10 ข้อที่ผู้หญิงควรรู้! เกี่ยวกับ อาการ ปวดประจำเดือน ทำความเข้าใจกับประจำเดือนมากขึ้น จะได้ใช้ชีวิตช่วงมีประเดือนให้มีความสุข

ผู้หญิงทุกคนที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ต้องเคยมีอาการเหล่านี้ก่อนมีประจำเดือนราวๆ 1 – 2 สัปดาห์ เช่น ปวดท้อง เจ็บหน้าอก หงุดหงิด ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน เราเรียกอาการพวกนี้ว่า PMS หรือ Premenstrual Syndrome  นั่นเองคราวที่แล้วเราได้เจาะลึกถึงอาการนี้ไปแล้ว วันนี้ Bright TV มี 10 ข้อควรรู้! เกี่ยวกับอาการ ปวดประจำเดือน มีอะไรบ้างมาดูเลย

huge-morning-pain-stomach 329181

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการ “ปวดประจำเดือน”

  1. อาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องปกติของผู้หญิงหรือไม่ ใช่ : อาการปวดประจำเดือนมักพบได้บ่อยถึง 50-90% ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ส่วนใหญ่พบในหญิงอายุน้อย โดยทั่วไปอาการปวดประจำเดือนมักบรรเทาหรือน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น หากอาการมากขึ้นตามอายุ อาจจะเป็นเพราะมีโรคบางอย่างซ่อนอยู่ แนะนำให้ไปพบแพทย์
  2. อาการปวดประจำเดือนเกิดจากสาเหตุอะไร
    อาการปวดประจำเดือนเกิดจากสารที่ชื่อโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ซึ่งเป็นสารเกี่ยวกับการอักเสบ การไหลเวียนของเลือด การแข็งตัวของเลือด และการคลอดบุตร โพรสตาแกลนดินหลั่งออกมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมกับประจำเดือน
  3. อาการปวดประจำเดือนมีลักษณะเช่นไร
    อาการปวดประจำเดือนเป็นอาการปวดซึ่งเกิดจากการบีบตัวของมดลูก มักมีลักษณะดังนี้
    • ปวดไม่เป็นจังหวะ
    • ปวดถี่ ๆ มดลูกบีบ 4 – 5 ครั้ง ใน 10 นาที
    • มักจะเริ่มจากปวดน้อย ๆก่อนแล้วค่อย ๆ แรงขึ้น
    • ปวดคล้ายกับการปวดเวลาคลอดบุตร แต่อาจไม่รุนแรงเท่า
  4. ปัจจัยเสี่ยงใดที่อาจจะทำให้อาการปวดประจำเดือนแย่ลง
    การสูบบุหรี่และความเครียด
  5. อาการปวดประจำเดือนแบ่งได้ออกเป็นกี่ประเภท
    ทางการแพทย์นั้นได้แบ่งอาการปวดประจำเดือนออกเป็น 2 ประเภท
    • ปฐมภูมิ (Primary)
      • ปวดเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน
      • อาการปวดมักสั้นและหายได้เองภายใน 12 ถึง 72 ชั่วโมง
      • มักปวดตอนอายุน้อย ๆ อาการจะบรรเทาหรือดีขึ้นตามอายุ
    • ทุติยภูมิ (Secondary)
      • อาการปวดอาจเริ่มก่อนประจำเดือนจะมา หรือหลังประจำเดือนหมดไปแล้วยังไม่หาย
      • มักปวดมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น หรือปวดมากขึ้นเรื่อยๆ
      • มักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ประจำเดือนผิดปกติ ปวดเวลาอื่นร่วมด้วย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ หรือ ภาวะมีบุตรยาก เป็นต้น
      • การปวดแบบนี้มักมีพยาธิสภาพบางอย่าง เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ แนะนำให้ไปพบแพทย์
  6. หากมีอาการปวดประจำเดือนแปลว่าป่วยเป็นโรคบางอย่างหรือไม่
    กรณีปวดแบบปฐมภูมิ มักไม่มีโรคและไม่ต้องทำอะไร
    กรณีปวดแบบทุติยภูมิ หรือไม่เคยปวดมาก่อน แล้วมาปวดตอนอายุมากขึ้นและปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้ระวังว่าอาจจะมีโรคอะไรซ่อนอยู่ เช่น
    • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ไปที่รังไข่ หรือที่เรียกว่า ช็อคโกแลตซีสต์ นั่นเอง
    • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ไปที่กล้ามเนื้อมดลูก
    • ก้อนเนื้อมดลูก
    • อุ้งเชิงกรานอักเสบติดเชื้อ เป็นต้น
  7. เมื่อมีอาการปวดประจำเดือน ควรรับประทานยาแก้ปวดชนิดใด และหากรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะเกิดผลเสียหรือไม่
    ยาแก้ปวดประจำเดือนที่นิยมใช้ แบ่งออกเป็น
    • ยาในกลุ่มที่มีตัวยาพาราเซตามอล
      • แก้ปวดได้ทุกสิ่ง รวมไปถึงการปวดประจำเดือน
      • ช่วยลดปวดได้ประมาณ 50%
      • ผลข้างเคียงต่ำมาก หากไม่รับประทานเกินขนาด
      • แนะนำรับประทานครั้งละ 500 mg (1-2เม็ด ขึ้นกับน้ำหนักตัว) ห่างทุก 6 ชั่วโมง
    • ยาแก้ปวดลดอักเสบชนิด NSAIDs มีหลายชนิด แต่ที่แนะนำเพื่อลดปวดประจำเดือน คือ Mefenamic Acid
      • ยาในกลุ่ม Mefenamic Acid
        • แนะนำรับประทานเริ่มต้นที่ 500 mg ก่อน แล้วอาจตามด้วย 250 mg ทุก 6 ชั่วโมง
        • รับประทานช่วงที่มีประจำเดือน แต่ไม่ควรเกิน 3 วัน
        • ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงที่ใช้ยาคือยาอาจกัดกระเพาะอาหาร จึงควรทานยาหลังมื้ออาหาร
      • ยากลุ่ม COX-2 selective NSAIDs
        • สามารถใช้ได้ในคนไข้โรคกระเพาะ
        • ข้อเสียคือมีราคาแพง
  8. ยาคุมกำเนิดสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้จริงหรือไม่
    ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดสามารถช่วยลดปวดประจำเดือนได้
    • ยาฮอร์โมนรวม (เอสโตรเจนกับโปรเจสเตอโรน)
      • สำหรับคนที่ปวดประจำเดือน (และยังไม่ต้องการมีบุตร) ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดที่แนะนำเป็นทางเลือกแรกคือยาฮอร์โมนรวม
      • มีทั้งแบบยาเม็ด แบบห่วง (vaginal ring) และแบบแผ่นแปะ (patch)
    • ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว
      • อาจมีผลข้างเคียงเรื่องเลือดออกกะปริดกะปอย
      • อยู่ในรูปแบบยาฉีด ส่วนยาฝังคุมกำเนิด หรือห่วงคุมกำเนิดแบบมีฮอร์โมน ยังไม่ค่อยแนะนำให้ใช้เพื่อลดอาการปวดประจำเดือนอย่างเดียว
  1. อาการปวดประจำเดือนสัมพันธ์กับภาวะมีบุตรยากหรือไม่
    อาการปวดประจำเดือนสัมพันธ์กับภาวะมีบุตรยากจริง แต่ไม่เสมอไป คนที่ปวดประจำเดือนอันมีสาเหตุมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรืออุ้งเชิงกรานอักเสบจะมีภาวะมีบุตรยากกว่าคนทั่วไป
  1. เมื่อมีอาการปวดประจำเดือนมากผิดปกติควรปฏิบัติตัวเช่นไร มีการตรวจรักษาประเภทใดบ้าง
    • ไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีโรคบางอย่างซ่อนอยู่
    • การตรวจวินิจฉัย ได้แก่ การตรวจภายในและการอัลตราซาวน์อุ้งเชิงกราน
      การอัลตราซาวน์อุ้งเชิงกราน (หรือช่องท้องส่วนล่าง) สามารถทำผ่านหน้าท้องได้ แต่การอัลตราซาวน์ทางช่องคลอดจะสามารถเห็นภาพได้ชัดเจนกว่า อย่างไรก็ตาม การตรวจเช่นนี้ยังสามารถบอกรอยโรคบางอย่างหรือพังผืดในช่องท้องได้
    • หากตรวจพบโรคที่ผิดปกติ แนะนำให้รักษา โดยวิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับตัวโรค เช่น
      • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ที่รังไข่ (หรือช็อคโกแลตซีสต์) ควรได้รับการผ่าตัด หรืออาจให้ฮอร์โมนได้ในกรณีที่ซีสต์มีขนาดเล็ก
      • ก้อนเนื้อมดลูก ควรได้รับการผ่าตัดหากอาการรบกวนชีวิตประจำวัน หรือเมื่อรักษาด้วยยาไม่ได้ผล เป็นต้น
    • หากไม่พบโรคใด ๆ สามารถทานยาแก้ปวดหรือยาฮอร์โมนภายใต้คำแนะนำของแพทย์

