ประเด็นดราม่า “ไข่ต้ม” หนังสือวิชาภาษาไทย ป.5 สะท้อนปัญหา การใช้ชีวิต เป็นอยู่อย่างพอเพียง
จากกรณีที่เป็นประเด็นดราม่าอยู่ล่าสุด กับ หนังสือวิชาภาษาไทย ป.5 ให้ข้อคิดเรื่องคุณค่าชีวิต ผ่านเรื่องราว “ด.ญ.ใยบัว” กินข้าวคลุกน้ำปลา กับไข่ต้มครึ่งซีก ทำโซเชียลวิพากวิจารณ์กันสนั่น ในเรื่องการใส่ใจด้านโภชนาการ จากเพจ facebook บันทึกหมอเดว ของ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม และ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ได้ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ โดยมีประเด็นสำคัญๆ อยู่ 3 เรื่อง
1.โภชนาการเท่านั้น
2.ประเด็นอ่อนไหวทางจิตใจ
3.ประเด็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
กรณีความเหลื่อมล้ำ ที่มีครอบครัวร่ำรวย สอนลูกไม่เป็น ไม่ซื้อโทรศัพท์ รุ่นใหม่ให้ลูก (ในตำรา) จนเด็กสะท้อน บ่นอยากตาย

สำหรับตำราเรียน
ในวัยเรียนความจริงถ้าหากแก้ไขได้ อยากให้ตัดประเด็นบ่นอยากตายออก แม้อาจจะบอกว่าชีวิตจริงก็อาจจะมีให้พบเห็นได้ แต่นี่คือตำราเรียนมาตรฐาน ชั้น ป.5 ที่กระทรวงรับรองเพื่อใช้ทั่วไป (ความพยายามอยากตาย Suicidal Idea จากภาวะซึมเศร้าจะพบในเด็กวัยรุ่น ส่วนใหญ่ ระดับมัธยม) แต่ในวัยเรียนมักเกิดจากภาวะน้อยใจ พูดประชด เลียนแบบ เด็กบางคนเลียนแบบไปทำจริง
ฉะนั้น การที่ตำราสะท้อนคำนี้ ออกมาในช่วงวัยแบบนี้ ที่ยังไม่เข้าใจเรื่อง death perception ที่ดีพอ อาจเกิดความเข้าใจผิดต่อเด็กกันเองได้ ยังไม่นับกรณีที่ หากช่วยให้เด็กเข้าใจ sense of property ผ่านตำราบทนี้จะดีมาก กล่าวคือ โทรศัพท์ที่พ่อแม่ซื้อมาให้ลูกนั้น เป็นของพ่อแม่ ไม่ใช่ของลูก เพียงแต่ พ่อแม่ให้ยืมใช้ แต่ทุกวันนี้ผู้ใหญ่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อน เหมือนซื้อยกให้ลูกเลย จึงทำให้เด็กเกิดวัตถุนิยมเกิดขึ้นเต็มไปหมด

กรณีไข่ต้ม กับ ภาวะโภชนาการ ที่อาจทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เข้าใจผิด เรื่องสภาวะโภชนาการหากจะยกตัวอย่างบ้านกำพร้า ส่วนตัว ความเห็นว่า อย่าสร้างประเด็นซ้อนประเด็น ให้เป็นโภชนาการที่ครบหมู่ สไตล์บ้านๆ ที่สะท้อนเรียบง่ายแต่มีความสุข แบ่งปันกัน ก็พอแล้ว ไม่ควรสร้างประเด็นซ้อนเพิ่ม ให้สับสนว่า กินแบบนี้ก็ได้ในตำรา กินแค่ไข่ต้มน้ำปลา น้ำผัก แล้วก็มีความสุข (โปรดเข้าใจด้วยว่า หากแม้ในสังคมผู้ใหญ่ยังสามารถตีความได้สับสน จะนับประสาอะไรกับเด็กที่เรียนตำรา) สู้ทำstory กินครบหมู่ แต่แบ่งปันกันมีความสุข จะดีกว่า
กรณีความเข้าใจผิด กับ การดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง
ในฐานะที่ทำงาน ศูนย์คุณธรรม อยากทำความเข้าใจ ปรัชญาพอเพียง ว่า พอเพียง มิใช่หมายถึง การสะท้อนให้เห็นความยากจนทนกัดก้อนกินเกลือ อย่างมีความสุข หรือ หมายถึงการมีน้อยๆ ใช้น้อยๆ หากแต่ ปรัชญาพอเพียงนั้น สะท้อนให้ทุกคนทุกชีวิต ต่อให้ร่ำรวย ยากจน จะเป็นเด็กหรือ ผู้ใหญ่ในเมือง ชนบทล้วน ต้องมีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนไขความดี และใช้ปัญญา ฉะนั้น “ดราม่าโชว์ การกินไข่ต้ม สะท้อนตนเองว่า กำลังใช้ชีวิตอย่างพอเพียงนั้น จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนฝากถึงกระทรวงศึกษาธิการ หากตำราลักษณะนี้ ออกมา ท่านต้องเตรียมความพร้อมครู เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กผู้เรียน”
“สะท้อนความรู้สึก สะท้อนความคิดเห็น สะท้อนการแก้ปัญหา เวลาเด็กเผชิญเหตุ” หมดเดวกล่าว

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY