เพศศึกษา101 เชื้อ HPV ใส่ถุงยางก็ป้องกันไม่ได้ แต่วัคซีนป้องกันได้ มักไม่มีสัญญาณเตือน แต่สามารถนำไปสู่ โรคมะเร็งปากมดลูก ได้
หลายๆ คนคงคุ้นชื่อกับเชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papilloma Virus น่าจะเคยได้ยินกันมากบ้างใช่ไหมละ เนื่องจาก 2-3 ปีที่ผ่านมาได้เริ่มมีการรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูกให้กับผู้หญิงอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงผู้ชาย ก็เช่นกัน เพราะโรคนี้สามารถเกิดได้ทั้งชายและหญิง และสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็น ชาย-หญิง หญิง-หญิง หรือว่า ชาย-ชาย สามารถติดเชื้อ HPV ได้เช่นกัน ดังนั้นเราต้องป้องกันตัวเองเพื่อความปลอดภัยโดยการฉีดวัคซีน HPV นั้นเอง

วิธีการป้องกันเชื้อ HPV
วัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ควรฉีดในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 9-26 ปี หรืออาจขยายระยะเวลาได้ถึง 45 ปี ในผู้ชายก็ทำนองเดียวกัน เพราะเป็นวัยที่ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด และเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของวัคซีน HPV ควรได้รับวัคซีนในวัยที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน เพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพจากวัคซีนสูงสุด รวมไปถึงการได้รับวัคซีนอย่างต่อเนื่องจำนวน 3 เข็ม โดยเว้นระยะการฉีดคือ
- เข็มที่ 1 กำหนดวันได้เอง/วันที่ต้องการฉีด
- เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน
- เข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 1 ประมาณ 6 เดือน
ผู้ชายก็ฉีดวัคซีน HPV ได้
นอกจากมะเร็งปากมดลูกแล้ว เชื้อ HPV ยังเป็นสาเหตุของการเกิด หูดหงอนไก่ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งในช่องปากและคอได้ ซึ่งสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และการมีเพศสัมพันธ์ด้วยปาก การฉีดวัคซีนป้องกัน HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าว และที่สำคัญยังเป็นการป้องกันการเป็นพาหะนำเชื้อ HPV ไปสู่ผู้หญิงอีกด้วย
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็สามารถฉีดวัคซีนนี้ได้เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ HPV และควรที่จะรีบไปฉีดเพราะวัคซีนจะยิ่งเห็นผลดีถ้าหากไปฉีดตั้งแต่อายุยังน้อยๆ นั้นเอง และควรฉีดให้ครบทั้ง 3 เข็มตามที่แพทย์แนะนำ
แหล่งที่มา bangpakok3
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY