ทำความรู้จักน้องใหม่! “วัคซีนโนวาแวกซ์” หลังอย.อนุญาติขึ้นทะเบียน ใช้กรณีฉุกเฉิน ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายวัคซีนตัวนี้โดยใช้ชื่อแบรนด์ว่าโคโวแวกซ์ (Covovax)
ข่าวดีอย่างเรื่องหนึ่งในวันนี้ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 มีรายงานว่า โนวาแวกซ์ อิงค์ และสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย เผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ได้อนุญาติขึ้นทะเบียนวัคซีนตัวใหม่ นั้นก็คือ “วัคซีนโนวาแวกซ์” ใช้งานในกรณีฉุกเฉิน (EUA) ให้กับวัคซีนโควิด-19 แบบมีโปรตีนเป็นพื้นฐานของโนวาแวกซ์แล้ว

“เรายังคงมีความมุ่งมั่นในการช่วยต่อสู้กับการระบาดใหญ่ทั่วโลก ด้วยการนำเสนอวัคซีนตัวใหม่ที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์มซึ่งเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีและมีการนำไปใช้กับวัคซีนตัวอื่น ๆ มาแล้วกว่าหลายทศวรรษ”ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโนวาแวกซ์”
คุณสแตนลีย์ ซี อีริค (Stanley C. Erck) ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโนวาแวกซ์
ดังนั้น BRIGHT TODAY พาทุกคนเตรียมตวามพร้อม และทำความารู้จักกับวัคซีนน้องใหม่ ที่พึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยสดๆร้อนๆ กับวัคซีนโนวาแวกซ์ (Novavax) หรือ มีอีกชื่อหนึ่งว่า NVX-CoV2373 โดยมี SII เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายวัคซีนตัวนี้โดยใช้ชื่อแบรนด์ว่าโคโวแวกซ์ (Covovax)
วัคซีนโควิดโนวาแวกซ์ (Novavax)

- ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัทโนวาแวกซ์ อิงค์ หนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา
- วัคซีนชนิดนี้ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบใช้โปรตีนเบส (Protein-nanoparticle Vaccine) แทนการใช้เชื้ออ่อนหรือเชื้อที่ตายแล้ว ด้วยวิธีนี้จะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากกว่า 3,000 titers
- เป็นหนึ่งในวัคซีนหลักของโครงการ COVAX ที่จะส่งให้ประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางทั่วโลก
- รายงานผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 ได้สูงถึง 90%
- สามารถฉีดได้คนที่มีอายุตั้งแต่ 18-84 ปี และสามารถฉีดได้ในผู้ที่มีโรคประจำตัว
- ได้รับการขึ้นทะเบียนใช้งานกรณีฉุกเฉิน (EUL) จากองค์การอนามัยโลก และ อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ
- ได้รับอนุญาตให้ใช้กับวัยรุ่นอายุ 12 ปี ถึงอายุไม่เกิน 18 ปีในอินเดีย
ข้อดีของวัคซีนโนวาแวกซ์
- วัคซีนโนวาแวกซ์ เลือกใช้โปรตีนบริสุทธิ์ เปรียบเสมือนอาหารสำเร็จรูปที่เข้าสู่ร่างกายโดยตรง ทำให้มีประสิทธิภาพ และร่างกายสามารถเข้าถึงสารได้ง่าย และการเลือกใช้หนามของโควิดในการทำวัคซีน ทำให้ร่างกายจดจำหนามของโควิด และสร้างแอนติบอดีขึ้นมาบริเวณโปรตีนส่วนหนาม ทำให้เชื้อโควิดไม่สามารถเกาะติดกับเซลล์ของมนุษย์ได้ ทำให้ความรุนแรงของไวรัสลดลง
- การจัดเก็บ : ไม่จำเป็นต้องเก็บในอุณหภูมิที่ต่ำมาก สามารถเก็บในอุณหภูมิตู้เย็นปกติ 2-8 องศาก็สามารถเก็บรักษาได้ ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าวัคซีนประเภท mRNA อย่างไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นาที่ต้องเก็บในอุณหภูมิต่ำมาก ๆ ทำให้อาจจะเกิดปัญหาด้านการขนส่งได้
- นักวิจัยสามารถเปลี่ยนชนิดโปรตีน เพื่อรองรับไวรัสกลายพันธุ์ที่อาจดื้อยาได้ ทำให้สามารถพัฒนาวัคซีนให้มีประสิทธิภาพสู้กับเชื้อโควิดกลายพันธุ์ได้
** ฉีด 2 โดส เข้ากล้ามเนื้อทั้งสองเข็ม ห่างกัน 21 วัน หรือ 3 สัปดาห์ **

ประสิทธิภาพของวัคซีนโนวาแวกซ์
- ป้องกันความรุนแรงของโรคโดยรวมได้ 90.4%
- ป้องกันอาการป่วยรุนแรงได้ 100%
- ป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมได้ 96.4%
- ป้องกันเชื้อสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) ได้ 89.7%
- ป้องกันสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) ได้ 55%
- สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) อยู่ระหว่างการศึกษา
ปล. จากผลการศึกษาทดลองครั้งที่ 2 และ 3 ในหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย เม็กซิโก เมื่อปี 2020
ผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนโนวาแวกซ์
- มีไข้ หรือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
- อ่อนเพลีย
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด
- บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ
ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม / vichaivej-nongkhaem.com