จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เคาะเพิ่ม 3 รายการสินค้าห้ามซื้อ ในการแจก เงินดิจิทัล 10,000 บาท – หั่นเงิน “ธก.ส.” งบเหลือ 4.5 แสนล้าน
สำหรับ โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) ที่ก่อนหน้านี้ได้มีการนำเสนอ รายละเอียดเงื่อนไขเกณฑ์การ แจกเงินดิจิทัล 10000 บาท ซึ่งจะมี หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และระบบที่จะใช้ในการแจกเงินในโครงการนี้ดังนี้
สินค้าที่เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้อไม่ได้
-สลากกินแบ่งรัฐบาล
-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-ยาสูบ
-กัญชา
-กระท่อม
-พืชกระท่อม
-ผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อม
-บัตรกำนัล
-บัตรเงินสด
-ทองคำ
-เพชร
-พลอย
-อัญมณี
-น้ำมันเชื้อเพลิง
-ก๊าซธรรมชาติ
ขณะเดียวกัน ในการประชุมอนุกรรมการฯ วันนี้ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สำหรับสินค้า Negative List ยังไม่มีการพิจารณาเพิ่มเติม ซึ่งจะมีการนัดประชุมอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ตามที่ได้มีการนำเสนอไปก่อนหน้านี้
ทำให้ ล่าสุด (10 ก.ค. 2567) นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกาคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ได้ เห็นชอบปรับเพิ่มรายการสินค้า ที่ไม่สามารถใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต ได้อีก 3 รายการ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์สื่อสาร

ทั้งนี้ ยกตัวอย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน เนื่องจากต้องการให้เม็ดเงินดิจิทัล เกิดกระตุ้นการใช้จ่ายกับสินค้าที่ผลิตในประเทศ อีกทั้งยังป้องกันการกระจุกตัวจากการใช้จ่าย เพราะสินค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีราคาสูง และผลิตจากนอกประเทศ ส่วนปุ๋ยเคมียังอนุญาตให้เงินดิจิทัลซื้อได้อยู่
“ขอย้ำว่าทั้งหมดยังเป็นมติของคณะอนุกรรมการกำกับ และหลังจากนี้จะต้องเสนอให้ที่ประชุมชุดใหญ่ ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นฝ่ายพิจารณา ในวันที่ 15 ก.ค.นี้ ว่าจะเห็นด้วยตามนี้หรือไม่ ซึ่งจะต้องรอความชัดเจนอีกที”
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า โครงการดิจิทัล จะเดินหน้าตามเดิม เริ่มลงทะเบียนภายในปลายเดือนนี้ หรือต้นเดือนหน้า และปิดลงทะเบียนก่อนสิ้นเดือนก.ย.67 และประชาชนจะได้รับเงินไปใช้ได้ไตรมาส 4 เหมือนเดิม โดยนายกฯ จะมีการแถลงทางการอีกครั้งวันที่ 24 ก.ค.นี้
สำหรับเงื่อนไขคุณสมบัติยัง ยึดตามเดิม
–เกณฑ์อายุ 16 ปี ภายในวันที่ 30 ก.ย.67
–เงินฝากไม่เกิน 5 แสนบาท ภายในวันที่ 31 มี.ค.67
–รายได้ไม่เกิน 8.4 แสนบาท ใช้เกณฑ์ข้อมูลรายได้ภาษีย้อนหลัง ปีภาษี 2566
-สำหรับการใช้จ่ายอื่นยังให้ตามเดิม โดยการใช้จ่ายรอบแรกจากประชาชนไปร้านค้ายังต้องใช้จ่ายร้านค้าภายในอำเภอ และมีรายการสินค้าต้องห้าม
ขณะที่การใช้จ่ายระหว่างร้านค้าไม่จำกัดพื้นที่ ส่วนการถอนเงินออกต้องเป็นร้านค้าในระบบภาษี และเพิ่มเติมต้องมีการลงทะเบียนด้วยเบอร์โทรศัพท์แบบรายเดือนเพื่อป้องกันการทุจริต
ทั้งนี้ เรื่องระบบยืนยันตัวตนไม่มีปัญหา ยืนยันว่าจะจบในไตรมาส 3 ของปีนี้ โดยขณะนี้ประชาชน และร้านค้าสามารถเข้าไปยืนยันตัวตนล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” สำหรับดำเนินการ KYC ได้ เพื่อป้องกันระบบมีปัญหา หากประชาชนเข้าใจงานพร้อมกันจำนวนมาก ขณะเดียวกัน คาดว่าจะมีร้านค้าเข้ามาในโครงการไม่ต่ำกว่า 3 ล้านราย
อีกทั้งยังมีการประชุมคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการกำกับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เพื่อสรุปเงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งหมดสู่ คณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ในวันจันทร์ที่ 15 ก.ค. นี้
