เช็กด่วน! 14 โรคควรระวัง เวลาเดินทางไปต่างประเทศ-นั่งเครื่องบินนาน

เตือน 14 โรคควรระวัง! คนที่ชอบเที่ยว ชอบเดินทาง ไป ต่างประเทศ-นั่งเครื่องบินเป็นเวลานาน และวิธีการเตรียมตัวก่อนขึ้นเครื่อง

ช่วงนี้จะเห็นได้ว่าการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักแล้ว หลายๆ คนก็คงวางแผน วางทริป กันไว้แล้วใช่ไหม ซึ่งก่อนเดินทางต้องเราก็อย่าลืมนึกถึงสุขภาพกันด้วย วันนี้จึงมาเตือน 14 โรคควรระวัง! คนที่ชอบเที่ยว ชอบเดินทางไปต่างประเทศ-นั่งเครื่องบินเป็นเวลานาน และวิธีการเตรียมตัวก่อนขึ้นเครื่อง

plane-flies-white-paper-map-world-travel-background-travel-wanderlust-concept-3d-illustration-rendering

14 โรคที่ควรระวังเมื่อต้องเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นเวลานาน

  1. โรคหัวใจ 
    ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary heart disease)  หรือโรคหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) ควรตรวจร่างกาย โดยไม่มีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย หรือไม่มีหัวใจเต้นผิดปกติ อย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนโดยสารเครื่องบิน  หากมีความจำเป็นสามารถเดินทางหลังมีอาการ 2-3 สัปดาห์  แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และต้องแจ้งสายการบิน เพื่อเตรียมเครื่องมือในกรณีจำเป็น
     
  2. ผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass grafting)
    เนื่องจากการผ่าตัดอาจเกิดอากาศในโพรงช่องหน้าอก จึงควรรอให้อากาศถูกดูดซึมไปหมดก่อน หรือภายใน 2 สัปดาห์ภายหลังผ่าตัด  และควรเตรียมยาไว้ในกระเป๋าถือขึ้นเครื่อง ให้เพียงพอในการเดินทาง  ทั้งนี้ควรเขียนรายละอียดและวิธีใช้ยาแต่ละชนิดเก็บไว้เผื่อจำเป็นต้องซื้อใหม่ กรณียาสูญหาย
     
  3. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
    ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง สามารถขึ้นเครื่องบินได้ โดยควบคุมความดันโลหิตด้วยการรับประทานยา และควรเตรียมยาให้พร้อมและเพียงพอกับระยะเวลาเดินทาง
     
  4. โรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous thrombosis)
    แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Deep Vein Thrombosis) มักเกิดขึ้นบริเวณขา และภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary Embolism) เกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดที่อุดกั้นหลุดไปตามกระแสเลือดและไปอุดตันบริเวณหลอดเลือดดำในปอด ซึ่งผู้โดยสารเครื่องบินมักประสบปัญหา ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำภายในกล้ามเนื้อน่อง การศึกษาของ WHO พบว่าความเสี่ยงของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ เพิ่มขึ้น 2 ถึง 3 เท่าหลังจากโดยสารเที่ยวบินระยะไกลนานกว่า 4 ชั่วโมง
     
  5. โรคหืด (Asthma)
    กรณีอาการรุนแรงไม่สามารถควบคุม หรือเพิ่งออกจากโรงพยาบาล  ควรงดการเดินทางด้วยเครื่องบิน  หากอาการไม่รุนแรงควรมียาติดตัวขึ้นเครื่องไปด้วยโดยเฉพาะยาชนิดพ่น
     
  6. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease)
    ผู้ป่วยมักมีอาการเมื่ออยู่ในภาวะพร่องออกซิเจน  ดังนั้นจึงควรพกยาขยายหลอดลม และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่อเตรียมอุปกรณ์กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
     
  7. โรคลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax) คือภาวะที่มีลมค้างในช่องเยื่อหุ้มปอด
    ส่งผลให้กระบวนการหายใจผิดปกติ หากมีความจำเป็นต้องเดินทางด้วยเครื่องบิน  ควรพบแพทย์เพื่อใส่ท่อระบายลมออกจากปอด หลังจากนั้นต้องรอให้ปอดขยายตัวเต็มที่อย่างน้อย 7 วัน โดยการเอกซเรย์ปอด หรือ คอมพิวเตอร์เอกซเรย์ ก่อนเดินทาง
     
  8. โรคติดเชื้อ (Infectious disease)
    สามารถแพร่เชื้อหรือติดต่อไปยังผู้อื่น ห้ามเดินทางโดยเครื่องบิน  เนื่องจากการแพร่เชื้ออาจเกิดขึ้นระหว่างผู้โดยสารที่นั่งอยู่ในพื้นที่เดียวกันของเครื่องบิน ซึ่งมักเกิดจากการไอหรือจามของบุคคลที่ติดเชื้อหรือโดยการสัมผัส  เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ ผู้ป่วยควรชะลอการเดินทางจนกว่าจะหายดี
     
