โลกเริ่มอยู่ยากขึ้นอีกแล้วค่ะ ชีวิตประจำวันของเราดูเหมือนจะมีสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เข้ามาให้พบเจอมากขึ้นทุกที ล่าสุด ทีมนักวิจัยฝั่งยุโรปได้ตรวจพบว่าอุจจาระของทีมงาน 8 คน มี ไมโครพลาสติก (Microplastics) ปนเปื้อนอยู่!! มีได้อย่างไร อันตรายแค่ไหน ไบรท์ออนไลน์มีรายละเอียดของข่าวนี้มาบอกกันค่ะ

 

ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนนะคะว่าเจ้า ‘ไมโครพลาสติก’ คือ ชิ้นส่วนพลาสติกที่มีขนาดเล็กมากๆ (ประมาณ 1 นาโนเมตร) เทียบเท่าได้กับไวรัสจนถึงไข่มด มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าประเภทเครื่องสำอาง รวมถึงของใช้ส่วนตัวเริ่มที่มีการนำเอาไมโครบีดส์ (Microbeads) มาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ ต่อมามีการพบว่าไมโครบีดส์นี้หลุดลอดไปจากขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียจนไปปนเปื้อนอยู่ในแม่น้ำ ทะเล และแหล่งน้ำต่างๆ ทำให้ตอนนี้ไมโครพลาสติกเหล่านี้เริ่มส่งผลต่อระบบนิเวศน์แล้ว

แต่… ข่าวที่ ‘ไบรท์ออนไลน์’ นำมาแจ้งนี้ต้องบอกว่า เป็นครั้งแรกเลยค่ะที่มีการค้นพบ Microplastics ในร่างกายมนุษย์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเจ้าอนุภาคขนาดเล็กชนิดนี้อาจกำลังแพร่กระจายอยู่ในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์เราแล้วก็เป็นได้!!!

การค้นพบครั้งนี้เกิดจาก หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศออสเตรีย ได้ทำการศึกษาเล็กๆ สุ่มตรวจอุจจาระของทีมงานจำนวน 8 คน จากญี่ปุ่น รัสเซีย และประเทศในยุโรป พบว่า ตัวอย่างอุจจาระของทั้ง 8 คน มีไมโครพลาสติกซึ่งเป็นพลาสติกที่แตกต่างกัน 9 จาก 10 ชนิดปนเปื้อนอยู่ โดยยังไม่ทราบแหล่งที่มาของพลาสติกแน่ชัด แต่พบว่าทั้ง 8 คนมีโอกาสสัมผัสกับพลาสติกผ่านการกินอาหารที่ห่อด้วยภาชนะพลาสติก หรือการดื่มน้ำจากขวดพลาสติก ซึ่งมีจำนวน 6 คนในกลุ่มนี้ที่กินปลาทะเล และไม่มีใครเป็นมังสวิรัติ

 

‘Philipp Schwabl’ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทางการแพทย์แห่งเวียนนา หัวหน้าทีมศึกษาเคสนี้ กล่าวว่า นับเป็นการศึกษาครั้งแรกที่ยืนยันข้อสงสัยซึ่งมีมานานแล้วว่าไมโครพลาสติกสามารถเข้าถึงลำไส้ของมนุษย์ได้หรือไม่ และเมื่อผลออกมาว่าเป็นไปได้ สิ่งที่น่ากังวลคือไมโครพลาสติกนี้จะส่งผลอย่างไรต่อมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร เพราะด้วยอนุภาคขนาดเล็กทำให้ไมโครพลาสติกสามารถเข้าสู่กระแสเลือด ระบบน้ำเหลือง จนไปถึงตับ และหากเข้าสู่ลำไส้เล็กอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของระบบทางเดินอาหาร หรือมีส่วนในการช่วยส่งผ่านสารพิษและเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ระบบทางเดินอาหารด้วย ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ประมาณการณ์ได้ว่า กว่า 50% ของประชากรโลกอาจมีไมโครพลาสติกในอุจจาระ และทีมนักวิจัยจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ต่อไป

อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาก่อนหน้านี้พบไมโครพลาสติกในลำไส้ปลา หรือแม้แต่ในเครื่องปรุงอย่างเกลือ และยังมีการพบไมโครไฟเบอร์ในน้ำประปาทั่วโลก ในมหาสมุทร และแมลงบางชนิดด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ในประเทศอิตาลีก็ตรวจพบไมโครพลาสติกในน้ำอัดลม และในนกหลายชนิด โดยพบเนื้อเยื่อที่มีลักษณะยื่นขึ้นมาจากพื้นผิวคล้ายกับนิ้วมือภายในลำไส้เล็กของนกที่มีไมโครพลาสติกในร่างกาย ซึ่งขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กและมีผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานของตับ

