ตกลงฉันเป็นอะไร? งงไปหมด กังวลไปหมด ภูมิแพ้ VS ไข้หวัด VS ไข้หวัดใหญ่ VS โควิด-19 อาการแตกต่างกันอย่างไร??
ในสถานการณ์แพร่ะรบาดของเชื้อโควิด-19 เชื่อว่าหลายๆคนหันมาดูแลสุขภาพตัวเองมาขึ้น อีกทั้งขณะนี้เชื้อที่ระบาดอยู่ในประเทศนั้นคือเชื้อโอมิครอน เป็นเชื้อที่ระบาดง่าย ติดง่าย อีกทั้งเมื่อติดแล้วยังไม่ค่อยแสดงอาการ เป็นเหตุให้ผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายคนนั้นเป็นกังวลว่าตัวเองนั้นติดเชื้อหรือยัง แล้วอาการที่เป็นอยู่เรียกว่าติดโควิดหรือไม่??
วันนี้ ไบรท์ ทูเดย์(Bright today) จะพาทุกคนรู้จักอาการของ ภูมิแพ้ VS ไข้หวัด VS ไข้หวัดใหญ่ VS โควิด-19 ว่าแตกต่างกันอย่างไร อาการบ้างอย่างอาจจะคล้ายกัน จนหลายคนอาจจะแยกไม่ออก แต่วันนี้เรามาทำความเข้าใจ เพื่อลดความวิตกกังวลและเฝ้าระวังโรคแบบตระหนักรู้และไม่ตื่นตระหนกเกินไป

ภูมิแพ้
ในคนที่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว หากถามว่าเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าปกติหรือไม่ต้องบอกว่าไม่ได้มีความเสี่ยงมากกว่าปกติ แต่หากดูแลป้องกันตัวเองไม่ดีพอก็มีโอกาสติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ หลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ใช้ยาตามแพทย์สั่ง อาจล้างจมูก พ่นยาจมูก เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบได้
- จาม
- น้ำตาไหล
- คันตา
- คัน/คัดจมูก
- อาจมีน้ำมูกไหล
- เกิดผื่นแพ้ต่าง ๆ ได้
ไข้หวัด
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ มักพบในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ความรุนแรงของโรคไม่มาก และสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่วัน ติดต่อได้ทางน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ไอ จาม หรือมือที่เปื้อนเชื้อโรคสัมผัสจมูกหรือตา อาการของโรคมักเป็นไม่เกิน 2 – 5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนาน 10 – 14 วัน
- คัดจมูก
- น้ำมูกไหลลักษณะใส
- ไอมีเสหะ
- จาม
- เจ็บคอ
- เสียงแหบ
- อาจมีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะเล็กน้อย

ไข้หวัดใหญ่
เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบกันมานานแล้ว อาการมักจะไม่รุนแรง และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วไป อาการจะคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างมาก แต่ที่แตกต่างคือมักจะไม่มีอาการทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เมื่ออาการมีความคล้ายคลึงกัน ในระยะเริ่มต้นของอาการป่วยลักษณะนี้ เวลาที่ไปพบแพทย์
- มีไข้สูงติดกันหลายวัน
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ไอแห้ง ๆ
- จาม
- เจ็บคอ
- บางครั้งมีน้ำมูก
โควิด-19
บางคนอาจมีอาการรุนแรงไม่มาก มีลักษณะเหมือนไข้หวัดทั่วไป ขณะที่บางคนมีอาการรุนแรงมาก ทำให้เกิดปอดอักเสบได้ รูปแบบการรักษาเป็นไปตามอาการที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล
- ไข้
- รู้สึกเมื่อยล้า
- ไอแห้ง ๆ
- หายใจได้ลำบาก
- บางครั้งอาจมีอาการเจ็บคอ
ขอบคุณข้อมูล – โรงพยาบาลกรุงเทพ