  9. โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease)
    ภาวะต่างๆ ที่ส่งผลต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้แก่  ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient ischemic attack) ภาวะเลือดออกในสมอง (Intracerebral hemorrhage) และภาวะหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก (Stroke) ซึ่งส่งผลให้เซลล์สมองได้รับออกซิเจนน้อยลง เมื่อขึ้นเครื่องบินซึ่งมีภาวะพร่องออกซิเจน อาจส่งผลให้อาการกำเริบ ดังนั้นก่อนเดินทางควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรับยา รวมถึงข้อควรปฏิบัติขณะอยู่บนเครื่องบิน โดยอาการต้องคงที่อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเดินทาง
     
  10. โรคลมชัก (Epilepsy)
    โรคลมชัก มีโอกาสชักได้ง่ายขึ้นในภาวะพร่องออกซิเจน เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย วิตกกังวล และการเปลี่ยนแปลงของเวลา ควรพบแพทย์เพื่อเตรียมยาหรืออาจเพิ่มขนาดของยา ขึ้นกับความสามารถในการควบคุมโรค และไม่ควรเดินทางหลังจากชักหมดสติ อย่างน้อย 1 สัปดาห์
     
  11. โรคโลหิตจาง (Anemia)
    ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ทำให้นำออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ได้น้อยลง  ซึ่งเสี่ยงอันตรายจากภาวะพร่องออกซิเจนบนเครื่องบิน กรณีมีความเข้มข้ของฮีโมโกลบินต่ำกว่า 10 กรัม/เดซิลิตร ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และไม่ควรขึ้นเครื่องบินหากค่าฮีโมโกลบินน้อยกว่า 7.5 กรัม/เดซิลิตร
     
  12. โรคเบาหวาน (Diabetes)
    แม้สภาพภายในห้องโดยสารเครื่องบินจะไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน แต่การบินข้ามเวลา อาจทำให้ผู้ป่วยสับสนในการรับประทานอาหารและยา  รวมถึงประเภทของอาหารที่อาจส่งผลกระทบต่อโรค ผู้ป่วยควรติดต่อขอให้สายการบินจัดเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และนำยาติดตัวขึ้นเครื่องบิน ทั้งยารับประทาน และยาฉีด พร้อมอุปกรณ์ สำหรับการรับประทานยาให้ยึดเวลาต้นทาง แล้วค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเวลาใหม่
     
  13. โรคทางจิตเวช (Psychiatric disorders)
    ก่อนเดินทางด้วยเครื่องบินต้องได้รับคำรับรองจากแพทย์ผู้ทำการรักษาว่าอาการสงบ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้โดยสารอื่น ๆ  แพทย์อาจสั่งยาระงับประสาทหรือยานอนหลับ สำหรับใช้ระหว่างการเดินทาง
     
  14. ผู้ป่วยผ่าตัด
    การผ่าตัดหรือการบาดเจ็บที่อาจมีอากาศหรือก๊าซหลงเหลืออยู่  เช่น การผ่าตัดช่องท้องและทางเดินอาหาร การผ่าตัดกะโหลกศีรษะและใบหน้า รวมถึงการผ่าตัดตาที่เกี่ยวข้องกับลูกตา ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่านการผ่าตัด ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษา ว่าควรรอนานแค่ไหนก่อนที่จะเดินทางด้วยเครื่องบิน 

การเตรียมตัวก่อนขึ้นเครื่องบินระยะไกล

  • พักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนวันเดินทาง  และหาโอกาสพักผ่อนระหว่างเที่ยวบินโดยการงีบสั้นๆ (น้อยกว่า 40 นาที) ก็ช่วยได้
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  
  • เลือกระยะเวลาการเดินทางที่เหมาะสม เช่น กรณีที่ใช้เวลาเดินทางนานกว่า 12 ชั่วโมง ควรเลือกใช้เที่ยวบินต่อ เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับเวลา รวมถึงได้ออกไปยืดเส้นยืดสาย และผ่อนคลาย
  • เลือกเที่ยวบินที่สอดคล้องกับเวลานอน
  • เตรียมสิ่งของจำเป็นระหว่างเดินทางติดตัว โดยเฉพาะยารักษาโรคให้เพียงพอกับระยะเวลาบนเครื่องบิน
  • สวมเสื้อผ้าที่สบาย ไม่อึดอัด ขณะอยู่บนเครื่องบิน รวมถึงเตรียมชุดที่เหมาะกับสภาพอากาศปลายทาง
  • ตรวจเช็กสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ  หากมีโรคประจำตัวควรพบแพทย์เพื่อปรึกษา เพื่อเตรียมร่างกาย ยา และข้อควรปฏิบัติกรณีอาการกำเริบ หรือมีเหตุฉุกเฉิน
  • องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ลุกขึ้นเดินไปรอบๆ ห้องโดยสารหรือไปเข้าห้องน้ำทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ในระหว่างเที่ยวบินยาวๆ เพื่อลดภาวะภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำที่ขา  รวมถึงแนะนำว่าไม่ควรวางกระเป๋าถือไว้ในที่ที่จำกัดการเคลื่อนไหวของขาและเท้า  
  • กรณีมีภาวะเมาอากาศ  ควรขอที่นั่งตรงกลางห้องโดยสารและเก็บกระเป๋าที่มีอุปกรณ์แก้เมา เช่น ยารับประทาน ยาดม ไว้ในที่ที่หยิบได้ง่าย หรือ เก็บไว้ในแต่ละที่นั่งซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่าย  
  • รับประทานอาหารว่างแต่น้อย และจำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหนัก 4-6 ชั่วโมง ก่อนการนอนหลับบนเครื่องบิน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากถึงปลายทาง การนอนหลับอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้นาฬิกาภายในของร่างกายปรับให้เข้ากับเขตเวลาใหม่  

