เปิดความรู้ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน 1 ปี โลกใช้เวลา 365.25 วัน หรือ 365 วัน 5 ชั่วโมง 46 นาที ในการหมุนโคจรรอบดวงอาทิตย์ แล้วเศษนี้หายไปไหน?
ทุกคนเคยสงสัยไหมว่าทำไมบางปีก็มี 365 วัน อีกสักพักบางปีก็มี 366 วัน และทำไมทุกๆ 4 ปีถึงจะมี 366 วัน มันเป็นแบบนี้ได้อย่างไรแล้วปีนึงมีกี่วันกันแน่ แล้ววันที่เพิ่มมาจากไหนตอนไหน เกิดจากอะไร วันนี้มีคำตอบ มาดูเลย!

ทำไมบางปีก็มี 365 วัน บางปีก็มี 366 วัน
ในปฎิทินนั้นจะมี 365 วันใน 1 ปี และในทุกๆ 4 ปีจะมี 366 วัน เราเรียกปีที่มี 366 วันว่า ปีอธิกสุรทิน (leap year) นั่นเป็นเพราะว่ามันเป็นวันส่วนเกินที่เพิ่มเข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อจะช่วยให้ปีในปฎิทินตรงกันกับปีของระบบสุริยะ ซึ่งเวลาที่โลกใช้ในการเดินทางรอบดวงอาทิตย์นั้นจะเท่ากับ 365.25 วัน ซึ่งเมื่อเศษ 25 นั้นเอามารวม 4 ปี ก็จะเกิดเป็น 1 วัน ซึ่งในวันนั้นก็เอามาเพิ่มเป็นวันที่ 29 กุมภาพันธ์นั่นเอง
ในความเป็นจริง ระยะเวลาของโลกในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบไม่ได้ตรงกับ 365.25 ทีเดียว แต่มันใช้เวลาประมาณ 365.2425 วัน หรือ 365 วัน 5 ชั่วโมง 46 นาที ซึ่งมันน้อยกว่า 365.25 อยู่ประมาณ 11 นาที ดังนั้นในทุกๆ 400 ปี จะมีการข้ามปีอธิกสุรทินไป เพื่อทำให้เวลาในการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์และเวลาในปฎิทินตรงกัน
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY