โดนมีดบาด แผลไฟไหม้ แมลงสัตว์กัดต่อย เช็กอาการเลย! บาดทะยัก โรคติดเชื้ออันตรายที่ควรระวัง ถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการอะไรบ้าง
ใครที่เป็นแผลบริเวณแขน ขา หรือลำตัว แผลจากของมีคม อย่างเช่น เสี้ยน การเจาะตามส่วนต่างๆของร่างกาย หรือการสัก แผลจากการโดนยิง กระดูกหักแผลปิด แผลไฟไหม้ เป็นต้น ควรระวังไว้ เพราะอาจเสี่ยงติดเชื้อบาดทะยัก หลายๆ คนคงคิดว่าเคยฉีดบาดทะยักตอนเด็กไม่เป็นหรอ บอกเลยว่ายังมีโอกาสติดเชื้อได้อยู่ เพราะว่าภูมิต้านทานที่เรามีในร่างกายอาจจะน้อยเกินไป แล้ว อากาจากการติดเชื้อบาดทะยักมีอะไรบ้าง มาดูเลย!

สาเหตุโรคบาดทะยัก
สาเหตุของบาดทะยักเกิดจากสารพิษที่พบในสปอร์ของแบคทีเรียที่เรียกว่า Clostridium tetani แบคทีเรียเหล่านี้สามารถพบได้ในดิน ฝุ่น และมูลสัตว์ เมื่อสปอร์เหล่านี้เข้าไปในบาดแผลที่มีความลึก จะเติบโตกลายเป็นสารพิษที่ส่งผลทำให้เส้นประสาทเกิดการเสื่อม และยังส่งผลต่อเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดอาการตึงและการกระตุก บาดทะยักไม่ใช่โรคติดต่อ บาดทะยักมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยักหรือไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันทุกๆ 10 ปี
ลักษณะอาการโรคบาดทะยัก
หลังจากที่แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล โรคบาดทะยักจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่สองสามวันแรกและอาจกินระยะเวลาหลายสัปดาห์ ระยะฟักตัวของบาดทะยักจะใช้เวลาประมาณ 7 ถึง 10 วัน อาการทั่วไปของบาดทะยักมีดังนี้
- ภาวะกรามติด
- กล้ามเนื้อคอแข็ง
- ปัญหาการกลืน
- กล้ามเนื้อท้องแข็ง
- การกระตุกของกล้ามเนื้อในร่างกายที่สร้างความเจ็บปวดและกินเวลาหลายนาที การกระตุกของกล้ามเนื้อจะถูกกระตุ้นด้วยการกระตุก เสียงดัง การสัมผัส หรือแสงจ้า
- เหงื่อออก
- ความดันโลหิตสูง
- หัวใจเต้นเร็ว
อาการที่ควรพบแพทย์
- หากมีอาการบาดทะยักดังกล่าว
- หากมีแผลลึกที่เปื้อนดิน เปื้อนมูลสัตว์ หรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ มีบาดแผลตามร่างกายแล้วรู้สึกกังวลใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีแผลลึกบริเวณใต้เท้า ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลติดเชื้อได้
- หากยังไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักจนครบ หรือไม่แน่ใจว่าตนเองฉีดวัคซีนแล้วหรือยัง
- หากฉีดวัคซีนกันบาดทะยักครั้งล่าสุดเมื่อ 5 ปีมาแล้ว
- หากเข้ารับการฉีดวัคซีนกระตุ้นเพื่อป้องกันบาดทะยักและคอตีบนานเกินกว่า 10 ปีมาแล้ว
3 ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อบาดทะยัก
- กระดูกแตก หากการกระตุกของกล้ามเนื้อมีความรุนแรงอาจส่งผลให้กระดูกสันหลังหรือกระดูกส่วนอื่นๆ เกิดการแตกได้
- โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด เลือดที่ไหลมาจากส่วนต่างๆของร่างกายอาจเกิดการอุดตัน ทำให้เกิดการอุดตันกับหลอดเลือดในปอด
- การเสียชีวิตการติดเชื้อขั้นรุนแรงจากอาการกล้ามเนื้อกระตุกทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลวซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโรคบาดทะยัก นอกจากนี้อาจทำให้เกิดการขาดออกซิเจนซึ่งนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด สาเหตุอีกประการของการเสียชีวิตจากบาดทะยักอีกประการคือโรคปอดอักเสบ
วิธีการป้องกันเชื้อบาดทะยัก
โรคบาดทะยัก แม้จะเป็นโรคอันตราย แต่ก็สามารถป้องกันบาดทะยักได้ โดยวิธีที่ช่วยป้องกันโรคบาดทะยักได้ดีที่สุด คือ เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักให้ครบ ซึ่งควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก คอตีบ และไอกรนชนิด DTaP 4 ครั้ง ก่อนอายุครบ 2 ปี และฉีดอีกครั้งเมื่อมีอายุระหว่าง 4-6 ปี รวมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก คอตีบ และไอกรนชนิด Tdap กระตุ้นอีกครั้งเมื่อมีอายุ 11-12 ปี หรืออาจฉีดหลังจากนั้นก็ได้ ทั้งนี้ ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นเพื่อป้องกันบาดทะยักและคอตีบทุก ๆ 10 ปีด้วยเช่นกัน
แหล่งที่มา bangpakok3 และ medparkhospital
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY