เคยไหม? ตากระตุก ตาเขม่น เป็นแค่ลางร้าย หรือเป็นปัญหาสุขภาพ?

อาการ ตากระตุก ตาเขม่น หลายคนอาจคิดว่าเป็นลางบอกเหตุ แต่ที่จริงแล่ว อาการตากระตุก อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าสุขภาพของคุณกำลังมีปัญหาซึ่งคุณไม่ควรละเลย

ตากระตุกคืออะไร?
ตากระตุก หรือ หนังตากระตุก (eyelid twitch) ที่หลายคนเรียก “ตาเขม่น” นั้น ทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อหนังตากระตุก (Blepharospasm) เกิดจากการส่งกระแสประสาทมาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อออบิคูลารีสออรีส (orbicularis oris muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เรียงอยู่รอบเปลือกตาหรือหนังตาบนและล่างมากเกินไป ทำให้เปลือกตากระตุกเองแบบไม่สามารถควบคุมได้ มักเกิดกับเปลือกตาบน และเป็นที่ตาข้างเดียว โดยเปลือกตาจะกระตุกยิบๆ ต่อเนื่องเป็นพักๆ ส่วนใหญ่จะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่บางคนอาจมีอาการยาวนานเป็นปี

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะ ตากระตุก อาการตากระตุกส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากปัญหาสุขภาพร้ายแรง และมักมาจากสิ่งกระตุ้นเหล่านี้

  • ความเครียดและความวิตกกังวล
  • ความเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย
  • อาการตาล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการตาล้าที่เกิดจากการจ้องหน้าจอเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นเวลานาน
  • สภาพแวดล้อม เช่น ลม แสงสว่าง แสงแดด มลภาวะทางอากาศ
  • การอดนอน
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำอัดลม
  • อาการภูมิแพ้ขึ้นตา
  • การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม วิตามินบี 12 วิตามินดี
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคลมชัก ยารักษาอาการวิกลจริต

แต่หากตาของคุณกระตุกไม่หายและมีอาการอื่นร่วมด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมีปัญหาสุขภาพ ดังนี้

ปัญหาสุขภาพตา เช่น

  • เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis)
  • กระจกตาถลอก (Corneal abrasion)
  • ภาวะตาแห้ง
  • ภาวะหนังตาม้วนเข้าใน
  • โรคต้อหิน

ความผิดปกติทางระบบประสาทและสมอง เช่น

  • ภาวะกล้ามเนื้อคอเกร็งตัว
  • ภาวะกล้ามเนื้อเต้นกระตุกชนิดธรรมดา (Benign Fasciculation Syndrome / BFS)
  • ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งกระตุก (dystonia)
  • โรคอัมพาตใบหน้า
  • โรคปลอกประสาทอักเสบชนิดเอ็มเอส (multiple sclerosis / MS)
  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส (Amyotrophic Lateral Sclerosis / ALS) หรือที่เรียกว่า โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม (Motor neurone disease / MND)

ทำอย่างไรตาจึงจะหายกระตุก? ตากระตุกส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 2-3 วัน หรือบางรายอาจใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ แต่หากทำตามคำแนะนำเหล่านี้อาจช่วยให้อาการตากระตุกของคุณดีขึ้นได้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ประคบตาด้วยผ้าอุ่นเพื่อบรรเทาอาการตาล้า
  • ทำกิจกรรมคลายเครียด เช่น เล่นโยคะ ฟังเพลง นั่งสมาธิ ฝึกควบคุมลมหายใจ ใช้เวลากับเพื่อน หรือสัตว์เลี้ยง
  • ลดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ชอกโกแลต น้ำอัดลม รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ด้วย
  • หากต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ ควรใช้กฎ 20-20-20 นั่นคือ จ้องหน้าจอ 20 นาที มองไปที่ไกลๆ อย่างน้อย 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาทีหรือนานกว่านั้น
  • หยอดน้ำตาเทียมหรือยาหยอดตาเพื่อให้ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ
  • หากคุณสงสัยว่าอาการตากระตุกที่เกิดขึ้นเป็นเพราะยาบางชนิดที่กินอยู่ ไม่ควรหยุดยาเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • อย่ากังวลเกินเหตุ เพราะภาวะตากระตุกส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายและหายได้เอง หากกังวลมากไปอาจทำให้อาการยิ่งแย่ลง

ที่มา : hellokhunmor

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า