ทั้งนี้ การใช้พลาสติกเป็นที่แพร่หลายมากในปัจจุบันจนแทบจะไม่สามารถแยกมันออกจากชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้ เพราะจากสถิติพบว่ามีการซื้อขวดพลาสติกในทุกพื้นที่ทั่วโลกทุกนาที และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีก 20% ภายในปี 2564 ทำให้หลายประเทศทั่วโลกมีการดำเนินการเพื่อสกัดกั้นมลพิษพลาสติกที่เพิ่มขึ้น เช่น การห้ามใช้ไมโครบีดส์ในเขตอำนาจศาลบางแห่ง สหประชาชาติและประเทศอื่น ๆ เริ่มรณรงค์เกี่ยวกับกรณีที่มีเม็ดพลาสติก 8 ล้านตันถูกทิ้งลงสู่ทะเลในแต่ละปี และก่ออันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล

ทางด้านรัฐสภายุโรปได้ลงมติเห็นชอบเมื่อต้นปีที่ผ่านมาว่าห้ามใช้ไมโครพลาสติกในเครื่องสำอางที่ผลิตในยุโรป ขณะเดียวกันคณะกรรมาธิการยุโรปก็มีการเสนอไม่ให้ใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียว เช่น คัตตอนบัดส์ (Cotton Buds) และหลอดพลาสติก โดยกระตุ้นประเทศสมาชิกให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจกับผู้ผลิตในการมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อความสะอาดของท้องทะเล โดยในปี พ.ศ.2568 ประเทศในยุโรปควรมีการแก้ไขปัญหาเรื่องขวดพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวให้ได้ 90%

นอกจากนี้ รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศเกี่ยวกับข้อเสนอที่จะห้ามใช้หลอดพลาสติก เครื่องดื่มภาชนะพลาสติก และคัตตอนบัดส์ ซึ่งอาจถูกย่อยกลายเป็นไมโครพลาสติกได้ โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือนตุลาคม 2563

ก็ต้องมารอดูกันนะคะว่า มาตรการที่เหล่าชาติมหาอำนาจกำหนดขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหา ‘Microplastic Fever’ นี้จะเพียงพอและทันท่วงทีหรือไม่ เพราะดูจากปริมาณการตรวจพบที่เรียกได้ว่ามหาศาล เข้าใกล้คำว่า 100 เปอร์เซ็นต์แบบนี้ ปัญหาของ ‘อนุภาคเล็กๆ’ น่าจะกลายเป็นมหากาพย์ที่สร้างผลกระทบวงกว้างระดับ ‘มหภาค’ ในไม่ช้า

ที่มา: www.theguardian.com

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

อัปเดตล่าสุด ผู้ใหญ่ถีบหัวเด็ก 6 ขวบ ให้การปฏิเสธ “ผมแค่ยืนคุย”

อัปเดตล่าสุด ผู้ใหญ่ถีบหัวเด็ก 6 ขวบ ให้การปฏิเสธ อ้างแค่ยืนคุย ขณะที่ตำรวจขอความร่วมมืองดแชร์ภาพเด็กถูกทำร้าย

เปิดสาเหตุ ฟ้าผ่าปราสาทนครวัด เพราะไม่มีสิ่งนี้ ล่าสุด ดับ 3 เจ็บอื้อ โชคดีไม่มีคนไทย

ฟ้าผ่าปราสาทนครวัด จ.เสียมราฐ กัมพูชา เสียชีวิต 3 ราย เจ็บนับสิบคน ขณะทำพิธีบวงสรวงบนปราสาท ไม่มีรายงานนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ในที่เกิดเหตุ

เบสท์ คำสิงห์ ประกาศลั่น “ไม่ช่วยพ่ออีกต่อไป” วอนชาวเน็ตหยุดด่า “อกตัญญู”

“เบสท์ คำสิงห์” ตัดพ้อกลางรายการ “แฉ” ลั่นเหนื่อยแล้ว! ขอหยุดช่วยพ่อ (สมรักษ์ คำสิงห์) หากพ่อสร้างเรื่องใหม่ ขอไม่ยุ่งอีกต่อไป กลายเป็นประ […]

สมาชิกคุกเพิ่มอีก 2! ศาลไม่ให้ประกันตัว “ทิดแย้ม – อรัญญาวรรณ” เครียดเจอ 11 กระทง

ศาลคัดค้านประกันตัว “อรัญญาวรรณ”  เจ้าตัวเครียดเจอ 11 กระทง อาจติดคุกมากกว่า 50 ปี ส่วน “ทิดแย้ม” ทนายไม่ยื่นประกัน คุมส่งตัวเข้าเรือนจำ

เปิดตัวละครลับ หมอเตย ขาใหญ่วัดไร่ขิง คือใคร ทำไม ทิดแย้ม บาคาร่า ปล่อยดูแลเงิน

เปิดตัวละครลับ หมอเตย ขาใหญ่วัดไร่ขิง คือใคร ทำไม ทิดแย้ม ให้ดูแลเงินเป็นล้าน แถมเกรงใจเป็นพิเศษ คาดมีผลประโยชน์ร่วมกัน

เปรมชัย นอนคุก คืนแรกเฝ้าดูอาการเป็นผู้สูงอายุ ไม่มีพิเศษระดับวีไอพี

นอนคุกคืนแรก 14 ผู้ต้องหา สตง. ถล่มแยก 2 ห้องขัง “เปรมชัย-พิมล” ประเมินเป็นผู้สูงอายุ ส่งเฝ้าดูอาการสถานพยาบาล
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า