ครม.อนุมัติงบ 525 ล้าน ซื้อน้ำมันปาล์มกิโลละ 18 บาท

ครม.อนุมัติงบ 525 ล้านบาท ซื้อน้ำมันปาล์มดิบ 1.6 แสนตัน กิโลกรัมละ 18 บาท เผาผลิตไฟฟ้า พร้อมจัดสรรงบอีก 525 ล้านบาท อุดหนุนค่าส่งออกน้ำมันปาล์มไปต่างประเทศ กิโลกรัมละ 1.75 บาท

เมื่อวันที่ 20 พ.ย. นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติงบกลาง 525 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ 1.6 แสนตัน ในราคากิโลกรัมละ 18 บาท ไปใช้ในเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง ในช่วงเดือนพ.ย.2561-ก.พ.2562

ทั้งนี้ การรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบดังกล่าว กฟผ.จะรับซื้อจากโรงสกัดน้ำมันปาล์มในพื้นที่แหล่งผลิตสำคัญ เช่น กระบี่ สุราษฎร์ธานี และชุมพร เป็นต้น

นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบให้ขยายระยะโครงการเร่งรัดส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ ปี 2561 ตามมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ ออกไปอีก 6 เดือน หรือเป็นในเดือนพ.ค.2562 จากเดิมที่สิ้นสุดในเดือนพ.ย.นี้ พร้อมทั้งอนุมัติงบกลาง 525 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ส่งออกไม่เกินกิโลกรัมละ 1.75 บาท

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุม ครม.ได้หารือมาตรการการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาทั้งเรื่องยางพาราและปาล์มน้ำมัน โดยในส่วนมาตรการเร่งด่วนแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ รัฐบาลจะรับซื้อปาล์มน้ำมันดิบในราคากิโลกรัมละ 18 บาท ประมาณ 1.6 แสนตัน เพื่อนำไปผลิตไฟฟ้า

“รัฐบาลจะรับซื้อน้ำมันปาล์มจากโรงสกัด เพื่อให้เกษตรกรได้ประโยชน์โดยตรง ส่วนมาตรการระยะยาวจะเพิ่มการนำปาล์มน้ำมันมาเป็นส่วนผสมของน้ำมันบี 20 โดยมีเป้าหมายเพิ่มการใช้น้ำมันปาล์มดิบปีละ 5 แสนตัน”พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรที่มีราคาสูงกว่าท้องตลาด ส่งผลทำให้ต้นทุนของภาครัฐสูงขึ้นด้วย เช่น การนำปาล์มน้ำมันไปผลิตกระแสไฟฟ้า จะทำให้ต้นทุนผลิตกระแสไฟฟ้าสูงขึ้น ทำให้รัฐบาลต้องใช้เงินไปดูแลในส่วนนี้ด้วย จึงอยากให้ทุกคนเข้าใจว่าการแก้ไขปัญหาอาจดูเหมือนง่าย แต่จำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรการที่ชัดเจน และเพียงการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนเท่านั้น

“รัฐบาลไม่สามารถจะช่วยเหลือไปได้ตลอด เพราะต้องคำนึงถึงการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลด้วย”พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำว่า ประเทศไทยมีผลผลิตยางถึง 4.6 ล้านตัน แต่มีการใช้ยางในประเทศ 4 แสนตัน แต่รัฐบาลได้เร่งการนำผลผลิตมาใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 6 แสนตัน แต่ยังเหลือผลผลิตอีก 4 ล้านตัน ถือว่าไทยมีผลผลิตปริมาณยางที่มากที่สุดในโลก ดังนั้น เรื่องราคาก็ขึ้นอยู่กับปริมาณด้วย

“รัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มแข็ง ทั้งในเรื่องการลดพื้นที่ปลูกยาง และการแก้ไขปัญหาการปลูกยางในพื้นที่บุกรุกของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลจะดูแลในส่วนที่ถูกต้องตามกฎหมายก่อน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้มีมาตรการการช่วยเหลือ โดยช่วยเหลือไม่เกิน 15 ไร่ เพื่อเพิ่มการใช้ยางในประเทศและมาตรการทั้งหมด ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการยางธรรมชาติก่อน”พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

นายกฯ กล่าวว่า อยากขอร้องกลุ่มเกษตรกรอย่าออกมารวมตัวประท้วง เพราะรัฐบาลพยายามดูแลทุกกลุ่ม และอยากสร้างความเข้าใจว่าการที่รัฐบาลให้เงินช่วยเหลือเป็นเพียงการบรรเทาความเดือดร้อนชั่วคราว แต่สิ่งสำคัญเกษตรกรต้องรู้จักปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้เข้าใจระบบการค้าการลงทุนในปัจจุบัน และต้องเข้าใจถึงสภาวะเศรษฐกิจโลกที่หลายประเทศประสบปัญหา

“หากมองมาที่ประเทศไทย ถือว่าภาพรวมเศรษฐกิจยังดีอยู่ แต่การแก้ปัญหานั้น รัฐบาลพยายามดูภาพรวมทั้งหมด จะช่วยเพียงเฉพาะกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดไม่ได้ และพยายามสร้างโอกาสและความเท่าเทียมให้กับเกษตรกร”พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า