เล่นโทรศัพท์ สายตาไม่ดี ระวัง จอประสาทตาฉีกขาด ภัยอันตรายที่พบได้ทุกช่วงวัย

หากพบเส้นเลือดในดวงตาผิดปกติ การมองเห็นแย่ลง หรือเห็นเหมือนสายฟ้าแล่บ รีบหาแพทย์ เพราะอาจเสี่ยง จอประสาทตาฉีกขาด

“จอประสาทตาลอก จอตาลอก หรือ จอตาหลุดลอก (Retinal detachment) คือ ภาวะที่เกิดการแยกหรือลอกตัวของจอประสาทตาออกจากตำแหน่งเดิม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการมองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแล่บหรือแสงแฟลชถ่ายรูป และมีอาการมองเห็นจุดดำหรือเส้นสีดำๆ คล้ายเงาหยากไย่ลอยไปลอยมา ร่วมกับมีอาการตามัว”

ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า “โรคจอตาลอกเป็นโรคหนึ่งที่อาจทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร การสังเกตพบอาการและทำการรักษาในระยะเริ่มแรก จะช่วยลดโอกาสการสูญเสียได้ เมื่อมีจอตาลอกส่วนที่ลอกหลุดจะไม่สามารถรับภาพได้ทำให้เห็นเป็นส่วนมืดเหมือนม่านบังตา บางคนเห็นภาพบิดเบี้ยวมัวเป็นคลื่นเหมือนมองใต้น้ำ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา”

กลุ่มเสี่ยงอาการจอประสาทตาฉีกขาดและหลุดลอก

อาการจอประสาทตาฉีกขาดและหลุดลอก สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่ด้วยสาเหตุของโรคนี้ที่มักเกิดจากความเสื่อมตามวัย จึงทำให้พบได้บ่อยในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี.

ปัจจัยเสี่ยงของอาการจอประสาทตาฉีกขาดและหลุดลอก

  • อายุมากขึ้น
  • สายตาสั้นมาก
  • มีประวัติจอประสาทตาลอกมาแล้วข้างหนึ่ง หรือมีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะจอประสาทตาลอก
  • มีการติดเชื้อหรือการอักเสบภายในลูกตา
  • มีเนื้องอกหรือมะเร็งที่เกิดขึ้นภายในลูกตาหรือแพร่กระจายมาจากส่วนอื่น
  • เป็นเบาหวานที่มีโรคของจอประสาทตาแทรกซ้อน
  • เคยได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุที่ลูกตาอย่างรุนแรง หรือเคยได้รับการผ่าตัดภายในลูกตามาแล้ว เช่น การผ่าตัดต้อกระจก

อาการจอประสาทตาฉีกขาดและหลุดลอกที่สังเกตได้

  • มองเห็นผิดปกติ โดยไม่มีอาการเจ็บปวด ตาแดง หรือตาแฉะใดๆ
  • มองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแล่บ หรือแสงแฟลชถ่ายรูป ในตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างในขณะที่อยู่ในที่มือ
  • มองเห็นเป็นจุดดำ หรือเส้นดำๆ คล้ายเงาหยากไย่ ลอยไปมาในลูกตา
  • ตามัว คล้ายหมอกบัง หรือคล้ายเห็นเงาผ้าม่าน หรือเห็นภาพเป็นคลื่น คดงอ
  • หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาจะเริ่มรบกวนการมองเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ภายในเวลาไม่กี่วัน

วิธีรักษาอาการจอประสาทตาฉีกขาดและหลุดลอกที่สังเกตได้

  • เลเซอร์ หรือจี้เย็นเพื่อสร้างแผลเป็นทำให้จอตาส่วนนั้นแข็งแรง ป้องกันการหลุดลอก สำหรับผู้ป่วยที่จอประสาทตาฉีกขาดแต่ยังไม่มีการลอกหลุด
  • ผ่าตัด สำหรับผู้ที่จอประสาทตาฉีกขาดและลอกหลุดแล้ว ซึ่งมีเทคนิคการผ่าตัดหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะการลอกหลุดนั้นๆ
  • รักษาตามอาการ เช่น หากมีมะเร็งก็ต้องให้เคมีบำบัด หรือฉายแสง เป็นต้น

ข้อมูลจาก ศูนย์ตา ชั้น 2 อาคาร A โรงพยาบาลพญาไท 2,ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า