เสียงดังแค่ไหน ปลุกให้ตื่นจากภวังค์

ใครข้อสงสัย เสียงส่งผลต่อการนอน จริงหรือมั่ว ?

เสียงนั้น…สำคัญไฉน ขึ้นชื่อว่า “เสียง” ล้วนเป็นสิ่งที่ทุกคนหลีกเลี่ยงกันไม่ได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูดคุย,เสียงท่อรถ, เสียงนกร้อง หรือเสียงอื่น ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นหนึ่งในปัจจัยของคนเราเป็นธรรมดา

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเสียงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วไปมากระทบเข้ากับหูของเราอย่างไม่พึงประสงค์ ? อย่างเช่น ในขณะที่เรากำลังงาน, ขณะที่เราต้องการสมาธิ หรือแม้กระทั่งในขณะที่เราต้องการพักผ่อน ?

จากเหตุการณ์ข่าวการตีระฆังของวัดที่กำลังโด่งดังอยู่ในขณะนี้ ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่าเสียงเป็นตัวรบกวนการนอนของคนเราจริงหรือ ? แต่ในความเป็นจริง ความดังของเสียงในปริมาณเท่ากัน อาจจะไม่ส่งผลกระทบต่ออีกคนก็เป็นได้ จริง ๆ แล้วเราไม่สามารถระบุได้ว่าความดังเท่าไร ถึงจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตการนอน เพราะแต่ละคนย่อมมีความรู้สึกไวต่อเสียงที่แตกต่างกันออกไป

การนอนหลับสามารถแบ่งเป็น 3 วงจร คือ ระยะที่หนึ่ง (เริ่มง่วง) เป็นระยะการหลับที่ตื้นมาก หากถูกกระตุ้นเพียงเล็กน้อย ก็จะตื่นขึ้นได้ง่ายดาย ระยะที่สอง (หลับตื้น) เป็นระยะที่ไม่ได้ยินเสียงรบกวนภายนอก เข้าสู่ระยะแรกของการหลับ แต่ยังไม่เกิดการฝัน ระยะที่สาม (หลับลึก) เป็นระยะที่ปลุกให้ตื่นได้ยากมาก เป็นระยะสุดท้ายของการหลับอย่างแท้จริง

โดยความเป็นจริงแล้วสมองของเราจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับความอดทนต่อเสียงต่าง ๆ ในขณะการนอน ส่วนใหญ่แล้วเสียงจะสามารถปลุกคนเราได้ในช่วงที่ 2 ของวงจรการนอนหลับ แต่ถ้าเรายังเข้าไม่ถึงวงจรการนอนหลับ เสียงต่าง ๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อการนอนของเราโดยตรง

นอกจากนี้เสียงที่ส่งผลกระทบต่อการนอนของเราแล้ว อายุก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน เราจะสังเกตเห็นได้ว่า เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อเสียงรบกวนมากที่สุด

เรามาดูกันว่าเสียงที่พบเจอในชีวิตประจำวันมีระดับเดซิเบลเท่าไร ?

แล้วระดับเสียงเดซิเบลเท่าไร มีผลกระทบต่อการนอนของเราบ้าง ?

ระดับเดซิเบล ตัวอย่าง ผลกระทบที่มีกับการนอน
ต่ำกว่า 30 เดซิเบล เสียงหายใจ เสียงกระซิบ เสียงนาฬิกาเดิน เสียงห้องสมุดและเสียงชานเมืองที่เงียบสงบ แทบไม่มีผลกระทบอะไรต่อคนส่วนใหญ่
30-40 เดซิเบล เสียงกระซิบในห้องเงียบๆหรือในออฟฟิศ เสียงนกร้อง ยานเมืองที่เงียบสงบ อาจจะกระตุ้นให้ตื่นได้หรือรบกวนการนอน เด็กและคนแก่ที่มีอาการป่วยได้รับผลกระทบมากที่สุด
40 – 55 เดซิเบล ห้องเงียบๆ ที่มีเสียงฝนตกดัง เสียงแอร์หรือเสียงตู้เย็นที่อยู่ใกล้ๆ ย่านนอกเมือง เสียงระดับนี้ค่อนข้างมีผลต่อคนส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะต้องมีดูแลเรื่องสุขภาพอย่างใกล้ชิด
มากกว่า 55 เดซิเบล เสียงพูดคุยปกติ เสียงเพลง เสียงเครื่องซักผ้าที่ดัง เป็นเสียงที่อยู่ในระดับอันตรายต่อสาธารณะ ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับสูงมาก บางงานวิจัยกล่าวว่าเสียงเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ถ้าหากเรารู้ตัวเองว่า เป็นคนที่อดทนต่อเสียงรบกวนภายนอกไม่ได้ สิ่งแรกที่ควรจะทำคือหาวิธีป้องกันตัวเองจากเสียงรบกวนภายนอก ดังนี้

  1. ปิดประตูหน้าต่างให้แน่นหนา และไม่ควรมีช่องว่างใด ๆ ตามแนวขอบประตูและหน้าต่าง เพื่อป้องกันเสียงเล็ดลอดเข้ามาได้
  2. ตามแนวช่องประตูหรือหน้าต่าง ควรจะอุดด้วยฉนวนกันเสียง หรือหาซื้อที่กั้นประตูมาใส่
  3. พยายามตั้งเตียงให้ห่างจากกำแพงมากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันเสียงรบกวนจากเพื่อนข้างห้อง
  4. เปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ เพื่อเป็นการกลบเสียงจากภายนอก
  5. หากทำตามที่บอกไปหมดแล้ว เสียงยังไม่ลดน้อยลง ลองหาซื้อที่อุดหูมาใช้ก็ไม่เสียหายอะไร

เสียงที่เกิดขึ้นทั้งหมด มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ขึ้นอยู่กับประเภท ระดับความดัง และที่สำคัญความชอบของเสียงนั้น ๆ เราไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า เสียงไหนคือเสียงที่ดี และเสียงไหนคือเสียงที่น่ารำคาญ เพราะทั้งหมดขึ้นอยู่ที่ความชอบส่วนบุคคลค่ะ


เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เจอแล้ว! ต้นตอทนเสียง ตีระฆัง ไม่ได้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า