“ศูนย์วิจัยกสิกรฯ” หวั่นเศรษฐกิจแผ่ว หลังว่างงาน “ภาคผลิต-บริการ” เพิ่มขึ้น

“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” เผยดัชนี KR-ECI เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 หลังครัวเรือนไทย “มีรายได้เพิ่ม-ได้โบนัส-ได้เงิน500 บาท” จับตาเศรษฐกิจระยะข้างหน้าแผ่ว หลังตัวเลขการว่างงานในภารผลิต-ภาคการค้า-ภาคบริการ เพิ่มขึ้น

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนธ.ค.2561 อยู่ที่ระดับ 46.0 จากระดับ 45.7 ในเดือนพ.ย.2561 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3

ทั้งนี้ เนื่องจากครัวเรือนไทยบางส่วนมีรายได้เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนธ.ค.2561 ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่ช่วงฤดูกาลของการปรับขึ้นค่าจ้าง/เงินเดือน และจ่ายเงินโบนัสประจำปีของแต่ละหน่วยงาน/องค์กร การได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ผลประกอบการของครัวเรือนในภาคการค้าและบริการที่ปรับตัวดีขึ้น ตามการใช้จ่ายของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปลายปี รวมไปถึงมาตรการของภาครัฐที่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยโดยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในช่วงปลายปี เป็นเงิน 500 บาท/คน

นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรบางรายการสำคัญที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง อาทิ ข้าวและมันสำปะหลัง ก็มีส่วนช่วยให้รายได้ครัวเรือนเกษตรบางพื้นที่ยังประคองตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ รายได้ของครัวเรือนบางส่วนที่เพิ่มขึ้นในรูปแบบเงินก้อน (เงินโบนัส) ช่วยหนุนให้ครัวเรือนมีเงินเก็บออมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของรายได้ครัวเรือนข้างต้น ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยเชิงฤดูกาล และปัจจัยที่มีผลต่อรายได้เพียงครั้งเดียว ซึ่งยังต้องติดตามทิศทางรายได้ของครัวเรือนในระยะข้างหน้า หลังผลของปัจจัยเชิงฤดูกาลและปัจจัยที่มีผลเพียงครั้งเดียวสิ้นสุดลง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ครัวเรือนไทยมีความกังวลลดลงต่อประเด็นเรื่องระดับราคาสินค้าและบริการภายในประเทศ สะท้อนจากดัชนีองค์ประกอบ KR-ECI ด้านราคาสินค้าที่ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 40.5 ในเดือนพ.ย.2561 มาอยู่ที่ระดับ 41.0 ในเดือนธ.ค.2561 สอดคล้องไปกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธ.ค. 2561 ที่ติดลบ 0.65% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวลดลงของราคาอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่ราคาปรับตัวลดลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดจำนวนมาก และราคาพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกทุกประเภทที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังระบุว่า การเปลี่ยนแปลงของ KR-ECI ตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่ช่วงกลางปี 2561 เป็นต้นมา โดยแรงสนับสนุนสำคัญมาจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยที่ทำให้ตลาดแรงงานในประเทศปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งช่วยหนุนให้ครัวเรือนไทยมีรายได้และการจ้างงานที่ดีขึ้นตามไปด้วย

“ยังต้องติดตามสถานการณ์ตลาดแรงงานไทย หลังข้อมูลจำนวนผู้ว่างงานที่มาจากภาคเกษตรกรรมในเดือนธ.ค. 2561 ลดลงค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีตช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แม้ภาพรวมราคาสินค้าเกษตรในปี 2561 จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปี 2560 อีกทั้งไม่มีมาตรการภาครัฐจูงใจให้แรงงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมอย่างเช่นในอดีตที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกัน จำนวนผู้ว่างงานที่มาจากภาคการผลิต รวมถึงภาคการค้าและการบริการกลับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งถ้าหากการว่างงานในรูปแบบข้างต้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นถึงการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศในระยะข้างหน้า”ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องติดตามซึ่งจะมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจ และการครองชีพของครัวเรือนไทย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าจะร้อนและแห้งแล้งกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนจากปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งอาจทำให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดน้อยลง และอาจจะกระทบต่อรายได้ครัวเรือนเกษตร ในขณะที่ระดับราคาสินค้าและบริการภายในประเทศช่วงไตรมาสแรก คาดว่าจะมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับขึ้นค่าโดยสารรถประจำทางและค่าไฟฟ้า

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามประเด็นความแน่ชัดในเรื่องการเลือกตั้ง ที่น่าจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนบรรยากาศการใช้จ่ายของครัวเรือนไทยในระยะข้างหน้า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า