หากเกิดอุบัติเหตุหรือรถเกิดความเสียหาย จาก ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ใครเป็นฝ่ายรับผิดชอบ? ต้องแจ้งใคร ทำอย่างไรดี?
หน้าฝนแบบนี้ถนนหลายๆ ที่ที่สภาพไม่ค่อยดีจึงมีน้ำขังเป็นหลุมเป็นบ่อ บางทีไม่สามารถเห็นได้ว่าหลุมนั้นลึกหรือไม่ จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เช่น หักหลบหลุมจนไปชนกับรถคันอื่น หรือเสาไฟฟ้า มอเตอร์ไซค์อาจตกหลุมจนเสียหลักล้ม นอกจากจะเจ็บตัวแล้ว ยังต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาล และค่าซ่อมแซมส่วนที่เสียหายอีก วันนี้ ไบรท์ ทูเดย์ (Bright Today) จะพามาหาคำตอบ

ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ จนเกิดอุบัติเหตุหรือรถเกิดความเสียหาย ทำอย่างไร?
จะว่าไปแล้ว เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่ความผิดของผู้ขับขี่ เพราะต้นเหตุของอุบัติเหตุคือถนนที่ไม่พร้อมใช้งาน แล้วแบบนี้ผู้ประสบเหตุจะสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง
รัฐจะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ตามกฎหมายการบำรุงรักษาถนนเพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไปมาได้อย่างสะดวกเป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ หากประชาชนได้รับความเสียหายเพราะถนนชำรุดเป็นเหตุ หน่วยงานของรัฐจะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้นหากเราเกิดอุบัติเหตุเพราะสภาพถนนไม่พร้อมใช้งาน เราก็สามารถเข้าร้องขอความเป็นธรรมกับศาลปกครองได้ แต่จะต้องดูก่อนว่าถนนเส้นที่เราประสบอุบัติเหตุอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานใด
- ร้องเรียน-ร้องทุกข์ กรมทางหลวง
http://complain.doh.go.th/complain/index.php?route=complain/create
สอบถามข้อมูล กรมทางหลวง สายด่วนกรมทางหลวง 1586 โทรฟรี 24 ชั่วโมง - ร้องเรียน/เสนอแนะ กรมทางหลวงชนบท
https://drr.go.th/
สอบถามเส้นทาง กรมทางหลวงชนบท สายด่วน : 1146 โทรศัพท์ : 02-551-5000

ซึ่งถนนหลวงแบ่งออกเป็น 5 ประเภทได้แก่
1. ทางหลวงพิเศษ เป็นถนนที่ให้จราจรผ่านได้ตลอดรวดเร็วเป็นพิเศษ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง
2. ทางหลวงแผ่นดิน เป็นถนนสายหลักเชื่อมระหว่างภาค จังหวัด และอำเภอ ดูแลโดยกรมทางหลวงเช่นกัน
3. ทางหลวงชนบท ถนนประเภทนี้มีตัวอักษรกำกับ 2 ตัว เช่น นบ หมายถึงนนทบุรี ดูแลโดยกรมทางหลวงชนบท
4. ทางหลวงท้องถิ่น ถนนประเภทนี้มีตัวอักษรกำกับ 3 ตัว เช่น นบ.ถ. หมายถึงท้องถิ่นนนทบุรี ดูแลโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. ทางหลวงสัมปทาน เป็นถนนที่เอกชนรับสัมปทานดูแล ดูแลโดยกรมทางหลวง
เมื่อเราเข้ากระบวนการร้องขอความเป็นธรรม ศาลปกครองจะดำเนินการพิจารณาหลักฐานต่างๆ และถ้าหากต้นเหตุของอุบัติเหตุเกิดจากถนนที่ไม่พร้อมใช้งานจริง ศาลก็จะให้หน่วงงานที่ดูแลถนนเส้นนั้นเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายต่อไป
ข้อมูลจาก : SILKSPAN และ กรมทางหลวง
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY