นักวิทย์ชี้ ไดโนเสาร์ เริ่มสูญพันธุ์ เร็วกว่าที่หลายคนเข้าใจถึง 2 ล้านปี เมื่อ 66 ล้านปีก่อน อาจเป็นเพียงฟางเส้นสุดท้ายเท่านั้น
เมื่อไม่นานนี้ วารสารพีเอ็นเอเอส (PNAS) ของสหรัฐฯ เผยแพร่ผลการศึกษาที่พบว่า “ไดโนเสาร์” เข้าสู่ภาวะสูญพันธุ์เร็วกว่าความเชื่อเดิมอย่างมาก และหายนะเมื่อ 66 ล้านปีก่อน อาจเป็นเพียงฟางเส้นสุดท้ายเท่านั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพระดับต่ำของไดโนเสาร์ที่ไม่ใช่นก (non-avian) เกิดขึ้นราว 2 ล้านปี ก่อนที่พวกมันจะสูญพันธุ์ไปทีมนักวิทยาศาสตร์จีนเก็บตัวอย่างเปลือกไข่ไดโนเสาร์มากกว่า 1,000 รายการ จากชุดลำดับชั้นหินต่อเนื่องที่เต็มไปด้วยฟอสซิล ความหนาราว 150 เมตร ในแอ่งซานหยาง มณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่พบหลักฐานเกี่ยวกับไดโนเสาร์จากชุดลำดับชั้นหินยุคครีเทเชียสตอนปลายมากที่สุด

- ค้นพบฟอสซิลไข่ 2 ฟองของ ฮาโดรซอร์ ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ อายุราว 66-72 ล้านปี
- แห่แชร์! เพจโพสต์ขาย ไดโนเสาร์ 11 ตัว จากสวนน้ำพันท้ายนรสิงห์ ราคาเหมา ๆ 5.5 ล้าน!
- สุดทึ่ง! จีนขุดพบ ฟอสซิลไข่ไดโนเสาร์ มาจากยุคครีเทเชียส
คณะนักวิจัยพบลำดับขั้น (taxa) เปลือกไข่ไดโนเสาร์เพียง 3 ชนิด ในดินตะกอน 2 ชั้น ที่ทับถมระหว่าง 68.2-66.4 ล้านปีก่อน บ่งชี้ว่าไดโนเสาร์ในยุคนั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ โดยผลการค้นพบนี้สนับสนุนการลดลงระยะยาวของความหลากหลายทางชีวภาพของไดโนเสาร์ทั่วโลกก่อนเกิดการสูญพันธุ์
เหตุการณ์หายนะช่วงปลายยุคครีเทเชียส ซึ่งเกิดจากดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกหรือภูเขาไฟระเบิด ตามด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศครั้งใหญ่ ถือเป็นการทำลายล้างไดโนเสาร์ครั้งสุดท้าย ขณะระบบนิเวศของสัตว์ดึกดำบรรพ์เหล่านี้เปราะบางอยู่ก่อนแล้ว

ภาพจาก Markus Spiske / Amy Baugess@amybaugess
ข้อมูลจาก xinhuathai
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY