วันออกพรรษา 2563 ตรงกับวันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม หรือตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไรกับคนไทย มาดูกัน

ประวัติวันออกพรรษา

เมื่อเทศกาลเข้าพรรษาได้ผ่านพ้นไป 3 เดือน ก็จะมีช่วงเวลาของ ‘วันออกพรรษา’ ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษาในวัดช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระสงฆ์ โดยวันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า “วันมหาปวารณา” คำว่า “ปวารณา” แปลว่า อนุญาตหรือยอมให้

วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ในวันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน

สำหรับคำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลี ดังนี้ “สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ” มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี

เมื่อทำพิธีวันออกพรรษาแล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ หรือค้างคืนที่อื่นได้โดยไม่ผิดพระพุทธบัญญัติ และยังได้รับอานิสงส์

ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ที่นิยมปฏิบัติอยู่ 2 อย่าง คือ

  • ประเพณีตักบาตรเทโว หลังวันออกพรรษา หลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะมีการ ‘ตักบาตรเทโว’ หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า ‘เทโวโรหณะ’ แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘ตักบาตรดาวดึงส์’ โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน
  • ประเพณีเทศน์มหาชาติ หลังวันออกพรรษา งานเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลังวันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน 1 เดือน หลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้ง จุลกฐิน และมหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติอาจทำในวันขึ้น 8 ค่ำ กลางเดือน 12 หรือในวันแรม 8 ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง

กิจกรรมต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนปฏิบัติในวันออกพรรษา

  • ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
  • ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา
  • ร่วมกุศลธรรม ‘ตักบาตรเทโว’
  • ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
  • ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือบรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา ฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป
  • งดการเที่ยวเตร่ ละเว้นอบายมุข รวมทั้งละเว้นการฆ่าสัตว์และบริโภคเนื้อสัตว์

ประเพณีวันออกพรรษาในแต่ละภาค

ภาคกลาง

จังหวัดนครปฐม : ที่พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุ สามเณร จะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันไดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันไดสวรรค์ ชาวบ้านก็คอยใส่บาตร

จังหวัดอุทัยธานี : ณ วัดสะแกกรัง พระภิกษุก็จะเดินลงมาจากเขารับบิณฑบาตจากชาวบ้าน โดยขบวนพระภิกษุสงฆ์ที่ลงมาจากบันไดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูปนำหน้า ทำการสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้า จะใช้พระปางอุ้มบาตร ห้ามมาร ห้ามสมุทร รำพึง ถวายเนตรหรือปางลีลา ตั้งไว้บนรถหรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาต

ภาคใต้

ภาคใต้ก็จะมีประเพณีชักพระหรือลากพระ ซึ่งก็คือพระพุทธรูปนั่นเอง โดยมี 2 กรณี คือ ชักพระทางบก กับชักพระทางน้ำ

พิธีชักพระทางบก : ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนวันชักพระ 2 วัน จะมีพิธีใส่บาตรหน้าล้อ นอกจากอาหารคาวหวานแล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของงาน คือ “ปัด” หรือข้าวต้มผัดน้ำกะทิห่อด้วยใบมะพร้าว บางที่ห่อด้วยใบกะพ้อ (ปาล์มชนิดหนึ่ง) ในภาคกลางเขาเรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน ก่อนจะถึงวันออกพรรษา 1-2 สัปดาห์ ทางวัดจะทำเรือบก คือ เอาท่อนไม้ขนาดใหญ่ 2 ท่อนมาทำเป็นพญานาค 2 ตัว เป็นแม่เรือที่ถูกยึดไว้อย่างแข็งแรง แล้วปูกระดาน วางบุษบก บนบุษบกจะนำพระพุทธรูปยืนรอบบุษบกแล้ววางเครื่องดนตรีไว้บรรเลง เวลาเคลื่อนพระไปสู่บริเวณงานพอเช้าวัน 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะช่วยกันชักพระ โดยถือเชือกขนาดใหญ่ 2 เส้นที่ผูกไว้กับพญานาคทั้ง 2 ตัว เมื่อถึงบริเวณงานจะมีการสมโภช และมีการเล่นกีฬาพื้นเมืองต่าง ๆ กลางคืนมีงานฉลองอย่างมโหฬาร อย่างการชักพระที่ปัตตานีก็จะมีชาวอิสลามร่วมด้วย

