น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดให้จันทบุรีเป็นเมืองรองแห่งการท่องเที่ยว ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ วิถีการขุดพลอยแบบชาวบ้านได้อีกด้วย
โดยเราได้เดินทางไปที่ชุมชนบ้านบางกระโสม ซึ่ง อยู่ที่ตำบลบางกะจะ เป็นเหมืองขุดพลอย ของชาวบ้าน เมื่อเดินทางไปถึงเหมืองขุดพลอย ภายในหลุมจะมีน้ำขังอยู่ ชาวบ้านจะทำการดูดน้ำออกแล้วจึงลงไปขุดพลอย

ภูมิปัญญาในการขุดพลอยนั้น นอกจากอาศัยโชคช่วยแล้ว ยังมีเทคนิควิธีการเฉพาะตัวในการค้นหาด้วย เช่น สังเกตสีของดิน ดูจากขี้พลอยซึ่งก็คือแร่ “ไพร็อกซิน” ที่มีสีดำคล้ายนิลตะโก กระจายบนผิวดิน บางรายสังเกตจากเพื่อนพลอยจำพวกเพทายหรือพลอยน้ำค้าง นอกจากนั้นยังสังเกตได้จาก “ตัวตุ๊กตา” ที่เคยเชื่อกันว่าเป็นอาหารของพลอยซึ่งที่แท้ก็คือ “แร่ไมก้า” ชนิดหนึ่งนั่นเอง
เมื่อพบร่องรอยเหล่านี้จึงเริ่มลงมือขุด โดยขุดหน้าดินทิ้งไปก่อน เพราะเป็นชั้นหินกรวดที่เรียกว่า “ชั้นกะสะ” ซึ่งก็คือหินบะซอลต์ หรือหิน “โคบก” ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ลูกร่อน” จึงจะแน่ใจว่ามีพลอย เพราะพลอยจะอยู่ในชั้นกะสะนี้เอง ชั้นกะสะนี้จะมีความหนาตั้งแต่ 10-30 ซ.ม. บริเวณใดมีกะสะหนามาก บริเวณใดพลอยน้อย คนขุดมักจะเรียกบริเวณนั้นว่ามี “พลอยห่าง” เมื่อได้ดินในชั้นกะสะขึ้นมาจึงจะนำมาล้างและร่อนในตะแกรงเพื่อแยกพลอยออกจากดินและก้อนกรวด

หากใครอยากดูคลิปเต็ม สามารถรับชมได้ที่ : https://youtu.be/5rOO5k4E-cs