ผู้ว่าการธนาคารกลาง 4 ชาติ “ไทย-อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ฟิลิปปินส์” ลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงใช้ “สกุลเงินท้องถิ่น” ซื้อขายสินค้า-ลงทุนระหว่างกัน ลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ในระหว่างการประชุมธนาคารกลางอาเซียน ผู้ว่าการธนาคารกลาง 4 ประเทศ ได้แก่ ธนาคารกลางอินโดนีเซีย ธนาคารกลางมาเลเซีย ธนาคารฟิลิปปินส์ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้การลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงการจัดตั้งกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่น 3 ฉบับ เพื่อส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการชำระค่าสินค้าบริการและการลงทุน ประกอบด้วย
1.การลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงการจัดตั้งกลไกชำระเงินเปโซ และรูเปีย ระหว่างผู้ว่าการธนาคารกลางฟิลิปปินส์ และผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย
2.การลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงการจัดตั้งกลไกชำระเงินเปโซ และริงกิต ระหว่าง ผู้ว่าการธนาคารกลางฟิลิปปินส์ และ ผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซีย
3.การลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงการจัดตั้งกลไกชำระเงินเปโซ และบาท ระหว่าง ผู้ว่าการธนาคารกลางฟิลิปปินส์ และ ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ การลงนามในหนังสือแสดงเจตจานงการจัดตั้งกลไกการชาระเงินสกุลท้องถิ่นทั้ง 3 ฉบับ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมการชาระเงินสกุลท้องถิ่นในภูมิภาคอาเซียน และความสนใจร่วมกันของทั้ง 4 ประเทศที่จะจัดตั้งกลไกดังกล่าว ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกธุรกรรมทางการค้าและการลงทุน ระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย โดยภาคเอกชนจะได้รับประโยชน์ผ่านการลดต้นทุนในการทาธุรกรรมทางการเงิน
รวมทั้งจะมีทางเลือกในการใช้เงินสกุลในการชาระธุรกรรมการค้าหลากหลายมากขึ้น ช่วยลดการพึ่งพาการใช้เงินสกุลหลักในภาวะที่ตลาดการเงินโลกมีความผันผวน อีกทั้งยังจะช่วยสนับสนุนให้มีการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมากขึ้น นาไปสู่การพัฒนาตลาดการเงิน และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจการเงินในภูมิภาคที่แน่นแฟ้น
นอกจากนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซีย และธนาคารแห่งประเทศไทย ยังตกลงที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายขอบเขตการจัดตั้งกลไกการชาระเงินสกุลท้องถิ่น
ปัจจุบันเงินดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินที่ใช้กำหนดราคากลางชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศมากที่สุด แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เงินดอลลาร์สหรัฐ มีความผันผวนมากขึ้น ในขณะที่ตลาดการค้าของไทยไม่ได้พึ่งพิงตลาดสหรัฐ มากเท่าในอดีต หากแต่มีตลาดการค้าใหม่ๆ ที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจีน และอาเซียน เป็นต้น