ธนาคารโลก เผย อัตรา ความยากจน ของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น

ธนาคารโลก ลงบทความหัวข้อ อัตรา ความยากจน ของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ชี้ ระหว่างปี 2558- 2561 อัตราความยากจนของประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.2 เป็นร้อยละ 9.8

รายงานฉบับล่าสุดของธนาคารโลกได้วิเคราะห์ความยากจนและแนวโน้มความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยจากสถิติอย่างเป็นทางการของภาครัฐ พบว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการลดความยากจนตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จากเมื่อปี 2531ที่มีสัดส่วนคนยากจนมากกว่าร้อยละ 65 เป็นต่ำกว่าร้อยละ 10 ในปี 2561 อย่างไรก็ตาม การเติบโตของรายได้ครัวเรือนและการบริโภคได้หยุดชะงักลงทั่วประเทศตลอดหลายปีที่ผ่านมาส่งผลให้ความก้าวหน้าในการลดความยากจนของประเทศไทยถดถอยลง พร้อมกับจำนวนประชากรยากจนที่เพิ่มขึ้น

ระหว่างปี 2558- 2561 อัตราความยากจนของประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.2 เป็นร้อยละ 9.8 อีกทั้ง จำนวนประชากรที่อยู่ในภาวะยากจนเพิ่มขึ้นจาก 4,850,000 คนเป็นมากกว่า 6,700,000 คน ความยากจนที่เพิ่มขึ้นในปี 2561 นี้กระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาคใน 61 จังหวัดจาก 77 จังหวัดทั่วประเทศ ในช่วงเวลานี้ จำนวนประชากรที่ยากจนในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นกว่าครึ่งล้านคนในแต่ละภาค ในขณะที่ อัตราความยากจนในพื้นที่ขัดแย้งสามจังหวัดชายแดนใต้สูงที่สุดเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2560

รายงานฉบับนี้วิเคราะห์ว่าความยากจนที่เพิ่มขึ้นเร็ว ๆ นี้นั้น เกิดขึ้นพร้อมกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นใหม่และเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจไทย ช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยมีอัตราการเติบโตต่ำกว่าประเทศกำลังพัฒนาที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) มีอัตราการเติบโตต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้ คือ ร้อยละ 2.7 ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 นอกจากนี้ ภาวะภัยแล้งได้เริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มที่ยากจนที่สุดอยู่แล้ว

“แนวโน้มความยากจนในช่วงที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า แม้ประเทศไทยจะมีการพัฒนาการด้านเศรษฐกิจที่ดีในระดับหนึ่ง แต่กระนั้น ครัวเรือนก็ยังมีความเปราะบางต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอ” เบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทยกล่าว “การที่ประเทศไทยจะก้าวสู่สถานะประเทศที่มีรายได้สูงอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้นั้น ครัวเรือนของประเทศไทยต้องได้รับการปกป้องจากการที่รายได้ของครัวเรือนปรับลดลงรุนแรง เช่น จากความเจ็บป่วย การตกงาน และภัยธรรมชาติที่ดีกว่านี้ ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ประเทศไทยต้องสนับสนุนให้มีการสร้างงานที่มีผลิตภาพและงานที่มีค่าจ้างที่สูงกว่านี้”

นับตั้งแต่ปี 2531 ซึ่งเป็นปีแรกที่ได้จัดพิมพ์อัตราความยากจนอย่างเป็นทางการอย่างต่อเนื่อง จากสถิติพบว่า ที่ผ่านมาอัตราความยากจนของไทยเพิ่มขึ้น 5 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดคือปี 2561 และ 2559 นอกจากนี้ ยังเกิดขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ 3 ครั้งในปี 2541, 2543 และ 2551 ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในกลุ่มอาเซียนที่มีอัตราความยากจนเพิ่มขึ้นหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา

ขณะที่ประเทศไทยมีตัวชี้วัดระดับสากลด้านภาวะความเป็นอยู่ที่ดีในระดับที่ดี เช่น การเข้าเรียนของเด็กปฐมวัย การมีน้ำใช้ สุขาภิบาล และการมีไฟฟ้าใช้ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน อีกทั้ง อัตราความยากจนระดับรุนแรงของประเทศไทยที่ใช้มาตรฐานสากลเป็นตัววัด คือจำนวนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.90 เหรียญสหรัฐต่อวันมีเพียงร้อยละ 0.03 แต่อย่างไรก็ดี ความเหลื่อมล้ำยังคงเป็นประเด็นสำคัญของประเทศไทย ความมั่งคั่งยังคงไม่ได้กระจายอย่างทั่วถึงไปสู่ประชากรที่มีรายได้ต่ำล่างสุดร้อยละ 40 ได้ดีนัก ในช่วงปี 2558-2560 ที่ผ่านมายังพบว่า ประชากรกลุ่มนี้มีการบริโภคและรายได้ติดลบอีกด้วย แนวโน้มการเติบโตที่พลิกผันของกลุ่มประชากรกลุ่มนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ เกิดจากรายได้แรงงานทุกประเภทลดลง รวมถึงการหยุดนิ่งของการเพิ่มค่าแรง และรายได้จากภาคการเกษตรและธุรกิจลดลง

“ความเหลื่อมล้ำเป็นประเด็นที่ต้องการรายละเอียดมากขึ่นรวมถึงความเข้าใจเรื่องความเปราะบางในเรื่องต่างๆ เพื่อที่ประเทศไทยจะได้ก้าวไปสู่การสร้างสังคมที่กระจายความมั่งคั่งได้ทั่วถึงทุกคน” จูดี้ หยาง นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกและผู้เขียนรายงานนี้กล่าว “การกำจัดความยากจนที่ฝังรากมานานต้องใช้ยุทธศาสตร์ที่ต้องนำการบรรเทาความเสี่ยงในระยะสั้น และประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่ต้องการการลงทุนในระยะยาวมาพิจารณาอย่างทั่วถึง”

รายงานฉบับนี้เรียกร้องให้มีมาตรการและการลงทุนเพื่อช่วยเปลี่ยนผ่านประเทศไทย ในระยะสั้น ประเทศไทยต้องมีการบังคับใช้โครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม นอกจากนี้ ต้องมีการระบุประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้เที่ยงตรงกว่านี้ และต้องดำเนินอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างงานที่ดีกว่าให้กับครัวเรือนในภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้

ในระยะยาว การลงทุนในคนรุ่นใหม่อย่างเท่าเทียมกันถือเป็นประเด็นสำคัญ คนรุ่นต่อไปจะมีจำนวนน้อยลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและอัตราการเจริญพันธุ์ลดลง เด็กทุกคนต้องได้รับความใส่ใจอย่างเท่าเทียมและได้รับโอกาสทางสุขภาพและการศึกษาอย่างเสมอภาคเพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถพัฒนาไปถึงศักยภาพพวกเขาไปถึงจุดสูงสุดได้ ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ครัวเรือนหลุดพ้นจากกับดักความยากจนจากคนรุ่นก่อน ช่วยส่งเสริมกลุ่มประชากรสูงวัย และกระตุ้นโอกาสการเติบโตของประเทศไทย

ขอบคุณข้อมูลจาก http://bit.ly/2uZhFBB

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

เหตุเครนถล่มวุ่น! คนงานปิดล้อมตร.-จนท. ไม่ให้นำศพออกจากจุดเกิดเหตุ

วุ่นนาน 3 ชม. คนงานไซต์ก่อสร้าง ไม่ยอมให้กู้ภัยนำร่างผู้เสียชีวิตเหตุ เครนถล่ม ออกจากพื้นที่ หวั่นไม่ได้รับเงินชดเชย ตามที่ร้องขอ

ด่วน! เครนยักษ์ ถล่มทับคนงาน เบื้องต้นมีรายงานการเสียชีวิต 6 ราย

ด่วน! เครนยักษ์ ถล่มทับคนงาน ไซด์งานก่อสร้าง ในโรงงานแห่งหนึ่ง ในจ.ระยอง เบื้องต้นมีรายงานการเสียชีวิต 6 ราย

ทัวร์ลงยับ! หนุ่มสงสัย หลังได้ใบสั่ง ‘ไม่จอดรถให้คนข้าม’ ลั่น ข้อหานี้มีด้วยเหรอ?

หนุ่มสงสัย! โพสต์โวยได้ใบสั่ง ‘ไม่จอดรถให้คนข้ามถนน’ แต่คดีพลิก เมื่อชาวเน็ตพาทัวร์ย้อนกลับ ไปสอบใบขับขี่มาจากไหน

เจ้าของร้านหมูกระทะ แจงดราม่า ใช้ไม้เรียวตีพนักงาน เป็นไปตามข้อตกลง

แขวะกลับแรง! เจ้าของร้านหมูกระทะ ย่านพัทยา แจงดราม่า ใช้ไม้เรียวตีพนักงาน พร้อมโพสต์เฟซฟาดชาวเน็ต อย่าตัดสินอะไรที่ยังไม่รู้จากปาก
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า