สรุปชัด “ภาษีที่ดิน” ใครต้องจ่ายบ้าง?

ไม่เพียงแค่ภาษีเงินได้ และภาษีป้ายเท่านั้นที่เราจะต้องจ่ายให้แก่รัฐเป็นประจำทุกปี แต่ยังมีภาษีที่ดินที่เราต้องจัดการให้เรียบร้อยด้วยเช่นกัน ดังนั้น ใครที่มีชื่อในโฉนดที่ดินต้องเช็กด่วน ว่าเราต้องไปจ่ายภาษีที่ดินหรือไม่ และถ้าไม่จ่ายจะมีผลเสียอย่างไรบ้าง ตามมารู้กันได้ในบทความนี้

ภาษีที่ดินคืออะไร?

ภาษีที่ดิน คือ ภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะคิดตามมูลค่าของที่ดินที่ถือครอง เพื่อนำเงินไปพัฒนาท้องถิ่นและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ตามกฎหมาย โดยสามารถดำเนินการชำระภาษีที่ดินได้ด้วยตัวเอง ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพื้นที่ที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ ดังนี้

  • กรุงเทพฯ : สำนักงานเขตในพื้นที่ที่ดินตั้งอยู่
  • ต่างจังหวัด : สำนักงานเทศบาล/ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบล/ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีกฎหมายกำหนด หรือสถานที่อื่น ที่ผู้บริหารท้องถิ่นกำหนด รวมทั้งจุดบริการเคลื่อนที่ ที่อปท. เป็นผู้กำหนด
  • พัทยา : ศาลาว่าการเมืองพัทยา

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีที่ดิน?

ภาษีที่ดิน เป็นสิ่งที่ต้องจ่ายแต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ โดยผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินจะต้องอยู่ในเงื่อนไขประเภทบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่มีชื่ออยู่ในโฉนดที่ดิน ไม่ใช่ในทะเบียนบ้าน หรือเป็นผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น ๆ แต่ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน

ประเภทภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ในปัจจุบันได้แบ่งประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษีเอาไว้ 4 รายการ ดังนี้

ภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม

ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินที่ใช้สำหรับทำการเกษตร เช่น ที่ดินทำนา ที่ดินทำสวน ที่ดินปลูกพืชไร่ ที่ดินเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น โดยมีเพดานภาษีสูงสุดที่ 0.15% ของมูลค่าประเมิน

ภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย

ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ที่มีสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัย เช่น บ้านพัก อาคารพาณิชย์ (ที่มีอาคารอยู่อาศัยเป็นส่วนประกอบ) ที่ดินที่มีบ้านพักอาศัยปลูกสร้างอยู่ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมาย ซึ่งจะมีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.30% ของมูลค่าประเมิน

ภาษีที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม

ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินที่ใช้สำหรับกิจการพาณิชยกรรม เช่น ที่ดินที่ใช้ทำธุรกิจการค้า (ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ) ที่ดินที่ใช้ทำอาคารพาณิชย์ ที่ดินที่ใช้ทำโรงงาน เป็นต้น โดยมีเพดานภาษีสูงสุดที่ 1.20% ของมูลค่าประเมิน

ภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่า

ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ โดยปล่อยให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เป็นเวลาติดต่อกันตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยมีเพดานภาษีสูงสุดที่ 3% ของมูลค่าประเมิน

สำหรับผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีที่ดิน สามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราภาษีที่ดินในแต่ละปีได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมที่ดินเพิ่มเติม

ใครบ้างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษีที่ดิน?

  • เจ้าของที่ดินสิ่งปลูกสร้างราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท
  • เจ้าของที่ดินผืนแรก หรือบ้านหลังแรก ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท
  • เจ้าของที่ดินเพื่อการเกษตร ราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท (เฉพาะบุคคลธรรมดา) 
  • ผู้ที่ลงทะเบียนโฉนดที่ดินหลังวันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป 
  • ผู้เช่า/ผู้อาศัยที่ไม่มีรายชื่อจดทะเบียนในโฉนดที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินตามกฎหมาย

ค่าปรับที่ต้องรู้ หากไม่ได้ชำระภาษีที่ดินตามกฎหมาย

ภาษีที่ดินสามารถดำเนินการชำระได้ทุกปี โดยกำหนดให้ชำระภายในวันที่ 31 มกราคม ของปีถัดไป แต่หากชำระภาษีล่าช้า จะต้องเสียเบี้ยค่าปรับในอัตราที่แตกต่างกันได้ ดังนี้

  • เบี้ยค่าปรับ 10% ของภาษีที่ค้างชำระ ในกรณีไม่มาชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ได้มาชำระภาษีก่อนที่จะได้รับหนังสือแจ้งเตือน
  • เบี้ยค่าปรับ 20% ของภาษีที่ค้างชำระ ในกรณีที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือน และชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด 
  • เบี้ยค่าปรับ 40% ของภาษีที่ค้างชำระ ในกรณีมาชำระภาษีภายหลังจากที่เลยกำหนดในหนังสือแจ้งเตือน

ในกรณีที่เลยกำหนดการชำระ และยังไม่มาชำระ จะคิดอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อเดือนของเงินที่ค้างชำระ และมีโทษทางอาญา จำคุกสูงสุด 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท

ถึงตรงนี้ หลายคนคงเข้าใจในเรื่องการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกันมากขึ้นแล้ว และรู้ว่าประเภทภาษีที่ดินมีแบบไหนบ้าง สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดความรู้รอบตัวดี ๆ แบบนี้ สามารถติดตามข่าวทั่วไทยที่จะรวบรวมข่าวภูมิภาคน่ารู้รอบด้านจาก Bright Today เอาไว้ได้เลย รับรองว่าไม่พลาดทุกข่าวสารที่คุณต้องรู้ก่อนใครแน่นอน! 

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. กรมที่ดิน. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2566 จาก https://www.dol.go.th/Pages/home.aspx
  2. [สรุป] ภาษีที่ดิน 2566 ต้องจ่ายเท่าไหร่ เช็คอัตราภาษี. moneybuffalo. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2566 จาก https://www.moneybuffalo.in.th/tax/how-much-land-tax-do-i-have-to-pay
  3. สรุปครบจบ! ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เสียเท่าไร ใครที่ต้องจ่าย ฉบับปี 2566. kasikornbank. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2566 จาก https://www.kasikornbank.com/th/propertyforsale/article/pages/know-about-land-tax-in-2023.aspx
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า