จากการปฏิวัติสยามสู่การเลือกตั้งครั้งแรกของไทย

หลังจากที่ฝุ่นควันทางการเมืองตลบอบอวลมาหลายเดือน แต่ในตอนนี้ได้ข้อสรุปอย่างเป็นทางการแล้วว่า ‘เศรษฐา ทวีสิน’ คือนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 30 ของประเทศไทย เนื่องจากพรรคเพื่อไทยสามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม บทความนี้ไม่ได้มากล่าวถึงเหตุการณ์ในปัจจุบัน แต่จะพานักอ่านทุกคนย้อนเวลากลับไปสำรวจประวัติศาสตร์ในการเลือกตั้งครั้งแรกของไทย ว่าเหตุการณ์ในครั้งนั้นมีอะไรที่น่าสนใจเกิดขึ้นบ้าง และเป็นภาพสะท้อนของภูมิทัศน์การเมืองในปัจจุบันได้อย่างไร ติดตามได้เลย

จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ประชาธิปไตย

หากจะกล่าวถึงการเลือกตั้งครั้งแรกของไทย ก็คงต้องเริ่มที่เหตุการณ์สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์อย่าง “การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475” เนื่องจากก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงทำให้ไม่เคยมีการเลือกตั้งของไทยมาก่อน

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 มีจุดเริ่มต้นของจากการที่ “คณะราษฎร” ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความคิดและความเชื่อร่วมกันในการนำพาประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้า โดยมุ่งเน้นการปฏิรูปการเมืองการปกครอง เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศมากขึ้น จึงได้เริ่มวางแผนและเตรียมการในการปฏิวัติสยามมาเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งในฤกษ์งามยามดี คราวเมื่อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากกรุงเทพมหานครในช่วงแปรพระราชฐานฤดูร้อน โดยทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยพระองค์เสด็จไปประทับยังวังไกลกังวล ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำให้ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรจึงตัดสินใจนำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลสยาม โดยมีเป้าหมายสำคัญดังนี้

  1. เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. กำหนดรัฐธรรมนูญให้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
  3. ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประสบความสำเร็จลุล่วงด้วยดี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระราชบัญญัติฉบับนี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย

รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยเป็นรัฐธรรมนูญที่วางรากฐานของระบอบประชาธิปไตย โดยกำหนดให้มีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ แต่ทรงใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในประเทศไทย

การเลือกตั้งของไทย คะแนนของแต่ละพรรค ใครชนะ

การเลือกตั้งครั้งแรกของไทย

เมื่อประเทศไทย (หรือสยามในขณะนั้น) ได้เปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกได้สำเร็จ คล้อยหลังเพียง 1 ปี “การเลือกตั้งครั้งแรกของไทย” ก็ได้เกิดขึ้น เพื่อเป็นไปตามเจตนารมณ์กฎหมายสูงสุดของประเทศ

การเลือกตั้งครั้งแรกของไทยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 โดยเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 78 ที่นั่ง จาก 156 ที่นั่งของสภาผู้แทนราษฎร ส่วนอีก 78 ที่นั่ง ได้รับการแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 41.5% ของประชากรทั้งหมด ผลการเลือกตั้งครั้งแรกของไทยปรากฏว่า คณะราษฎรได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น โดยได้รับที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรถึง 78 ที่นั่ง ส่งผลให้พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย รับตำแหน่งต่อจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทยที่มาจากมติแต่งตั้งของผู้แทนราษฎรชั่วคราว

ถึงแม้จำนวนผู้เข้าร่วม รวมถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ จะด้อยกว่าการเลือกตั้งของไทยในปัจจุบันอย่างมาก แต่การเลือกตั้งครั้งแรกของไทยก็ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ เพราะถือเป็นก้าวแรกของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในแผ่นดินสยาม ทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศมากขึ้น

รู้ข่าวการเมืองไทยและทั่วโลกแบบรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำที่ Bright Today

ได้รู้กันไปแล้วว่าการเลือกตั้งครั้งแรกของไทยเป็นอย่างไร และได้สร้างรากฐานทางประชาธิปไตยในปัจจุบันไว้อย่างไร สำหรับคนที่ไม่อยากพลาดข่าวการเมืองไทยดี ๆ แบบนี้ สามารถเกาะติดทุกสถานการณ์ได้ที่ Bright Today มั่นใจได้ ว่าจะไม่พลาดทุกข่าวการเมืองประเทศไทย รวมถึงข่าวการเมืองต่างประเทศจากทั่วทุกมุมโลก อุ่นใจ รู้ข่าวสารก่อนใครแน่นอน

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. 15 พฤศจิกายน 2476 – เลือกตั้งครั้งแรกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2566 จาก https://thestandard.co/onthisday-15112476/
  2. การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยาม. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2566 จาก https://www.kpi.ac.th/uploads/pdf/yzcLrWu6N2tMpy9UKvivOw9rNigsoZ2oKQV5D2pm.pdf
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในไทย. kasikornbank. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2566 จาก https://parliamentmuseum.go.th/2566/ar66-election-2.html
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า