“บีโอไอ” เผยมูลค่ายื่นขอรับส่งเสริมลงทุน 3 เดือนแรก ทรุดหนัก 37%

“บีโอไอ” เผยยอดขอยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรกปีนี้ ทรุด 37% เหลือ 1.28 แสนล้านบาท “ญี่ปุ่น” แชมป์ลงทุนอันดับ 1 ขณะที่ “กรมบัญชีกลาง” ระบุ 7 เดือนแรกเบิกจ่ายงบ’62 แล้ว 1.97 ล้านล้าน เกินเป้า 4.02%

เมื่อวันที่ 13 พ.ค. น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.) มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน 387 โครงการ เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนมูลค่าเงินลงทุนอยู่ที่ 128,903 ล้านบาท ลดลง 76,327 ล้านบาท หรือ 37.16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 205,140 ล้านบาท

สำหรับโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมฯ พบว่ามี 199 โครงการ หรือคิดเป็น 51% ของโครงการทั้งหมด เป็นการยื่นขอส่งเสริมฯในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และมูลค่าเงินลงทุนอยู่ที่  58,803 ล้านบาท หรือคิดเป็น 46% ของมูลค่าการยื่นขอรับการส่งเสริมฯทั้งหมด

ส่วนประเภทกิจกรรมที่ยื่นขอรับส่งเสริมฯมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ 1.กิจการบริการและสาธารณูปโภค 129 โครงการ คิดเป็น 33% ของจำนวนโครงการทั้งหมด เงินลงทุน 46,888 ล้านบาท 2.กิจการเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 81 โครงการ เงินลงทุน 22,259  ล้านบาท 3.กิจการผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง 65 โครงการ เงินลงทุน 15,258 ล้านบาท และ 4.กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร 52 โครงการ เงินลงทุนรวม 7,365 ล้านบาท

นอกจากนี้ การยื่นขอรับส่งเสริมฯจากต่างชาติอยู่ที่ 245 โครงการ เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมูลค่าเงินลงทุนอยู่ที่ 84,104 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 253% โดยประเทศที่ยื่นขอรับส่งเสริมฯมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 ญี่ปุ่น 55 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 26,845 ล้านบาท รองลงมาเป็น จีน 38 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 9,072 ล้านบาท และอันดับ 3 สิงคโปร์ 29 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 5,447 ล้านบาท

“นักลงทุนรายใหม่ยังคงให้ความสนใจยื่นขอรับส่งเสริมฯ โดยมีโครงการลงทุนใหม่ 208 โครงการ คิดเป็น 54% ของจำนวนคำขอรับการส่งเสริมทั้งหมด ด้วยมูลค่าเงินลงทุนรวม 39,170 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด”น.ส.ดวงใจกล่าว

ด้านนางญาณี แสงศรีจันทร์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบ 2562 (ต.ค.2561-เม.ย.2562) มีการใช้จ่ายงบแล้วทั้งสิ้น 1,970,651 ล้านบาท ของวงเงินงบ 3,000,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 65.69% สูงกว่าเป้าหมาย 4.02% (เป้าหมาย 61.67%)

สำหรับรายจ่ายประจำมีการใช้จ่ายแล้ว 1,599,530 ล้านบาท ของวงเงินงบ 2,354,928 ล้านบาท หรือคิดเป็น 67.92% สูงกว่าเป้าหมาย 3.25% (เป้าหมาย 64.67%) ส่วนรายจ่ายลงทุน (กรณีไม่รวมงบกลาง) มีการใช้จ่ายแล้ว 370,977 ล้านบาท ของวงเงินงบ 555,961 ล้านบาท หรือคิดเป็น 66.73% สูงกว่าเป้าหมาย 5.86% (เป้าหมาย 51.67%)

“กรมฯยังคงให้ทีมเร่งรัดทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคติดตามการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด สำหรับหน่วยงานที่อยู่ในระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ได้มอบหมายให้ทีมเร่งรัดเฉพาะกิจทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้าร่วมประชุม เพื่อรับฟังปัญหาอุปสรรคที่ยังไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ได้และหาแนวทางในการแก้ไข รวมทั้งได้กำชับหน่วยงานให้ก่อหนี้รายจ่ายลงทุนทุกรายการให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ”นางญาณีกล่าว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า