“เศรษฐพงค์” แนะรัฐกระตุ้นเอกชนลงทุนเทคโนโลยีรับมือ “เศรษฐกิจ 5G”

“เศรษฐพงค์” แนะรัฐบาลรับมือผลกระทบ “เศรษฐกิจ 5G” กระตุ้นเอกชนลงทุนเทคโนโลยีระยะยาว พร้อมปรับปรุงกฎระเบียบให้เท่าทัน

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และอดีตรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทข.) เปิดเผยว่า เทคโนโลยี 5G เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ( AI) Big Data และการวิเคราะห์ (analytics) จะอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างมาก และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งจะทำให้เกิดอาชีพใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน และอาชีพเก่าหลายอาชีพกำลังจะจากไป

โดยเฉพาะเทคโนโลยี 5G ไม่เพียงแค่การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตไร้สายเท่านั้น แต่ยังเป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และทำให้เศรษฐกิจข้อมูล (information economy) เติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยความรวดเร็ว และคุณภาพของการไหลของข้อมูลที่ดีขึ้น

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ระบุว่า เทคโนโลยี 5G จะแก้ปัญหาคอขวดที่ขัดขวางการไหลของทรัพยากรข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลในศตวรรษที่ 21 โดยสิ่งที่จะมีการเปลี่ยนแปลง เพราะเทคโนโลยี 5G มี 5 ประการหลักๆ คือ

1.เทคโนโลยี 5G จะนำพาการเชื่อมต่อไปสู่แพลตฟอร์ม ด้วยการทำลายอุปสรรคขวางกั้นของสถานที่และเวลา (ubiquitous) ทำให้มนุษย์และสรรพสิ่งต่างๆ เชื่อมโยงกันได้

2.ทุกอย่างจะอยู่บนออนไลน์ไม่ว่าการให้บริการใดๆ ซึ่งสิ่งดังกล่าวถือว่ายังไม่ได้เกิดขึ้นในวันนี้ แต่ในอนาคตอันใกล้ 5G จะทำการเชื่อมต่อกับออนไลน์เป็นสิ่งที่จะถูกกำหนดมาจากผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่างอัตโนมัติ โดยผู้ใช้ไม่ต้องเป็นคนทำการเชื่อมต่อด้วยตัวเอง

3.สรรพสิ่งและธุรกิจทั่วโลกจะเชื่อมต่อกับคลาวด์ โดย 5G จะทำให้การเชื่อมต่อดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบ จนจะทำให้ขีดความสามารถในการคำนวณเพิ่มขึ้นอย่างมหัศจรรย์

4.อุปกรณ์ต่างๆจะเปลี่ยนโฉมใหม่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยการเชื่อมต่อจะถูกบริหารจัดการโดยปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ซึ่งจะทำให้การให้บริการต่างๆ เป็นไปอย่างอัตโนมัติและสามารถพยากรณ์พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำ

และ5.ประสบประการของมนุษย์บนโลกจะเปลี่ยนไปเนื่องจากอุปสรรคขัดขวางด้านเวลา สถานที่ และระยะทาง ได้ถูกทำลายไปโดยสิ้นเชิง โดยการเชื่อมโยงของ 5G สู่ระบบออนไลน์และการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคลาวที่มีประสิทธิภาพในการคำนวณอย่างยิ่ง

“จากการเปลี่ยนแปลง 5 ประการดังกล่าว จะทำให้ทักษะแรงงานและรูปแบบการทำงานของแรงงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ดังนั้น รูปแบบการทำงานจะต้องมีความยึดหยุ่นสูง รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับลูกค้าจำนวนมหาศาลจะต้องเปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นในการให้บริการตลอดเวลา 24 ชั่วโมงไม่ว่าจะอยู่ที่ใดและเวลาใด ต้องสามารถเชื่อมต่อได้ตลอดเวลา”พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์กล่าว

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ยกตัวอย่างว่า เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต 5G ที่ส่งข้อมูลได้ในระดับหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาที (Mbps) จะทำให้ eSports เข้าถึงจุดที่เรียกว่าเป็นกระแสหลักในยุค 5G และเกิดอาชีพใหม่มากมาย เช่น เกมเมอร์มืออาชีพ (Professional Player) , นักพากย์เกมและการแข่งขัน, Streamer ที่เป็นผู้เล่นเกมและทดสอบให้ผู้ชมแฟนคลับดู, ผู้ฝึกสอน, ผู้จัดการแข่งขันอีสปอร์ต ,ทีมงาน Production สร้างงานแข่งขันอีสปอร์ต, Developer นักพัฒนาเกม เป็นต้น

นอกจากนี้ GlobalData ยังคาดการณ์ว่า ภายในปี 2020 ลูกจ้างมากกว่าครึ่งในสหรัฐจะทำงานโดยไม่ต้องอยู่ที่ทำงาน และการทำงานที่ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่และเวลาจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนภายในปี 2020

ขณะที่บริษัท Qualcomm Technologies, Inc. ได้ทำการศึกษาเศรษฐกิจ 5G พบว่า ภายในปี 2035 เมื่อระบบ 5G แพร่กระจายไปทั่วโลก จะทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ค้าปลีก การศึกษา การขนส่ง ความบันเทิง และอื่นๆ จะสร้างมูลค่าได้มากถึง 12.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากสินค้าและบริการที่เกิดจากการใช้งาน  5G และห่วงโซ่คุณค่า 5G จะสามารถสร้างรายได้สูงถึง 3.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2035 แล้ว ยังจะสร้างงานได้มากถึง 22 ล้านตำแหน่ง

“ผลศึกษาของ Qualcomm ระบุว่า เมื่อเวลาผ่านไป 5G จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของ GDP ทั่วโลก โดยคาดว่า GDP โลกจะเพิ่มขึ้น 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากปี 2020 ถึงปี 2035”พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์กล่าว

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ เสนอว่า จากการเร่งตัวของเศรษฐกิจ 5G หน่วยงานที่กำหนดนโยบายจะต้องดำเนินการใน 3ด้าน คือ 1.เปิดให้บริษัทต่างๆมีการลงทุนในระยะยาว และมีการวิจัยและพัฒนา 2.สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการพัฒนามาตรฐาน 5G และสร้างระบบนิเวศ 5G และ3.สร้างความมั่นใจว่ากฎระเบียบและการอนุญาตนั้น เท่าทันกับการเติบโตของนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

“ความท้าทายสำหรับผู้กำหนดนโยบายในเศรษฐกิจ 5G คือ ผู้กำหนดนโยบายจะต้องเตรียมพร้อม เพื่อรับมือกับเทคโนโลยี 5G ทั้งผลกระทบด้านสังคมและในภาคอุตสาหกรรม โดยปราศจากการสร้างกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่จะเป็นการหยุดยั้งการเกิดนวัตกรรม”พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์กล่าว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า