยให้เนื้อเยื่อโดยรอบผนังหลอดเลือดแดงแข็งแรงขึ้น ซึ่งสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันต่ำในเวลาต่อมาได้
  • ภาวะความดันต่ำ ที่เกิดจากการใช้ยาหรือโรคประจำตัว เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ ยากล่อมประสาท และยาต้านเศร้า รวมถึงโรคประจำตัว หรือภาวะบางอย่างที่มีผลต่อระดับความดันในร่างกาย เช่น ภาวะตั้งครรภ์ อาการแพ้ โรคโลหิตจาง โรคหัวใจ และโรคพาร์กินสัน เป็นต้น
  • ภาวะความดันต่ำโดยไม่ทราบสาเหตุ ภาวะความดันต่ำที่เกิดจากพันธุกรรม หรือลักษณะรูปร่างที่บอบบางและผอมจนเกินไป ทำให้มีภาวะความดันต่ำเกิดขึ้นได้ รวมถึงการสะสมปัจจัยระหว่างทางจนทำให้เข้าสู่ภาวะความดันต่ำในอนาคตต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มคุณภาพการนอนให้ดี พยายามดื่มน้ำเปล่าให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หลีกเลี่ยงความเครียดและการเปลี่ยนท่าทางที่รวดเร็ว อย่าหลุดโฟกัสอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะวิตามินบี 12 ผักใบเขียวและผลไม้ให้มาก ก็จะช่วยให้ภาวะความดันต่ำดีขึ้นตามลำดับ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า