กรมควบคุมโรค ออกประกาศเตือนประชาชนเฝ้าระวัง 5 โรคอันตราย ในช่วงฤดูร้อน

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศให้ประชาชนรับรู้และแจ้งให้ระวังถึงโรคที่จะเกิดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศที่ร้อน และแห้งแล้งเหล่านี้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำ และอาหาร ปกติโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำสามารถเกิดได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูร้อนที่มีสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ซึ่งส่งผลให้อาหารบูดเสียง่าย รวมถึงความแห้งแล้ง อาจทำให้เกิดสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคติดต่อต่าง ๆ และภัยสุขภาพได้

กรมควบคุมโรคในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยที่คุกคามทางสุขภาพ มีความห่วงใยในสุขภาพของประชาชน จึงขอให้ประชาชนดูแลร่างกายและสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคและภัยสุขภาพ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ดังนี้

1. โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่

1.1 โรคอาหารเป็นพิษ

1.2 โรคอหิวาตกโรค

1.3 โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

1.4 โรคไวรัสตับอักเสบ เอ

1.5 ไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย

2. ภัยสุขภาพ ได้แก่

2.1 การเจ็บป่วย และเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน

2.2 การบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการจมน้ำ

5-โรคฤดูร้อน-2567-min

วันนี้ ไบทร์ทีวี (BrightTV) จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกับ 5 โรคยอดฮิตที่ควรระวังในฤดูร้อน ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ไกลตัวเอาซะเลย สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย โดยหลักๆแล้วเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือบูดเสียได้ง่าย รวมไปถึงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้ออีกด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เราไปดูวิธีการป้องกันเลย!

5 โรคฤดูร้อน ที่ต้องระวัง!

โรคอาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษ โรคยอดฮิตในช่วงฤดูร้อน เป็นภาวะที่เกิดจากรับประทานอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียเข้าไป ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องและท้องเสียถ่ายเหลวตามมา

อาหารที่กินแล้วเสี่ยงต่อการเป็น โรคอาหารเป็นพิษ

  • อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงต่างๆ ขนมหวาน
  • ส้มตำ และยำต่างๆบางร้านอาจใช้ปลาร้าไม่ได้มาตรฐาน ถั่วลิสงขึ้นรา กุ้งแห้งใส่สี ก็อาจทำให้ผู้รับประทานเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้
  • ขนมจีนน้ำยาต่างๆ เส้นขนมจีนทำมาจากแป้ง และบูดง่าย รวมถึงน้ำยากะทิก็เก็บได้ไม่นาน
  • อาหารทะเล ควรเลือกสดๆ และปรุงให้สุก หากพบมีกลิ่นเหม็นคาว หรือสีผิดปกติไป ไม่ควรรับประทานเด็ดขาด
  • สลัด การทานผักสดๆ มีโอกาสได้รับเชื้อโรคที่ติดมาจากขนส่งหรือภาชนะที่ใส่ ดังนั้นควรล้างผักด้วยน้ำให้สะอาดก่อนรับประทานเสมอ
  • น้ำและน้ำแข็ง กระบวนการทำน้ำแข็งบางครั้ง อาจไม่สะอาด

อาการ

  • มีไข้ ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • ถ่ายอุจจาระบ่อย เกินวันละ 3 ครั้ง
  • ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
  • มีอาการสูญเสียน้ำ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย กระหายน้ำ

โรคอหิวาตกโรค

โรคอหิวาตกโรค หรือในอดีตเรียกว่า โรคห่า เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae ในทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน โดยเชื้อจะไปอยู่ที่บริเวณลำไส้ และจะสร้างพิษออกมา เชื้ออหิวาตกโรคมักจะอยู่ในอุจจาระของผู้ป่วย ซึ่งในระยะนี้จะนำมาสู่การแพร่กระจายเชื้อ โดยมักมาจากการที่แมลงวันมาตอมอุจจาระ แล้วนำเชื้อไปติดอาหารหรือน้ำดื่มต่าง ๆ โอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตสูงถึง 50% หากอยู่ในระดับรุนแรง

สาเหตุของการเกิด โรคอหิวาตกโรค

  • อาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้ออหิวาตกโรค โดยมักเป็นอาหารที่มีแมลงวันมาตอม
  • อาหารทะเลที่สุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะอาหารทะเลจำพวกหอย
  • กินผักผลไม้ที่ไม่ได้ปอกเปลือก
  • สภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่ใช้อุปโภค-บริโภค
  • ติดต่อจากการใช้ของร่วมกันกับผู้ป่วยที่มีเชื่ออหิวาตกโรค

อาการ

  • ถ่ายเหลวเป็นน้ำปริมาณมากและบ่อย มีลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว อาจมีกลิ่นเหม็นคาว ผู้ป่วยอาจอุจจาระไหลออกมาโดยไม่รู้ตัวได้
  • คลื่นไส้อาเจียนอยู่หลายชั่วโมง แต่มักไม่มีไข้ และไม่มีอาการปวดท้อง
  • รู้สึกกระหายน้ำมาก อ่อนเพลีย
  • หากอาการรุนแรง มักจะมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะเลือดเป็นกรด ริมฝีปากแห้ง เป็นตะคริว ตัวเย็น เป็นต้น
  • อหิวาตกโรคมักจะหายได้ภายใน 1-5 วัน แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงแล้วไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะเข้าขั้นช็อก ชัก หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

โรคอุจจาระร่วงหรือท้องเสียเฉียบพลัน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต เนื่องจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด เป็นโรคที่พบได้บ่อย พบได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อน ซึ่งต่างจากการท้องเสียทั่วไป คือการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมงหรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง ควรพบแพทย์ทันที

การป้องกัน

  1. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร หรือรับประทานอาหาร
  2. รับประทานอาหารที่สะอาดและสุกใหม่และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ค้างคืน
  3. ก่อนจะนำอาหารมารับประทานควรอุ่นให้ร้อนก่อน
  4. ดื่มน้ำที่สะอาดหรือน้ำต้มสุก
  5. ผักสดหรือผลไม้ ควรล้างให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างผัก น้ำด่างทับทิม เป็นต้น
  6. มีภาชนะปกปิดอาหารป้องกันแมลงวันตอม

โรคไวรัสตับอักเสบเอ

โรคไวรัสตับอักเสบเอ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม picornavirus ซึ่งติดต่อกันได้ง่าย ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของตับ โดยระดับความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ มีอาการเพียงเล็กน้อย ไปจนถึง ตับอักเสบเฉียบพลันรุนแรง โดยทั่วไปโรคสามารถหายเองได้จนเป็นปกติ ภายใน 2 เดือน มักติดต่อผ่านทางการกินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อนี้เข้าไป นอกจากนี้เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ยังสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสใกล้ชิด กับผู้ติดเชื้อได้อีกด้วย

อาการ

  •  ไข้
  •  อ่อนเพลีย
  •  เบื่ออาหาร
  •  คลื่นไส้อาเจียน
  •  แน่นท้องใต้ชายโครงขวา
  •  ท้องร่วง
  •  ปัสสาวะสีน้ำตาลเข้ม
  • ตัวเหลืองตาเหลือง หรือที่เรียกว่าดีซ่าน

ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบเอ

  •  ผู้ที่อาศัยในบ้านเดียวกับผู้ป่วย
  •  ประชาชนที่อาศัย หรือ นักท่องเที่ยวเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด
  •  เด็กหรือเจ้าหน้าที่ในศูนย์เลี้ยงเด็ก
  •  ผู้ที่อาศัยในชุมชนแออัด หรือ ผู้อพยพที่อาศัยในที่พักชั่วคราว
  •  ผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง หรือ ตับแข็ง จาก สุรา ไวรัสตับ B และ C

การป้องกัน

  • วิธีที่ทำได้ง่ายที่สุด คือ ล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำหรือก่อนปรุงอาหาร ควรใส่ถุงมือเมื่อต้องสัมผัสอุจจาระคนอื่นและล้างมือให้สะอาด
  • วิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การฉีดวัคซีน

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ

  •  ภูมิคุ้มกันจะเริ่มหลังได้วัคซีนเข็มแรก 4 สัปดาห์และอยู่ได้นานประมาณ 20 ปี
  •  สามารถเริ่มให้ตั้งแต่เด็กอายุมากกว่า 2 ขวบที่เสี่ยงต่อการไดัรับไวรัสตับอักเสบเอ
  •  ขนาดของวัคซีนฉีด 3 เข็ม เดือนที่ฉีดคือเดือน 0 ครั้งต่อไป 6 และ 12 เดือน ตามลำดับ
  •  การให้วัคซีนสามารถให้พร้อมกับวัคซีนอื่น เช่น ไวรัสตับอักเสบบี บาดทะยัก วัคซีนป้องกันคอตีบ วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ ผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน  เมื่อจะต้องไปประเทศที่มีการระบาดควรได้รับวัคซีน 4 สัปดาห์ก่อนเดินทาง

โรคไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย

ไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน ในประเทศไทยพบการติดเชื้อไทฟอยด์น้อยลงมากแล้ว เนื่องจากมีการพัฒนาด้านสุขอนามัยอย่างต่อเนื่อง จึงไม่แนะนำให้คนไทยรับวัคซีน แต่แนะนำสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศซึ่งมีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น อินเดีย เนปาล และในประเทศแถบแอฟริกา เนื่องจากระบบสาธารณะสุขไม่สะอาดดีเท่าที่ควร

อาการ

  • มีไข้สูง
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • แน่นท้อง ท้องผูก และตามมาด้วยอาการท้องเสีย
  • มีผื่นขึ้นตามลำตัวและหน้าอก
  • หากไม่ได้รับการรักษาจะมีไข้อยู่นานถึง 2 – 3 สัปดาห์

วัคซีนไข้ไทฟอยด์

  • วัคซีนชนิดฉีด (Vi Capsular Polysaccharide Typhoid Vaccine:ViCPS) ซึ่งใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว และสามารถฉีดกระตุ้นทุกๆ 3 ปี
  • วัคซีนชนิดกิน (Oral Typhoid Vaccine: Ty21a) ซึ่งเป็นวัคซีนเชื้อมีชีวิตอ่อนฤทธิ์ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ แต่ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย
โรคฤดูร้อน-2567-min

แนวทางการป้องกันโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ

  • การสร้างความตระหนักด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังการประกอบอาหาร รับประทานอาหาร และภายหลังจากการเข้าห้องน้ำหรือห้องส้วมทุกครั้ง
  • ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารดิบ หรือ สุก ๆ ดิบ ๆ หากเป็นอาหารค้างคืนหรือเก็บไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง ควรนำมาอุ่นให้ร้อนทั่วถึงก่อนรับประทานทุกครั้ง รวมถึงเลือกน้ำดื่มและน้ำแข็งที่สะอาด มีเครื่องหมาย อย.
  • ควรแยกภาชนะที่ใช้ออกจากกัน แบ่งเป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารที่ปรุงสุกแล้ว กับภาชนะสำหรับใส่วัตถุดิบก่อนปรุง เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค
  • ปรับปรุงสุขาภิบาลต้านสถานที่ ทั้งบริเวณการเตรียม ปรุง และประกอบอาหาร กำจัดขยะมูลฝอยเศษอาหาร และสิ่งปฏิกูล เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรครวมถึงปรับบริเวณห้องน้ำ ห้องส้วม ให้ถูกหลักสุขาภิบาล
  • ผู้ประกอบอาหารและพนักงานเสิร์ฟอาหาร ควรสวมใส่หมวกคลุมผมและผ้ากันเปื้อนระหว่างปฏิบัติงาน ล้ำงมือก่อนจับอาหารทุกครั้ง ดูแลรักษาทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ในการประกอบอาหาร กำจัดขยะมูลฝอย และเศษอาหารภายในห้องครัวทุกวัน รวมไปถึงควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการอุจจาระร่วงควรหยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะหายหรือตรวจไม่พบเชื้อในอุจจาระ
  • โรคไวรัสตับอักเสบเอ เป็นโรคที่มีวัคนป้องกัน แต่ไม่ได้อยู่ในโปรแกรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สามารถให้ได้ตั้งแต่เต็กอายุ 1 ปีขึ้นไป โดยจะได้รับการฉีดวัคซีน จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 6 – 12 เดือน วัคชีนสามารถฉีดได้ทุกช่วงอายุ โดยผู้ที่ควรฉีดวัคนป้องกันเป็นกรณีพิเศษ ได้แก่ ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ เอ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับตับอย่างเรื้อรัง ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องและมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ทั้งจากคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เช่น ผู้ดูแลผู้ปวย หรือผู้ที่ทำงานในบ่อบำบัดน้ำเสีย ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด เป็นต้น

ที่มา กรมควบคุมโรค , โรงพยาบาลเปาโล , โรงพยาบาลสมิติเวช , โรงพยาบาลนวเวช , โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

อากาศมันร้อน! แดดส่องเก้าอี้สแตนเลส จนไฟลุก เกือบเผาร้านอาหารวอด

เตือนภัย! ไฟไหม้ร้านอาหาร หลังสภาพอากาศประเทศไทยร้อนขึ้น คาด แดดส่องเข้าเก้าอี้สแตนเลส จนทำให้เกิดประกายไฟ

มันใช่เหรอ? พ่อน้องออนิว ภูมิใจ ลงรูปอวดลูกน้อย ดูดพอตข้างน้ำท่อม

ชาวเน็ต จวกยับ แบบนี้เหมาะสมแล้วเหรอ? หลัง พ่อน้องออนิว อวดรูปลูกชาย นั่งสูบบุหรี่ไฟฟ้า ลั่น! ลูกผมไม่เหมือนคนอื่น

“ฤดูฝน” ปี 2567 ช้ากว่าปกติ 1 – 2 สัปดาห์ พร้อมเตือนประชาชน เฝ้าระวังพายุหมุนเขตร้อน

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ การคาดหมายลักษณะอากาศช่วง ฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2567 และข้อควรระวังในช่วงฤดูฝนปีนี้

เปิดคำพูด! กามิน เผยสถานะล่าสุด แน็ก ชาลี ลั่น ดรามาทำให้เรียนรู้ครั้งใหญ่

ฟังชัดๆ! กามิน ตอบสถานะล่าสุด แน็ก ชาลี ลั่น ดรามาครั้งนี้ทำให้เรียนรู้ครั้งใหญ่ ทำให้เห็นอีกมุมของฝ่ายชายมากขึ้น

คุณยายสุดเซ็ง! โดนแม่ค้าหลอกขายหอย แต่เปิดมาที กลิ่นเหม็นมาก..

โดนแม่ค้าต้มจนเปลือย! ยายวัย 79 ปี สุดเซ็ง ซื้อหอยแมลงภู่มา 3 โล แต่กินไม่ได้ เปิดออกมามีแต่กลิ่นเหม็นเน่า บางตัวก็ไม่มีเนื้อ

จัดว่าเด็ด! อินฟลูฯ สาว ปาเซตบิกินีจิ๋ว อวดหุ่นหนุบหนับ งานนี้โกยยอดไลก์เพียบ

เด็ดจริง! อินฟลูเอนเซอร์สาว ปาเซตบิกินีตัวจิ๋ว อวดหุ่นหนุบหนับริมชายหาด บอกเลยงานนี้โกยยอดไลก์เพียบ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า