สิ่งที่ต้องรู้! หากนำ ‘แรงงานต่างด้าว’ เข้ามาทำงานในประเทศ

สิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนนำ แรงงานต่างด้าว เข้ามาทำงานในประเทศไทย ต้องหายังไง และต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง จึงจะถูกกฎหมาย

บางองค์กรต้องการ แรงงานต่างด้าว มาเติมเต็ม ทำให้การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย เป็นขั้นตอนที่องค์กรเหล่านั้นจะต้องทำความเข้าใจร่วมกัน และหนึ่งในคำถามที่พบบ่อยก็คือคำถามที่ว่าต้องการแรงงานต่างด้าว ต้องหายังไง บทความนี้จึงจะนำเสนอเรื่องดังกล่าวพร้อมด้วยสิ่งที่ HR จะต้องรู้ เพื่อการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้

ต้องการแรงงานต่างด้าว ต้องหายังไง?

สิ่งที่ HR ต้องรู้เรื่องแรกก็คือการหาแรงงานต่างด้าว เมื่อทางบริษัทหรือองค์กรมีความต้องการในแรงงานดังกล่าว การค้นหาสามารถทำได้ ดังนี้

  • 1.ยื่น Demand Letter

ต้องการแรงงานต่างด้าว ต้องหายังไง สามารถหาได้โดยการยื่น Demand Letter หรือที่เรียกว่าคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวไปยังตัวแทนของประเทศต้นทาง เพื่อให้ทางตัวแทนทำการคัดเลือกแรงงานที่มีคุณสมบัติตรงกับแรงงานที่ต้องการ หรือมีความเหมาะสมกับงาน เมื่อทางประเทศต้นทางคัดเลือกแล้วจะส่งบัญชีรายชื่อกลับมาให้ทางบริษัทที่มีความต้องการแรงงาน

  • 2.ยื่นบัญชีแรงงานไปยังเอเจนซี่ประเทศต้นทาง

ต้องการแรงงานต่างด้าว ต้องหายังไงนอกจากยื่น Demand Letter ก็คือการยื่นบัญชีแรงงานไปยังเอเจนซี่ประเทศต้นทาง พร้อมกับการแนบเอกสารตามข้อกำหนด

  • 3.ใช้บริการนายหน้าจัดหาแรงงานต่างด้าว

หากไม่ต้องการเดินเรื่องหรือยื่นเอกสารด้วยตนเอง สามารถเลือกใช้บริการนายหน้าจัดหาแรงงานต่างด้าวได้ ซึ่งทางนายหน้าจะจัดการให้ทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มให้คำปรึกษาและทำการขอเอกสารต่าง ๆ ที่นายจ้างต้องใช้สำหรับการจัดหาแรงงาน จากนั้นก็นำเอกสารมายื่นยังนายหน้าจัดหาแรงงานต่างด้าวให้ครบ ทางนายหน้าก็จะจัดการต่อเพื่อค้นหาแรงงานต่างด้าวมาให้

นอกจากเกร็ดความรู้เกี่ยวกับความต้องการแรงงานต่างด้าว ต้องหายังไง สิ่งที่ HR ควรรู้ ก่อนนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย ยังมีอีกหลายเรื่อง ดังนี้

สิ่งที่ HR ควรรู้

  • 1.ใบอนุญาตการจ้างแรงงานต่างด้าว

เรื่องแรกที่ HR ต้องรู้ เกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างด้าว คือแรงงานทุกคนจะต้องมีใบอนุญาตในการทำงาน ซึ่งเอกสารฉบับนี้จะถูกออกโดยกระทรวงแรงงาน กรมการจัดหางาน เอกสารอนุญาตให้ทำงานจะประกอบไปด้วยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการจ้างงาน ได้แก่ ทำงานอะไร ทำที่ไหน นายจ้างคือใคร แรงงานต่างด้าวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องทำงานตามใบอนุญาตนั้น และไม่สามารถถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้ด้วย แรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานจะได้รับความคุ้มครองในเรื่องดังกล่าว และหากมีเหตุให้ต้องเปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะงานบางอย่างที่ผิดไปจากในใบอนุญาต จะต้องทำการแจ้งตามระเบียบ เจ้าหน้าที่จะพิจารณาอีกครั้งว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต

เอกสารที่ใช้ในการขอใบอนุญาตจ้างแรงงานต่างด้าว

  1. รูปถ่ายแรงงานขนาด 3×4 เซนติเมตร (1 นิ้วครึ่ง) จำนวน 2 รูป
  2. หนังสือเดินทาง
  3. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้เข้ามาและอยู่ใบราชอาณาจักร (VISA) จำนวน 1 ชุด
  4. หนังสือรับรองการจ้าง (แบบ บต. 46)
  5. ใบรับรองแพทย์
  • 2. แรงงานจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพ

แรงงานต่างด้าว จะต้องได้รับการตรวจสุขภาพภายใน 30 วัน เพื่อนำใบรับรองแพทย์ ไปขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) โดยในการตรวจสุขภาพหลัก ๆ คือการตรวจหาโรคติดต่อ รวมถึงโรคบางอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ ดังนี้

