“ฟันคุด” ปล่อยไว้นาน อันตรายกว่าที่คิด อย่ารอช้าหาหมอฟันด่วน!

รู้หรือไม่? “ฟันคุด” ปล่อยไว้นาน อันตรายกว่าที่คิด อย่ารอช้าหาหมอฟันด่วน ก่อนจะเสียฟันไปทั้งปาก!

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงต้องประสบปัญหาปวดฟันแน่นอน และส่วนใหญ่ฟันที่ปวดบ่อย ๆ ก็จะเป็นเจ้า “ฟันคุด” นั้นเอง โดยฟันคุด เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพฟันที่พบบ่อย ใครที่มีฟันคุด ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการถอนหรือผ่าฟันคุดออก เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันต่าง ๆ ตามมาได้

ฟันคุด คืออะไร เกิดจากอะไร?

ฟันคุด คือฟันที่ไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกออกมาเรียงตัวกับฟันซี่อื่นๆ ได้ตามปกติ หรืออาจโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน โดยมักพบบริเวณฟันกรามแท้ซี่ที่สามล่าง (Lower third molar) ฟันกรามซี่สุดท้าย ฟันกรามน้อย หรือฟันเขี้ยว

ผู้ที่มีฟันคุดอาจมีจำนวนฟันคุดตั้งแต่ 1 ซี่ขึ้นไป และมักไม่รู้ตัวว่ามีฟันคุด จนกว่าฟันคุดจะโผล่ออกมาพ้นเหงือก หรือมีอาการปวดฟันมาก แล้วเมื่อไปพบทันตแพทย์ก็ตรวจพบเจอผ่านการเอกซเรย์

การเกิดฟันคุดมาจากมีฟัน เนื้อเยื่อ หรือกระดูกปิดขวางการงอกของฟันอยู่ จนทำให้ฟันไม่สามารถเติบโตพ้นเหงือกออกมาได้ แล้วกลายเป็นฟันคุดนั่นเอง

ผลกระทบจากฟันคุดต่อสุขภาพฟัน เป็นอย่างไร?

หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้างว่าถอนหรือผ่าฟันคุดนั้นทำให้เกิดความเจ็บปวด อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจพบว่ามีฟันคุดก็ควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อถอนหรือผ่าตัดฟันคุดออก เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายได้ เช่น

uneasy-bothered-asian-guy-complaining-painful-feeling-touching-cheek-having-toothache-need-go-stomatology-clinic-having-appointment-waiting-painkillers-standing-white-background
  • ส่งผลให้เหงือกบริเวณนั้นอักเสบ บวมแดง และหากไม่รักษาก็จะเกิดหนองขึ้นในที่สุด
  • เกิดฟันซ้อนเกจากการที่ฟันคุดไปดันฟันซี่ข้างเคียง หรือกดบนเส้นประสาทที่อยู่ในขากรรไกรล่าง
  • เกิดถุงน้ำรอบฟันคุด ซึ่งจะทำให้ฟันเคลื่อนผิดไปจากตำแหน่งเเดิม และละลายกระดูกอ่อนรอบฟันที่อาจเป็นอันตรายต่อฟันและเหงือกรอบๆ จนทำให้ฟันผุได้
  • เกิดกลิ่นปาก จากการที่ฟันคุดซี่สุดท้ายขึ้นไปชนกับฟันกรามที่ติดกันทำให้เศษอาหารมาติด กลายเป็นซอกที่ทำความสะอาดได้ยาก

นอกจากผลกระทบดังกล่าวแล้ว การที่ฟันคุดไม่โผล่พ้นเหงือกโดยสมบูรณ์ยังทำให้เกิดการหมักหมมของเศษอาหารและเชื้อโรคจนเกิดคราบจุลินทรีย์ ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น

  • ฟันผุ
  • โรคเหงือกหรือโรคปริทันต์อักเสบ
  • เหงือกคลุมฟันอักเสบ
  • เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ
  • ฝีที่ฟัน
  • ซีสต์และเนื้องอก

เพราะฉะนั้น อย่ารอช้าที่จะไปพบทันตแพทย์ เพื่อสุขภาพฟันที่ดีนะคะ

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า