“สรรพากร” เปิดทาง “ค้าออนไลน์” หักภาษี ณ ที่จ่าย ผ่านแบงก์

“กรมสรรพากร” แจงกฎหมายใหม่ ไม่ได้มุ่งเก็บภาษีผู้ขายสินค้าออนไลน์เท่านั้น พร้อมเปิดทางให้ “ผู้จ่ายเงินได้” หักภาษี ณ ที่จ่าย ผ่านธนาคาร

จากกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. ….ซึ่งกำหนดให้สถาบันการเงินต้องรายงานข้อมูลของบุคคลหรือนิติบุคคล ที่มีความเคลื่อนไหวทางบัญชีในการทำธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีเกิน 3,000 ครั้ง/ปี หรือการฝาก-รับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง/ปี และมียอดเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ให้กรมสรรพากรทราบ

เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. นายปิ่นสาย สุรัสวดี รักษาการที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการทำธุรกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ การให้ผู้จ่ายเงินได้สามารถเลือกวิธีการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายผ่านตัวกลาง เช่น ธนาคาร โดยผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีแก่กรมสรรพากรอีก

“ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ จะช่วยสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษี โดยมิได้มุ่งเน้นที่จะจัดเก็บภาษีจากผู้ขายสินค้าทางออนไลน์หรือธุรกิจหนึ่งธุรกิจใดเป็นการเฉพาะแต่อย่างใด”นายปิ่นสายกล่าว

นายปิ่นสาย กล่าวต่อว่า ส่วนการกำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งข้อมูลแก่กรมสรรพากรมิได้ขัดแย้งกับนโยบายสังคมไร้เงินสดของรัฐบาล เนื่องจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีความสะดวกรวดเร็ว และช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น และหากผู้ประกอบการมีประวัติทางการเงินที่ถูกต้องและโปร่งใส ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน และการขอสินเชื่อต่างๆ

“กรมสรรพากรทราบว่า การรับโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารนั้นมิได้หมายความว่าเงินจำนวนทั้งหมดต้องนำไปเสียภาษี เนื่องจากในหลายกรณีมิได้เป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี เช่น การคืนเงินกู้ยืม การรับเงินที่ฝากไปทำบุญแทน และการโอนหรือถอนเงินเข้าบัญชีตัวเอง เป็นต้น โดยกรมสรรพากรจะนำข้อมูลที่ได้รับไปประมวลผลร่วมกันกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อประกอบการจัดกลุ่มผู้เสียภาษีในการดูแลและให้บริการที่เหมาะสมต่อไป “นายปิ่นสายกล่าว

นายปิ่นสาย ย้ำว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่ทำให้ใครต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น และตามปกติแล้วทุกคนที่มีรายได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้ถูกต้อง อย่างเช่นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2-8) กำหนดให้ต้องเสียภาษีเหมาจ่าย 0.5% ของรายได้ ดังนั้น หากกลุ่มผู้ค้าออนไลน์มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี คือ มีรายได้เข้ามาเข้าในบัญชี 2 ล้านบาท ก็จะเสียภาษีเพียง 10,000 บาท หรือล้านละ 5,000 บาทเท่านั้น

นายปิ่นสาย ยังระบุว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นมาแล้ว 3 ครั้ง ตั้งแต่เดือนส.ค.2560-ก.ย.2561 และกระบวนการตรากฎหมายอย่างรอบคอบ โดยได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิของบุคคล การรักษาความเป็นส่วนตัว และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างถี่ถ้วนแล้ว ขณะที่การจัดเก็บภาษีอากรมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยรายได้ให้รัฐนำไปใช้จัดบริการสาธารณะต่างๆแก่ประชาชน

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า