ทำงานหนัก ปล่อยให้ ‘ร่างกายชัตดาวน์’ มีแต่เสียกับเสีย รีบปรับพฤติกรรมก่อนสายเกินแก้!

อย่าหาทำ! ทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ ปล่อยให้ ‘ร่างกายชัตดาวน์’ มีแต่เสียกับเสีย รีบปรับพฤติกรรมก่อนสายเกินแก้!

วัยทำงานอย่างเรา ๆ หลังจากผ่านการทำงานแบบ work form home กันมาอย่างยาวนาน จนทำให้เวลาการทำงานนั้นเสียสมดุลเกินไป บางคนก็ทำงานจนไม่รู้เวลา ทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ จากงานวิจัยพบว่า ในปัจจุบันผู้ใหญ่หรือวัยทำงานเกือบ 1 ใน 3 โดยเฉลี่ยนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง ทั้งที่ระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมสำหรับช่วงอายุ 18-64 ปี นั้นควรนอนวันละประมาณ 7-9 ชั่วโมง อีกทั้งการปล่อยให้ ร่างกายชัตดาวน์ บ่อย ๆ อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ อีกทั้งยังมีโรคอื่น ๆ ตามมาอีกเพียบ เช่น

ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากพฤติกรรมของคนทำงานส่วนใหญ่ ที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เป็นเวลานาน โดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง และกล้ามเนื้ออักเสบได้

ไมเกรน อาการปวดหัวข้างเดียว ปวดตุ้บ ๆ บางครั้งปวดมากจนไม่เป็นอันทำอะไร แถมมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย เกิดจากความเครียด ความวิตกกังวล ความตื่นเต้น ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีที่มีมาจากการโหม ทำงานหนัก ทั้งสิ้น

ภาวะอ้วน นั่งทำงานนาน ๆ ติดต่อกันวันละหลาย ๆ ชั่วโมง ทำให้ร่างกายเผาผลาญอาหารได้น้อยลง และอาจทำให้มีโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ 

สายตามีปัญหา นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานเกินไป อาจทำให้สายตามีปัญหา เช่น ตาแห้ง ปวดหัว คอ และไหล่ และอาจทำให้เห็นภาพเบลอ หากทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้ดวงตาเสื่อมสภาพเร็วกว่าวัยอันควร

กรดไหลย้อน เนื่องจากทำงานหนัก ทำให้ทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานอย่างเร่งรีบ รวมไปถึงการชอบทานเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของมัน ของทอด หรือน้ำอัดลม ล้วนทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้

เครียดลงกระเพาะ เมื่อเกิดความเครียด สมองจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ จนทำให้เกิดการระคายเคือง และส่งผลให้คุณเป็นโรคกระเพาะอาหารในที่สุด

man-unhappy-businesspeople-sitting-business-office
ขอบคุณภาพจาก : freepik

อย่างไรก็ตาม วันนี้ทีมงาน ไบรท์ ทูเดย์ (Bright Today) ก็มี เทคนิคการปรับพฤติกรรมสำหรับคนชอบทำงานหนัก มาฝากให้เพื่อน ๆ ได้อ่านและนำไปปรับใช้กันค่ะ

การปรับพฤติกรรมในการทำงานอาจเป็นเรื่องยากสำหรับหลายคนที่ทำงานหนักเป็นนิสัย จึงอาจเริ่มปรับที่ละน้อยโดยใช้วิธีการเหล่านี้

  1. จัดลำดับความสำคัญของงาน โดยจดบันทึกสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันลงในกระดาษโน้ตหรือโทรศัพท์มือถือที่สามารถเห็นได้ชัดเจน และเรียงลำดับการทำงานตามความสำคัญของงาน ซึ่งควรเริ่มทำงานที่เร่งด่วนและมีความสำคัญมากที่สุดก่อน
  2. แบ่งเวลาการทำงานและการใช้ชีวิตให้ชัดเจน เช่น ไม่ตรวจเช็กอีเมลหรือรับโทรศัพท์เรื่องงานหลังเวลาเลิกงานโดยไม่จำเป็น จะช่วยลดความเครียดจากการทำงานนอกเวลาและช่วยให้เราใช้เวลาพักผ่อนได้เต็มที่มากขึ้น
  3. กำหนดเวลาพักระหว่างการทำงาน การทำงานต่อเนื่องหลายชั่วโมงมักทำให้รู้สึกปวดเมื่อยและเหนื่อยล้า การลุกขึ้นเดินเปลี่ยนอิริยาบถ และออกไปรับประทานอาหารกลางวันข้างนอกแทนการรับประทานอาหารที่โต๊ะทำงาน จะช่วยให้กลับมาทำงานต่อได้กระปรี้กระเปร่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  4. ดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ใช้เวลาพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ เช่น ทำงานอดิเรกที่ชอบ ใช้เวลาอยู่กับคนในครอบครัว และนัดพบปะพูดคุยกับเพื่อน เป็นต้น
  5. ผ่อนคลายความเครียดด้วยกิจกรรมที่ชื่นชอบ อย่างการฝึกสมาธิ เล่นโยคะ และจดบันทึกความรู้สึกในแต่ละวัน 
  6. ควรงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน โดยเฉพาะช่วงก่อนนอน เพราะอาจทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น
  7. พูดคุยกับหัวหน้างานหรือฝ่ายบุคคลให้ชัดเจนเมื่อมีปัญหาในการทำงาน เช่น ได้รับมอบหมายงานจำนวนมากเกินไปหรือเนื้องานยากเกินความสามารถ ทำให้ไม่สามารถส่งงานตามกำหนดได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงานหรือองค์กร เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก POBPAD

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า