พิธีชักพระทางน้ำ : ก่อนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ทางวัดที่อยู่ริมน้ำ ก็จะเตรียมการต่าง ๆ โดยการนำเรือมา 2-3 ลำ มาปูด้วยไม้กระดานเพื่อตั้งบุษบก หรือพนมพระประดับประดาด้วยธงทิว ในบุษบกก็ตั้งพระพุทธรูป ในเรือบางที่ก็มีเครื่องดนตรีประโคมตลอดทางที่เรือเคลื่อนที่ไปสู่จุดกำหนด คือบริเวณงานท่าน้ำที่เป็นบริเวณงานก็จะมีเรือพระหลาย ๆ วัดมาร่วมงาน ปัจจุบันจะนิยมใช้เรือยนต์จูง แทนการพาย เมื่อชักพระถึงบริเวณงานทั้งหมด ทุกวัดที่มาร่วมจะมีการฉลองสมโภชพระ มีการละเล่นต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน เช่น แข่งเรือปาโคลน ซัดข้าวต้ม เป็นต้น เมื่อฉลองเสร็จก็จะชักพระกลับวัด บางทีก็จะแย่งเรือกัน ฝ่ายใดชนะก็ยึดเรือ ฝ่ายใดแพ้ต้องเสียค่าไถ่ให้ฝ่ายชนะ จึงจะได้เรือคืน

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

“ชิน ชินวุฒ” ตอบกลับเดือด หลังชาวเน็ตแซะ “ลิลลี่ ภัณฑิลา” เหตุเครื่องบินตกหลุมอากาศ

“ลิลลี่ ภัณฑิลา” เผยนาทีระทึก! เครื่องบินตกหลุมอากาศจนแพนิครุนแรง – “ชิน ชินวุฒ” ปกป้องหวานใจเดือด หลังเจอคอมเมนต์แรง กลายเป็น […]

หัวร้อน! “หนุ่ม กรรชัย” ฟาดเกรียนคีย์บอร์ด หลังปล่อยข่าวปลอม-ภาพถูกจับ

หัวร้อน! “หนุ่ม กรรชัย” ฟาดเกรียนคีย์บอร์ด หลังปล่อยข่าวปลอม-ภาพถูกจับ ลั่น “ขยันทำเนอะมึงอ่ะ!” อยู่ดีไม่ว่าดี เจอเกรียนคีย์บอร์ดปั่นป่วนเข้าไปจน “หนุ […]

ชีวิตหลังโสดเริ่ด!! “ณิชา” โพสต์คลิป ใช้ชีวิตสุดจี๊ดอยู่กับ “เจมส์มี่เจมส์”

โมเมนต์เพื่อนซี้สุดน่ารัก “ณิชา ณัฏฐณิชา” โพสต์คลิป ใช้ชีวิตอยู่กับเพื่อนสนิทอย่าง “เจมส์มี่เจมส์” เพื่อนซี้ตัวจี๊ดแบบนี้ ชีวีตหลังโสดแฮปปี้แน่น […]

“ก้อง ห้วยไร่” อัปเดตอาการ “จ่าลอด ไทบ้าน” หลังผ่าตัด กระดูกสะโพกหัก – เตรียมถอดท่อช่วยหายใจ

“ก้อง ห้วยไร่” อัปเดตอาการ “จ่าลอด ไทบ้าน” หลังผ่าตัด – สมองไม่กระเทือน ความดันปกติ เตรียมถอดท่อช่วยหายใจ แฟน ๆ ภาพยนตร์ ไทบ้าน เดอะซีรีส์ ได้เฮเบา ๆ […]

“เป๊ก สัณณ์ชัย” โพสต์ถึง “ดิว อริสรา” หลังคุณพ่อเสียกระทันหัน – ติดหนี้ 62 ล้าน

“เป๊ก สัณณ์ชัย” ส่งกำลังใจให้ “ดิว อริสรา” หลังสูญเสียคุณพ่อ – ชาวเน็ตร่วมแสดงความเสียใจแม้ยังมีคดีติดตัว ยังคงเป็นช่วงเวลาที่หนักหนาสำหรับดาราสาวชื่อ […]

“หนุ่ม กรรชัย” เปิดใจเหตุฟ้อง “เบียร์ เดอะวอยซ์” ยันไม่มีเจตนาร้าย ลั่นพร้อมเจรจา หากอีกฝ่ายอยากคุย

“หนุ่ม กรรชัย” เปิดใจสาเหตุฟ้อง “เบียร์ เดอะวอยซ์” ยันไม่มีเจตนาร้าย ลั่นพร้อมเจรจา หากอีกฝ่ายอยากคุย เผย หากศาลเห็นว่าเป็นคดีที่สามารถไกล่เกลี่ยกันได […]
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า