เคยไหม? กินข้าวปุ๊ป ปวดท้องเข้าห้องน้ำปั๊ป เสี่ยงโรคอะไรไหม มาเช็คกัน

เคยสงสัยบ้างหรือเปล่า ทำไมบางคนหลัง กินข้าวปุ๊ป ปวดท้องเข้าห้องน้ำปั๊ป หรือบางคนก็ขับถ่ายง่ายเกินไป มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วเสี่ยงเป็นโรคอะไรหรือไม่ วันนี้ ไบรท์ ทูเดย์ มีสาระดี ๆ มาให้ลูกเพจเช็คกัน

ปวดท้องขับถ่าย หลังกินอาหาร ถือเป็นเรื่องปกติไหม?

อาการ ปวดท้อง หลังกินอาหาร เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากร่างกาย หรือที่เรียกว่า Gastrocolic reflex ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช้ความผิดปกติหรือว่าเป็นโรคร้ายแรงอะไร Gastrocolic reflex เป็นการตอบสนองของร่างกาย เมื่อมีอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร ร่างกายก็จะปล่อยฮอร์โมน โดยจะมีการส่งสัญญาณทางเส้นประสาท ที่ทำให้ลำไส้ใหญ่หดตัว ซึ่งการหดตัวของลำไส้จะทำให้มีการขับของเสียที่เคยรับประทานเข้าไปก่อหน้านี้ออกมา เพื่อที่ร่างกายจะได้รับประทานอาหารใหม่เข้าไปได้มากขึ้น ซึ่งก็จะผ่านระบบการย่อยอาหาร ส่งผลให้เกิดความอยากขับถ่าย เราจึงเกิดอาหาร ปวดอึ นั่นเอง

การตอบสนอง Gastrocolic reflex ในแต่ละคนนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป บางคนการสะท้อนของ Gastrocolic นั้นไม่รุนแรง ทำให้ไม่มีอาการ แต่สำหรับคนอื่นๆ การสะท้อนกลับของระบบทางเดินอาหารนั้นรุนแรงและมีการกระตุ้นให้ ปวดอึ หลังกินอาหาร มีรุนแรงเป็นพิเศษ ทุกคนสามารถเจอการสะท้อนนี้ได้เหมือนกันแต่มากน้อย เร็วช้าต่างกัน บางคนเกิดเร็ว 15-30 นาที หลังเริ่มกินอาหาร บางคนเป็นชั่วโมง แต่สำหรับบางคนที่มีอาการปวดอึหลังกินข้าวจะเร็วมาก และอาจถ่ายเหลว ร่วมกับปวดบิดท้อง ท้องอืด ร่วมด้วย ภาวะนี้อาจเป็นอาการของโรคลำไส้แปรปรวน (IBS : Irritable ​bowel​ syndrome)​ ได้

อาการลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS))

สำหรับคนที่มีอาการ Gastrocolic reflex อาจมีการทำปฏิกิริยาร่วมกับอาการลำไส้แปรปรวน ก็ได้ ลำไส้แปรปรวนเป็นโรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในส่วนของลำไส้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากอาหารหรือความเครียด ผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวนอาจมีอาการความแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่แล้วคนที่มีอาการลำไส้แปรปรวนจะมีอาการต่างๆ เหล่านี้ ท้องอืด มีก๊าซในกระเพาะ มีอาการท้องผูก ท้องเสียหรืออาจจะมีทั้งสองอย่าง ปวดเกร็ง มีอาการปวดท้อง โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคที่บางคนก็อาจจะเป็นปีๆ บางคนอาจจะเป็นตลอดชีวิต โรคนี้ไม่ใช่สาเหตุของการเป็นมะเร็ง และไม่สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งได้

โรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory bowel disease; IBD)

หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว หากคุณพบสำไส้มีการเคลื่อนไหวบ่อยๆ นั้นอาจเป็นสาเหตุของการเป็นโรคลำไส้อักเสบ หรือ โรคโครห์น (Crohn’s Disease) ซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ใหญ่ ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองที่ทางเดินอาหารบวม ซึ่งโรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาการของโรคอาจแตกต่างและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ป้องกันการเกิด Gastrocolic reflex อย่างไรดี

เนื่องจาก Gastrocolic reflex เป็นปฏิกิริยาปกติของร่างกาย จึงไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาในทางเทคนิคใดๆ แต่สำหรับผู้ที่มีปฏิกิริยา Gastrocolic reflex ที่รุนแรงและเกิดการกระตุ้นให้ขับถ่ายอย่างรวดเร็วก็มีวิธีการง่ายๆ ที่อาจช่วยลดปฏิกิริยาดังกล่าวได้ ดังนี้

รักษาระบบทางเดินอาหารพื้นฐาน

หากมีปฏิกิริยาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหาร ที่มักกระตุ้นให้ขับถ่ายทันทีหลังรับประทานอาหาร ซึ่งบางคนอาจมีอาการที่รุนแรงแตกต่างกันออกไป ควรเข้ารับการรักษาเพื่อวินิจฉัยสุขภาพพื้นฐาน คุณหมออาจมีการรักษาที่ช่วยลดความเข้มข้นของปฏิกิริยาของ Gastrocolic reflex ได้

ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร

อาหารบางชนิดที่เรารับประทานมีแนวโน้ม ในการเกิดปฏิกิริยา Gastrocolic reflex มากกว่าอาหารประเภทอื่นๆ อาหารบางชนิดอาจทำให้เกิดการตอบสนองต่อการ กระตุ้นระบบทางเดินอาหาร เช่น

  • อาหารที่มีไขมัน
  • ผลิตภัณฑ์นม
  • อาหารที่มีเส้นใยสูง

การจดบันทึกการกิน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยระบุได้ว่าอาหารชนิดใดที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นระบบทางเดินอาหารของเรา ซึ่งควรบันทึกถึงอาหารที่คนกิน รวมถึงการตอบสนองต่อการย่อยอาหารด้วย การบันทึกการกินจะทำให้เราเห็นว่าอาหารใดที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อให้อาการดีขึ้น

จัดการกับความเครียด

การเกิดปฏิกิริยา Gastrocolic reflex มีสาเหตุมาได้ทั้งจากความเครียดและอาหาร สำหรับบางคน ความเครียด สามารถเพิ่มความเข้มข้นของปฏิกิริยา Gastrocolic reflex ได้ ดังนั้นสำหรับใครที่มีสาเหตุมาจากความเครียดต้องทำกิจกรรมเพื่อช่วยลดความเครียด เช่น การออกกำลังกาย

ที่มา: hellokhunmor

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า