  • โรคเรื้อน (Leprosy)
  • วัณโรคระยะอันตราย (Advandced Pulmonary Tuberculosis)
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง (Chronic alcoholish)
  • โรคเท้าช้างระยะปรากฏอาการอันเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม (Elephantiasis)
  • โรคยาเสพติดให้โทษ (Drug addiction)
  • โรคซิฟิลิสใน (syphilis)
  • 3.แรงงานต่างด้าวต้องรายงานตัวทุก 90 วัน

แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยทุกคนจะต้องรายงานตัวทุก 90 วันที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ก่อน 15 วัน หรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด หากแจ้งเกินกำหนดจะถูกปรับเป็นเงิน 2,000 บาท

  • 4.แรงงานต่างด้าวต้องอายุ 18 ปีขึ้นไป

ในการจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ บางกรณีอนุโลมให้สามารถจ้างแรงงานอายุต่ำกว่า 18 ปีได้ แต่จะต้องไม่ต่ำกว่า 15 ปี โดยงานที่ทำจะต้องเป็นงานที่ไม่อันตราย เช่น งานที่ไม่เกี่ยวข้องกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน งานที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุมีพิษ หรือวัตถุไวไฟ เป็นต้น

  • 5.แรงงานจะต้องส่งประกันสังคม

แรงงานต่างด้าวจะต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคมเช่นเดียวกับแรงงานไทยเอง เพื่อให้สำนักงานประกันสังคมดูแลสวัสดิการ-สิทธิประโยชน์แรงงานต่างด้าว สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เรื่องนี้ HR แต่ละบริษัทจะต้องดำเนินการให้ตามขั้นตอน

  • 6.การจ้างแรงงานต่างด้าวไม่มีใบอนุญาต มีโทษทางกฎหมาย

เรื่องต้องรู้อีกหนึ่งเรื่องของ HR ก็คือการการจ้างแรงงานต่างด้าวไม่มีใบอนุญาต มีโทษทางกฎหมาย โดยข้อกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่า หากจ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตจะมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาทต่อแรงงานต่างด้าวที่จ้าง 1 คน (ม.102) หากกระทำผิดซ้ำ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 50,000-200,000 บาท ต่อแรงงานต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกห้ามไม่ให้จ้างแรงงานต่างด้าวเป็นเวลา 3 ปี

สิ่งที่ HR ต้องรู้ หลัก ๆ คือความต้องการแรงงานต่างด้าว ต้องหายังไงให้ถูกกฎหมาย ไม่ใช่แรงงานเถื่อนที่ทำให้เกิดผลเสียตามมา ไปจนถึงขั้นตอนการจ้างแรงงานต่างด้าว การดำเนินเรื่องเอกสารให้ถูกต้องตามกฎหมาย

แรงงานต่างด้าว-min

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ทนายดัง-ปารีณา ซัดกันนัว ต้นเหตุจากโน้ส อุดม งานนี้ใครจะชนะ?

สนุกแน่งานนี้! ทนายเดชา ลั่น ‘โน้ส อุดม’ ไม่ผิด ม.112 หลังพูดคำว่า พอเพียง เตือนปารีณา ระวังโดนฟ้องกลับ ด้านอดีตสส.สาวตอกกลับทันที

อุ๊ยใครกัน ? ดาราชาย ลั่น ไม่มูฟออน แต่ควงชะนีอื่นเที่ยวต่างประเทศฉ่ำ!

เพจดัง เจ๊มอย 108 ทิ้งบอมบ์ลูกใหญ่ ดาราชายปากบอกไม่มูฟออน แต่ควงสาวอื่นเที่ยวต่างประเทศฉ่ำๆ ชาวเน็ต ลั่น ข้อนี้สอบผ่าน

ต้นสังกัดสั่งพัก! “ฮเยอิน NewJeans” จนกว่าอาการบาดเจ็บดีขึ้น

“ฮเยอิน NewJeans” จะงดกิจกรรมการคัมแบ็คของทั้งหมด เพื่อมุ่งเน้นไปที่การพักฟื้นหลังอาการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้าที่กระดูกหัก

กลัวเมียรู้! ตาวัย 67 ปี รับฆ่ารัดคอสาวผมเปียหมกป่า หลังมีสัมพันธ์สวาท

เฒ่าวัย 67 ปี สารภาพ ฆ่าปิดปากสาวผมเปีย ก่อนใส่กุญแจมือทิ้งหมกป่า สารภาพ! ทำไปเพราะกลัวเมียรู้ หลังถูกขู่แฉมีสัมพันธ์ชู้สาว

หัวจะปวด! กู้ภัยงมน้ำหาร่างทหารหนุ่มไม่พบ สุดท้ายกลับบ้านเอง

ทหารหนุ่มโดดน้ำประชดรัก กู้ภัยเร่งช่วย งมหานานกว่า 3 ชั่วโมงไม่เจอ สุดท้ายญาติโทรแจ้ง กลับไปนอนอยู่ที่บ้านแล้ว

น้องชาย ลุงกำธร เอาผิด กทม. – การไฟฟ้านครหลวง ทำพี่ตกท่อดับ

น้องชาย ลุงกำธร แจ้งความเอาผิด 2 หน่วยงาน กทม. และการไฟฟ้านครหลวง หลังหละหลวม-ประมาท ทำพี่ชายตกท่อดับกลางกรุง
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า