IMD จัดอันดับขีดแข่งขันไทยพุ่งขึ้น 5 อันดับ รัั้งอันดับที่ 25 ของโลก ดีสุดรอบ 18 ปี

“สภาพัฒน์” เผย IMD จัดอันดับขีดความสามารถการแข่งขันประจำปี 2562 อันดับ 1 เป็น สิงคโปร์ แซงหน้า “สหรัฐ” ที่หล่นลงเป็นอันดับที่ 3 ขณะที่อันดับของไทยพุ่งไปอยู่ที่อันดับที่ 25 เพิ่มขึ้น 5 อันดับ ดีสูงสุดในรอบกว่า 18 ปี

เมื่อวันที่ 29 พ.ค. นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ แถลงผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศของสถาบันจัดการนานาชาติ หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2562 ว่า ปีนี้เขตเศรษฐกิจที่มีอันดับสูงสุด 5 อันดับแรก คือ สิงคโปร์เลื่อนขึ้นมาอยู่อันดับที่ 1 แทนที่สหรัฐ ซึ่งลดอันดับลงไปเป็นที่ 3 รองลงมาคือ ฮ่องกง สวิสเซอร์แลนด์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

สำหรับเขตเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียนที่ได้รับการจัดอันดับ 5 เขตเศรษฐกิจ มีอันดับดีขึ้นเกือบทั้งหมด ประกอบด้วย สิงคโปร์ ซึ่งขึ้นมาอยู่อันดับที่ 1 มาเลเซีย มีอันดับคงที่ ที่อันดับที่ 22 เช่นเดียวกับปีที่แล้ว ส่วนประเทศไทยอันดับสูงขึ้น 5 อันดับ คือ เพิ่มจากจากอันดับที่ 30 มาเป็นอันดับที่ 25 หรือดีที่สุดในรอบ 18 ปี ส่วนอินโดนีเซีย มีอันดับดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากอันดับที่ 43 เป็น 32 และฟิลิปปินส์จากอันดับที่ 50 เป็นอันดับที่ 46

ทั้งนี้ IMD ทำการสำรวจและจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทั้งหมด 63 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก โดยพิจารณาจากผลการจัดอันดับที่แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

นายทศพร อธิบายเพิ่มเติมว่า ผลการจัดอันดับของประเทศไทยดีขึ้นถึง 5 อันดับ มีสาเหตุจากผลการจัดอันดับด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพของภาครัฐดีขึ้นถึง 2 อันดับ ส่วนในด้านเศรษฐกิจนั้น ปรากฏว่าด้านการลงทุนต่างประเทศ (International Investment) มีอันดับที่ดีขึ้นมาก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุนจากต่างประเทศ

ในขณะที่การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจก็ส่งผลให้อันดับด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (business legislation) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของประสิทธิภาพของภาครัฐดีขึ้นถึง 4 อันดับ เนื่องจากรัฐบาลได้ปรับกฎระเบียบให้ทันสมัย คล่องตัว และส่งเสริมการใช้ดิจิทัลในการให้บริการให้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการแก้ปัญหาปัจจัยพื้นฐานเชิงโครงสร้างในทุกด้าน

“ปีนี้สภาพัฒน์ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจให้กับทุกภาคส่วนของสังคมถึงความสำคัญของความสามารถในการแข่งขัน ที่มีต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ขณะที่รัฐบาลได้เร่งรัดให้หน่วยงานดำเนินแผนงานและโครงการที่จะส่งผลต่อการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน เพื่อยกอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นตามลำดับ”นายทศพรกล่าว

 

น.ส.วรรณวีรา รัชฎาวงศ์ กรรมการบริหาร สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า ปีนี้ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นถึง 5 อันดับเป็นอันดับที่ 25 ซึ่งนับเป็นอันดับสูงที่สุดในรอบกว่า 10 ปีที่ ซึ่งนอกเหนือจากประเด็นด้านเศรษฐกิจที่ทำให้ผลการจัดอันดับดีขึ้นแล้ว ยังมีประเด็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ที่เป็นรากฐานของการสร้างความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวที่มีอันดับสูงขึ้นถึง 4 อันดับจากปีที่แล้ว

“การขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องของทั้งภาครัฐและเอกชนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาของประเทศเพิ่มอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเอกชนที่ปัจจุบันมีสัดส่วนการลงทุนวิจัยและพัฒนาคิดเป็น 0.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)จากสัดส่วนการลงทุนทั้งหมด 1% ของ GDP”น.ส.วรรณวีรากล่าว

น.ส.วรรณวีรา กล่าวว่า สำหรับประเด็นท้าทายของประเทศไทย คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาช่วยเพิ่มมูลค่าและผลิตภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจขนาดย่อมและภาคการเกษตร รวมถึงการพัฒนากำลังคนให้เท่าทันเทคโนโลยีและพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคต โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่ได้ลงทุนไปเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้และบริการทางสังคมต่างๆอย่างเต็มที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า