สมาคมรพ.เอกชนร่อนแถลงการณ์ ค้านรัฐจ่อคุม “ค่าหมอ-ค่ายา”

สมาคมรพ.เอกชนร่อนแถลงการณ์ค้าน “ค่าหมอ-ค่ายา” เป็นสินค้าควบคุม ชี้จะกระทบการลงทุนเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมยันค่ายาไม่ได้แพงเกินจริง

เมื่อวันที่ 14 ม.ค. สมาคมโรงพยาบาลเอกชน ออกแถลงการณ์ คัดค้านกรณีคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) มีมติเห็นชอบให้ยาและเวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ อยู่ในบัญชีสินค้าควบคุม โดยระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว พร้อมทั้งยืนยันว่าค่ายาในโรงพยาบาลเอกชนไม่แพงเกินจริง และเป็นไปไม่ได้ที่คนไทยจะล้มละลายจากการรักษาพยาบาล

แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า หากมีการกำกับค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน จะทำให้ไม่มีการลงทุนในด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ทันสมัย และจะทำให้ศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยด้อยลง ทั้งที่ปัจจุบันการรักษาพยาบาลของประเทศไทยไม่ด้อยกว่าประเทศใดในโลก และนับเป็นสิ่งสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจตามนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยเช่นกัน

สำหรับกระแสต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องการกำกับค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนในปัจจุบัน ทำให้เกิดความเข้าใจสับสนและตีความหมายไปในหลากหลายแง่มุมนั้น ทางสมาคมฯ จึงออกแถลงการณ์เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของประชาชนเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน ดังนี้

1.ค่ายาในโรงพยาบาลเอกชนราคาแพงจริงหรือ ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล และประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2541 และล่าสุดที่ปรับปรุงใน พ.ศ. 2561 ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนได้ถือปฏิบัติโดยตลอดจนปัจจุบัน โดยในพ.ร.บ.มีการกำหนดมาตรฐานทางบัญชีในรายละเอียดค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลไว้อย่างละเอียด ดังนั้น ค่ายาในโรงพยาบาลเอกชน จึงประกอบด้วยรายละเอียดมากมาย มิใช่เป็นเพียงตัวยาอย่างเดียว

2.คนไทยล้มละลายจากค่ารักษาพยาบาลจริงหรือ สมาคมฯ ระบุว่า คนไทยทุกคนสามารถไปรับการรักษาพยาบาลตามสิทธิของตนเอง ทั้งสิทธิ์หลักประกันสุขภาพ สิทธิ์ประกันสังคม และสิทธิ์ข้าราชการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในภาวะฉุกเฉินวิกฤติ ประเทศไทยมีกฎหมายที่เรียกว่า UCEP ที่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ภายในไม่เกิน 72 ชั่วโมง ดังนั้น คนไทยในปัจจุบัน “เป็นไปไม่ได้ที่จะล้มละลายจากการรักษาพยาบาล”

โรงพยาบาลเอกชน จัดเป็นโรงพยาบาลทางเลือก แม้กระนั้นยังมีโรงพยาบาลเอกชนที่ร่วมรับดูแลผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพ และระบบประกันสังคม ซึ่งช่วยรับผิดชอบดูแลจนถึงที่สุดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

นอกจากนี้ ผลจากการสำรวจพบว่า 64.8% ของโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ รายงานว่าเข้าร่วมในโครงการประกันสุขภาพ และอีก 35.2% ไม่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว สำหรับประเภทประกันสุขภาพ พบว่า มีโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน 62.7% ให้บริการในประเภทกองทุนเงินทดแทน, ส่วน 60.4% ให้บริการในประเภทประกันสุขภาพเอกชน, 55.5% ให้บริการในประเภทการประกันสังคม, 32.9% ให้บริการในประเภทกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราช และ 29.3% ให้บริการสำหรับโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

3.โครงการ Medical Hub ของประเทศไทย ผู้ป่วยชาวต่างประเทศที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน มีจำนวนทั้งสิ้น 4.23 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นผู้มารับบริการที่เป็นผู้ป่วยนอกชาวต่างประเทศ 95.6% และผู้มารับบริการเป็นผู้ป่วยในชาวต่างประเทศ 4.4%

ในด้านผลการดำเนินกิจการปี 2559 พบว่า การดำเนินกิจการในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจของประเทศถึง 99,427 ล้านบาท ซึ่งมาจากมูลค่ารายรับจากการดำเนินกิจการ 234,327.2 ล้านบาท หักด้วยค่าใช้จ่ายขั้นกลางในการดำเนินการ 134,900.2 ล้านบาท

แถลงการณ์ยังระบุด้วยว่า การที่มีนโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ทำให้ชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามารับการรักษาในประเทศไทยมาก โดยที่โรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชนรายงานถึงเหตุผลที่ชาวต่างประเทศเข้ามารักษา กล่าวคือ 46.4% รายงานว่าราคาค่ารักษาพยาบาลไม่แพง, 37.5% ระบุว่าบุคลากรทางการแพทย์เป็นมิตรกับผู้ป่วย, 34.6% ระบุว่าความสามารถของไทย, 27.4% ระบุว่าแพทย์ไทยมีความเชี่ยวชาญหลายด้าน และอีก 24.5% ระบุว่าเทคโนโลยีทันสมัย

นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน แถลงเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่ทำให้ค่ายาในโรงพยาบาลเอกชนมีราคาแตกต่างจากร้านยาทั่วไป เพราะมีระบบจัดเก็บที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ คุณภาพ และต้องมีเภสัชกรทำหน้าที่ดูแล และคำนวณการให้ยาแต่ละชนิดนี้เพื่อไม่ตีกับยาชนิดอื่นหรือส่งผลข้างเคียง อีกทั้งต้องมีจัดเก็บข้อมูลของคนไข้ไว้ในฐานข้อมูล ซึ่งทุกอย่างเป็นต้นทุน

ส่วนกรณีที่มีกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมแพทย์ซึ่งมีอัตราที่สูงนั้น อัตราดังกล่าวทางแพทยสภาเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ และโรงพยาบาลเอกชนจะเก็บแพงกว่านี้ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แพทยสภาอยู่ระหว่างกำหนดอัตราอัตราค่าธรรมเนียมแพทย์ นอกจากนี้ สมาคมฯขอชี้แจงว่าโรงพยาบาลเอกชนถือเป็นสถานพยาบาลทางเลือก แต่ประชาชนมีสิทธิที่จะเข้ารับการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดงเป็นการเบื้องต้นไม่เกิน 72 ชั่วโมง ซึ่งจะมีค่ารักษาพยาบาลที่ถูกกว่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า