แหล่งที่มา medparkhospital

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

เจรจาเดือด! เมย์ วาสนา เผย ดิว อริสรา ยังคืนของไม่ครบ ลั่น 10 วันเจอกัน

“เมย์ วาสนา” เคลื่อนไหวล่าสุด ยันคดียังไม่จบ! ลั่นยังไม่ได้ของครบจาก “ดิว อริสรา” เตรียมเข้าเจรจาภายใน 10 วัน ยังคงเป็นประเด็นคาราคาซังในวงการบันเทิง […]

วีนา ปวีนา อันฟอลโล่ แอนโทเนีย ลั่น !! มาเอามง ไม่ได้มาหาเพื่อน

“วีนา ปวีนา ซิงห์” เคลียร์ดราม่าอันฟอลโล่เพื่อนนางงาม ยันไม่มีใครสั่ง ทำทุกอย่างเพื่อมงฯ แต่ไม่ผิดศีลธรรม ลั่น !! ไม่ได้สนิทกับ แอนโทเนีย […]

คู่นี้ยังไง ? กระปุก พัชรา อันฟอลโลว์ กระทิง ขุนณรงค์

รักร้าวหรือแค่พักใจ? ชาวเน็ตตาดี เห็น “กระปุก พัชรา” อันฟอลโลว์ “กระทิง ขุนณรงค์” – ฝ่ายชายยังฟอลอยู่เหมือนเดิม กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่แฟนๆ ให้ความ […]

วิ่งเผ่นจีวรบิน เจ้าอาวาสฉาวสวิงกิ้งด.ญ. หนีสื่อปัดสัมภาษณ์

เจ้าอาวาสฉาวสวิงกิ้งด.ญ. ย่องเงียบเจอตร.โดนข้อหาอนาจาร รีบวิ่งหนีสื่อจีวรปลิวรีบขึ้นรถไปไหนไม่รู้ ชาวบ้านสุดเอือม

จุกอก! ตาวัย 70 ปีขอแค่ที่หลบฝนหลบแดด ลูกๆทิ้งไม่เป็นไร

ลูก 3 คนพูดชัดเลี้ยงดูพ่อไม่ไหว ด้านพ่อวัย 70 ปี พูดคำเดียวจุกอกขอแค่ที่หลบฝนหลบแดด มีข้าวกินประทังชีวิตพอแล้ว

เปิดไทม์ไลน์ก่อนตาย รพ.ให้เลือดผิดกรุ๊ป ความจริงอีกมุมเป็นแบบนี้

เผยไทม์ไลน์ก่อนเสียชีวิต เคสเหยื่อก้อนปูนพระราม 2 ตกใส่รถตับฉีกเจ็บสาหัส รพ. แรกรับให้เลือดผิด สลับกรุ๊ป A กับ B ก่อนส่งต่ออีก รพ. แต่สุดยื้อ 
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า