การเตรียมตัวขึ้นเครื่องบินระยะไกลสำหรับผู้ป่วย

  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรพบแพทย์ก่อนเดินทาง  และเตรียมยาประจำตัวพกพาในกระเป๋าที่ถือขึ้นเครื่องบิน กรณี  ใช้ข้อเทียม ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือต้องมีเครื่องมือแพทย์ขึ้นเครื่อง ต้องมีใบรับรองแพทย์ติดตัว
  • ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาตามตารางเวลาที่เข้มงวด เช่น อินซูลินหรือยาคุมกำเนิด ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ ก่อนการเดินทาง
  • ผู้พิการที่ต้องได้รับความช่วยเหลือระหว่างอยู่บนเครื่องควรมีผู้ร่วมเดินทางด้วย และแจ้งต่อสายการบินล่วงหน้า
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาที่มีอาการคงที่ หรืออาจมีอาการทรุดลงระหว่างเดินทางต้องยื่นเอกสารขออนุมัติการเดินทางกับสายการบิน (MEDIF หรือ Medical Information Form) ก่อนจองที่นั่ง และควรระบุปริมาณออกซิเจนที่ต้องใช้บนเครื่องบิน รวมถึงหากต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลืออื่นๆ   
  • เด็กแรกเกิดอายุต่ำกว่า 7 วัน และเด็กคลอดก่อนกำหนดต้องยื่น MEDIF เพื่อขออนุมัติการเดินทาง
  • สตรีมีครรภ์ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ  อายุครรภ์เกิน 28  สัปดาห์ต้องมีใบรับรองแพทย์บอกกำหนดการคลอด และรับรองความปลอดภัยในการเดิน และไม่ได้รับการอนุมัติให้ขึ้นเครื่องบินเมื่ออายุครรภ์เกิน 36 สัปดาห์ 

แหล่งที่มา สมิติเวช

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

“บิ๊กโจ๊ก” ยันปลดป้ายชื่อไม่ใช่ฝีมือลูกน้อง ลั่นใครทำก็รับกรรมไป!?

“บิ๊กโจ๊ก” ยันลูกน้องไม่ได้ปลดป้ายชื่อหน้าห้องทำงาน ยอมรับคิดเรื่องสมัคร สว.เพราะจะได้ทำงานเพื่อประชาชนระหว่างถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน

อ.น้องไนซ์มาแล้ว! เตรียมยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อนายกรัฐมนตรี ​29 เม.ย.​นี้

เอาจริง! อ.น้องไนซ์ เตรียมยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อนายกรัฐมนตรี เอาผิดสื่อมวลชล นำเสนอข่าวเท็จ เป็นการทำให้สังคมแตกแยก 29 เมษายนนี้?

ระทึก! รถทัวร์ 2 ชั้นนำเที่ยว เสียหลักพลิกคว่ำ ทำผู้โดยสารดับ 1 เจ็บ 28 ราย

รถทัวร์ 2 ชั้นนำเที่ยว คณะหนุ่มสาวโรงงานจากอยุธยา เกิดอุบัติเหตุ เสียหลักพุ่งข้ามแบริเออร์พลิกคว่ำทางลงเขา ทำผู้โดยสารดับ 1 เจ็บ 28 ราย

สลด! แท็กซี่เมาขับรถพุ่งชน รตต.รอง สว.จร.บางเขน เสียชีวิต ขณะปฎิบัติหน้าที่

รวบตัวคนแท็กซี่เมาแล้วขับ ชน รตต.รอง สว.จร.บางเขน เสียชีวิต ขณะปฎิบัติหน้าที่ บมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 287 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

อินฟลูฯ ดัง ฟาดช็อตเด็ด นุ่งบิกินีลายเสือ แซ่บซี๊ดปาก ถูกใจแฟนคลับ

อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง ไม่ทิ้งลายความแซ่บ ออกมาฟาดช็อตเด็ดปาเซตบิกินีลายเสือ ความเผ็ดคูณร้อย เซ็กซี่ถูกใจแฟนคลับ

หนูรัตน์ เอาจริง! เข้าฟิตเนส ปั้นหุ่นแซ่บเซี๊ยะ ตั้งเป้าลดเอวเหลือ 20 นิ้ว

ชาวเน็ตแซว หนูรัตน์ เข้าฟิตเนสออกกำลังกาย ปั้นหุ่นสวยแซ่บเชี๊ยะ พร้อมตั้งเป้าหมายอยากกลับไปมีเอว 19-20 นิ้ว แฟนๆ ให้เชียร์เต็มที่
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า