คุณกำลัง ‘หมดไฟในการทำงาน’ หรือเปล่า? มาลองทำประเมินภาวะหมดไฟกัน!

คุณกำลังเป็นอยู่ใช่ไหม ‘หมดไฟในการทำงาน‘ รู้สึกทำงานไม่สนุกเหมือนเมื่อก่อน ตื่นเช้ามาก็ขี้เกียจ คุณอาจจะกำลังเป็น ภาวะหมดไฟจากการทำงาน หรือ Burnout Syndrome อยู่ก็ได้นะ

โดยในปัจจุบันภาวะคุกคามคุณภาพชีวิตของคนไทย อาจไม่ใช่เพียงแค่โรคทางกายเท่านั้น แต่สภาวะความผิดปกติทางจิตใจกำลังเป็นภัยเงียบที่คุกคามคนวัยทำงานยุคนี้ ล่าสุดภาวะนี้กำลังเป็นที่กล่าวถึงในโลกออนไลน์อย่างแพร่หลาย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะประชาชนคนทำงานรู้สึกถึงความเชื่อมโยงกับความรู้สึก “เหนื่อยล้าจากการทำงาน ไม่มีใจ หมดแรง และหมดไฟ” ที่กำลังเผชิญอยู่นั่นเอง

อาการของภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นอย่างไร?

แม้วันนี้เป็นวันแรกของสัปดาห์ แต่เขาเฝ้ารอว่าจะถึงวันหยุดเมื่อไหร่  ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา  เขารู้สึกเบื่อหน่ายการทำงาน โดยไม่รู้เหตุผลว่าเกิดจากอะไร  เขารู้เหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า ไม่อยากจะทำงานกับเพื่อนร่วมงาน และขาดแรงจูงใจในเกือบทุกวัน  และเฝ้ารอว่าเมื่อไหร่จะถึงวันหยุดสุดสัปดาห์เพื่อจะได้กลับบ้าน   เขาจะงีบหลับต่อหน้าผู้ร่วมงาน (เมื่อก่อนไม่เคยงีบหลับอย่างนี้มาก่อน)  เขารู้สึกเขาไม่มีเวลาที่จะทำงานที่ล้นมือ  สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงถึงอาการของภาวะหมดไฟอย่างชัดเจน

นิยามของ ภาวะหมดไฟในการทำงาน นิยามที่นิยมใช้ได้แก่

  1. ภาวการณ์อ่อนล้า ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์  ซึ่งเกิดจากการอยู่ในสถานการณ์ที่มีความกดดันต่ออารมณ์อย่างยาวนาน
  2. ภาวะของความอ่อนล้า หรือผิดหวัง อันเกิดจากผลของ วิถีการดำเนินชีวิต หรือสัมพันธ์กับการที่ไม่สามารถได้รับผลตอบแทนหรือรางวัลที่คาดหวังไว้

แม้ว่าภาวะหมดไฟในการทำงานจะไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์เหมือนเช่นโรคอื่นๆ แต่ก็สามารถทำได้ด้วยการใช้แบบสอบถาม “Burnout Self-Test” Burn Out Self Test ที่พัฒนาขึ้นโดย คริสติน่า มาสลัช (Christina Maslach) นักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกัน ซึ่งแบบสอบถามนี้ได้จัดแบ่งคำถามตามหัวข้อชี้วัดภาวะหมดไฟในการทำงานออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

  1. ความรู้สึกหมดเรี่ยวแรง เหนื่อยล้า พลังชีวิตหดหาย (Emotional Exhaustion)
  2. ความรู้สึกไม่อยากทำงาน หรือมีทัศนคติเชิงลบต่องานที่ทำ (Cynicism)
  3. ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง (Professional Efficacy)

คลิกที่นี่เพื่อทำแบบสอบถาม!

จะประเมินได้อย่างไรว่า มีภาวะหมดไฟจากการทำงาน?

หลังจากที่ทำแบบสอบถามด้วยตนเอง ซึ่งมีคำถามทั้งหมด 15 ข้อ โดยแต่ละข้อมีคะแนนตั้งแต่ 1-5 คะแนน (คะแนน 1 คือไม่มีเลย ส่วนคะแนน 5 คือ เกิดเป็นประจำ) เมื่อรวมคะแนนของแต่ละข้อจะสามารถแบ่งได้เป็น กลุ่มได้แก่

15-18: ไม่มีอาการของภาวะหมดไฟจากการทำงาน
19-32: มีอาการของภาวะหมดไฟจากการทำงานเล็กน้อย
33-49: มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะหมดไฟจากการทำงาน
50-59: มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะมีภาวะหมดไฟจากการทำงาน
60-75: มีความเสี่ยงอย่างรุนแรงที่จะมีภาวะหมดไฟจากการทำงาน

การแปรผลคะแนน (ไม่ต้องสนใจคะแนนรวมมากเกินไป แต่ให้ความสนใจในข้อที่ได้คะแนน 5 )

วิธีจัดการภาวะหมดไฟจากการทำงาน

  1. กำหนดเป้าประสงค์ในการทำงานที่ชัดเจน  จะทำให้เห็นความสำเร็จจากการทำงาน
  2. วิเคราะห์งาน (Job Analysis) และลำดับความสำคัญของงาน ทำให้สามารถลดการทำงานบางอย่างที่ไม่สำคัญหรือไม่จำเป็น การลด workload ทำให้สามารถจัดการภาวะหมดไฟได้
  3. เป็นผู้ให้ ไม่ใช่เป็นผู้รับอย่างเดียว ทำให้เกิดรู้สึกดีๆจากการให้
  4. การทำงานอย่างมีอิสระ (autonomy) ทำให้สามารถควบคุมการทำงานด้วยตัวของตัวเองได้
  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  6. เรียนรู้ในการจัดการความเครียด

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศ. ดร. นพ. พรชัย สิทธิศรัณย์กุล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า